Digiqole ad

กอช. ผนึกกำลัง สมาคม อบจ. , สมาคม อบต. และชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ส่งเสริมให้ประชาชนมีบำนาