Digiqole ad

วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:48 ดร.จุมพล โพธิสุวรรณ เขียน (อย่า)“วีน”ทุกเวที การเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ (2) ตอน “มิสทิฟานี่ยูนิเวิร์ส” (Miss Tiffany’s Universe)

 วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP:48 ดร.จุมพล โพธิสุวรรณ เขียน (อย่า)“วีน”ทุกเวที  การเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ (2)  ตอน “มิสทิฟานี่ยูนิเวิร์ส” (Miss Tiffany’s Universe)
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ฉบับที่ 418 วันที่ 9-15 กุมภาพันธ์ 2567

หน้า 33 วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP 48//เรื่อง : ดร.จุมพล โพธิสุวรรณ

(อย่า)“วีน”ทุกเวที

การเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ (2)

            รับไม้สองต่อจาก กูรูนางงาม “หนุ่ม นันท์นภัทร” กับประเด็น (อย่า)“วีน”ทุกเวทีการเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ (2) ตอนนี้จะขอเขียนถึงเวทีประกวดสาวประเภทสองของเมืองไทยที่โด่งดังระดับโลกอย่าง

วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP 48////เรื่อง : ดร.จุมพล โพธิสุวรรณ

(อย่า)“วีน”ทุกเวที

การเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ (2)

            รับไม้สองต่อจาก กูรูนางงาม “หนุ่ม-นันท์นภัทร เจิมจุติธรรม” กับประเด็น (อย่า)“วีน”ทุกเวทีการเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ (2) ตอนนี้จะขอเขียนถึงเวทีประกวดสาวประเภทสองของเมืองไทยที่โด่งดังระดับโลกอย่าง “มิสทิฟฟานี่” (Miss Tiffany’s)  หรือ “มิสทิฟานี่ยูนิเวิร์ส” ( Miss Tiffany’s Universe) ในปัจจุบัน ที่เพิ่งจะจัดประกวดไปเมื่อวันอาทิตย์ 4 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมานี้เอง

จะว่าไปแล้วผมกับเวทีมิสทิฟานี่ยูนิเวิร์สมีความผูกพันกันพอสมควร ผมเป็นนักข่าวที่จับพลัดจับผลูมาทำข่าวสายนางงาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ประเดิมรับน้องในปีที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประกวดมิสยูนิเวิร์ส ปี ค.ศ.1992 พอดีเป๊ะ ถัดจากนั้นมาอีก 6 ปี คือ ปี พ.ศ.2541/ค.ศ.1998  ถือเป็นการเริ่มจัดประกวดเวทีสาวประเภทสองอีกครั้งกับเวที “มิสทิฟฟานี่” หรือ “มิสฟฟานี่ยูนิเวิร์ส” หลังจากที่เคยจัดไปเมื่อ ปี ค.ศ.1975,1976,1984  ผมก็ได้เดินทางมาทำข่าวอย่างต่อเนื่องทุกครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 ได่รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้บริหารอย่าง คุณสุธรรม พันธุศักดิ์ (ท่านเสียชีวิตไปแล้วเมื่อวันที่ 18 พ.ค.59) และ คุณจ๋า-อลิสา พันธุศักดิ์ ผู้เป็นลูกสาว และทีมประชาสัมพันธ์ อยู่ทุกครั้ง

ซึ่งมาในระยะหลังผมไม่ค่อยได้เดินทางไปทำข่าว เนื่องจากติดภารกิจสำคัญบ้างและปัญหาด้านสุขภาพบ้าง แต่ก็ได้ติดตามชมการถ่ายทอดผ่านสถานีโทรทัศน์ทุกครั้ง ดังนั้นจึงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีและสร้างสรรค์ของเวทีนี้มาโดยตลอด แต่สำหรับคนอื่นนั้นผมไม่ทราบ “นานาจิตตัง” ครับ พอจะแบ่งเป็นหัวข้อหลัก ๆ ดังนี้

 

1.การเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น : คุณสุธรรม พันธุศักดิ์ คือผู้บุกเบิกธุรกิจการแสดงคาบาเร่ต์โชว์โดยสาวประเภทสองตั้งแต่ขนาดเล็ก ๆ อยู่ย่านพัทยาใต้ มาระยะหลังธุรกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้คน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว จึงได้ขยับขยายธุรกิจย้ายมาอยู่ติดถนนพัทยาสายสอง ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา” นับว่าเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวมาโดยตลอด ทั้งนี้ก่อนที่คุณสุธรรมจะเสียชีวิต ได้วางมือให้ลูกสาวคนเก่งและคนรุ่นใหม่อย่าง “คุณจ๋า-อลิสา พันธุศักดิ์” ได้สืบทอดธุรกิจต่อ ที่อาจเรียกว่าเป็น “อุตสาหกรรมในครัวเรือน” ที่พนักงานรุ่นเก่า ๆ บอกว่าเห็นคุณจ๋าตามคุณพ่อมาทำงานตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ดังนั้นจึงไม่ต้องบอกว่า ความผูกพันทางธุรกิจจะลึกซึ้งแค่ไหน

คุณจ๋า อลิสา เคยให้สัมภาษณ์ smethailand โดยกล่าวว่า จุดแข็งของเราคือ การเป็นเจ้าแรกที่มีประสบการณ์มากที่สุด เราเป็นคนทำโชว์ที่ไม่เลียนแบบใคร ทุกโชว์เกิดจากความคิดและการสร้างสรรค์ออกแบบของเราเอง ทำเพลงที่เป็นลิขสิทธิ์ของเราเอง ในส่วนของการแสดงเราเน้นใช้ความเด่นของแต่ละบุคคลในการที่จะสร้างความน่าจดจำให้คนดูประทับใจ รวมถึงความสวยงามและความสามารถต่างๆซึ่งต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เราไม่จำเป็นต้องใช้นักแสดงบนเวทีเยอะเหมือนการแสดงโชว์ของจีนที่เน้นจำนวนคนและท่าเต้นที่เหมือนกัน โดยเราสร้างความแตกต่างด้วยการเป็น Personal Touch ทำให้ผู้ชมเห็นการแสดงของนักแสดงแต่ละคนได้อย่างเด่นชัดและน่าประทับใจ ซึ่งสามารถตอบโจทย์นักท่องเที่ยวจีนได้เป็นอย่างดีเพราะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการดูโชว์ที่เห็นหน้าชัดๆ มีความสวยงาม มีเรื่องราวและมีที่มาที่ไป

             “ที่ผ่านมาทางทิฟฟานีมีการรีโนเวทหรือทำการปรับปรุงแบบครั้งย่อยและครั้งใหญ่มาโดยตลอด เช่น เราทุ่มงบประมาณกว่า 200 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงอาคาร การตกแต่งภายในให้ทุกอย่างแสดงให้เห็นถึงความเป็นทิฟฟานี่โชว์ ปรับรูปแบบโชว์ให้ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวมากขึ้น การจัดระเบียบทางเข้าออก การเพิ่มในส่วนของบันไดเลื่อนเพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า รวมถึงการนำระบบซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการจำหน่ายตั๋วออนไลน์เพื่อความรวดเร็ว ซึ่งการปรับปรุงแบบนี้ก็เพื่อทำให้ ทิฟฟานีโชว์ เป็นโรงละครสำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัยและสามารถสร้างความน่าจดจำให้กับนักท่องเที่ยวได้”

2.เกื้อหนุนสู่ความเป็นอินเตอร์ล้ำค่า : ในการประกวดมิสทิฟฟานี่ฯ ปี ค.ศ.1998-2003 ได้ส่งผู้ชนะเลิศเป็นตัวประกวดไปประกวดสาวประเภทสองระดับโลก “มิสควีนออฟเดอะยูนิเวิร์ส” (Miss Queen Of The Universe) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตัวแทนไทยได้เข้าร่วมประกวด 6 ครั้ง ได้ตำแหน่งชนะเลิศถึง 3 ครั้ง (ปี ค.ศ.1999,2000,2002) ก่อนที่ในปี ค.ศ.2004 ทิฟฟานี่โชว์ พัทยาโดย คุณจ๋า อลิสา จะก่อตั้งเวทีประกวดสาวประเภทสองขึ้นมาเองคือ “มิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน” (Miss International Queen) พร้อมกับเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเวทีในประเทศ โดยเติมคำว่า “ยูนิเวิร์ส” ต่อท้าย เป็น “มิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส” ( Miss Tiffany’s Universe) เพื่อให้เวทีดูอินเตอร์มากขึ้น สอดรับกับเวทีระดับโลกดังกล่าว ซึ่งจัดมาแล้วถึง 17 ครั้งด้วยกัน โดยตัวแทนจากประเทศไทยกวาดมงกุฎมาได้ 4 ครั้ง ปี ค.ศ.2004,2007,2011,2016 โดยในการจัดประกวดในแต่ละครั้งประสบความสำเร็จเรื่อยมา มีจำนวนตัวแทนประเทศผู้เข้าประกวดมากขึ้น บางประเทศจัดประกวดขึ้นมาเพื่อเฟ้นหาตัวแทนมาประกวดโดยเฉพาะเลย เช่น มิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน ฟิลิปปินส์ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า คุณจ๋า ที่มาในระยะหลังได้ถูกยกให้เป็น “ตัวมัมตัวแม่ของชาว LGBTQIAN+” มองการณ์ไกลได้สร้าง SOFT POWER ด้านสาวประเภทสองทั้งไทยและเทศไปพร้อมกัน  มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา

            3.เดินหน้ากับการเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ : การประกวดมิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์สครั้งล่าสุดใช้ชื่อการประกวดพร้อมกับคอนเซ็ปต์ที่เปลี่ยนไปในทุกครั้งว่าMiss Tiffany 25th ‘The Future Is Yours’… คุณจ๋า อลิสา บอกว่าการจัดประกวดในปีนี้ถือเป็นการร่วมเฉลิมฉลอง 25 ปีเวทีมิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส (นับการจัดต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ.1998-ปัจจุบัน งดจัดปี 2001 และ 2023)

“เราเดินทางมายาวไกลมาก การเดินทางครั้งนี้เราก็เห็นภาพลักษณ์เชิงบวกของการข้ามเพศในสังคมประเทศไทยและสังคมโลก โดยมีเรื่องของการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ทุกคนก็ให้ความร่วมมือ ซึ่งทิฟฟานี่บอกได้เลยว่าเป็นเวทีที่ไม่ได้หาผลกำไร ไม่ได้หารายได้ แต่เป็นเวทีที่เราอยากจะทำให้สังคม เป็น CSR การทำมิสทิฟฟานี่ขึ้นมา เราน่าจะเป็นเวทีเดียวในการที่ไม่ได้หากำไร แต่เพื่อที่จะให้สังคมหันกลับมามองความหลากหลายทางเพศเป็นบวก พอ 25 ปีมันก็ทำให้เรารู้สึกว่าเขาได้โอกาสมากขึ้น เขามีการยอมรับมากขึ้น มีการต่อสู้ ไม่ใช่ต่อสู้แค่เฉพาะกลุ่มคนข้ามเพศที่ต่อสู้เรื่องของสิทธิกันเอง แต่คนอื่นๆ แม้กระทั่งห้างร้านต่างๆ ก็ช่วยร่วมขึ้นมาต่อสู้ และมองเห็นจุดในเรื่องของความเท่าเทียม สิทธิให้คนอื่น”
คุณจ๋ายังกล่าวด้วยว่า จริงๆ ความตั้งใจของเราคือเราจะเป็นใครก็ตาม เราควรจะทำอะไรให้เกิดประโยชน์กับสังคม และออกนอกตัวเอง ไม่ใช่ว่าอะไรก็แค่เพื่อตัวเอง ดังนั้นกลุ่มข้ามเพศที่เราเริ่มขึ้นมาแต่ละปี ๆ ในการที่จะเข้ามาอยู่ในมิสทิฟฟานี่ฯ เราก็สอนเรื่องนี้ สอนให้คิดนอกเหนือจากตัวเองก่อน และโอกาสเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับตัวเองจะตามมา เพราะฉะนั้นหลายๆ อย่างที่จ๋าเห็นในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ที่เราหวังเพิ่มขึ้นก็คือเรื่องของการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น และดีใจที่วันนี้มาถึงปีที่ 25 แล้วค่ะ  (ที่มา : mgronline)

            ต้องบอกว่าเวที “มิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส” รวมถึง “มิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน” เป็นเวทีที่ยืนหนึ่งที่อวดสายตาชาวโลกได้อย่างไม่อายใคร โดยคนไทยเป็นเจ้าของ อีกทั้งให้ผู้คนได้มีความเข้าใจในสาวประเภทสองหรือกลุ่มเพศทางเลือกมากขึ้น และยังส่งเสริมชื่อเสียงให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในสายตาชาวต่างชาติอีกด้วย นี่คือ…SOFT POWER สาวสองไทย…ครับ!

ภาพ : เพจ Miss Tiffany’s Universe,อินเทอร์เน็ต

เรื่อง : ดร.จุมพล โพธิสุวรรณ

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ฉบับที่ 418 วันที่ 9-15 กุมภาพันธ์ 2567

หน้า 33 วินทุกเว(ที)..Ways to Win EP 48//เรื่อง : ดร.จุมพล โพธิสุวรรณ

(อย่า)“วีน”ทุกเวที

การเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ (2)

ตอน “มิสทิฟานี่ยูนิเวิร์ส” (Miss Tiffany’s Universe)

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๑๘ ระหว่างวันที่ ๙-๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
https://book.bangkok-today.com/books/wsyw/#p=33
(สามารถพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post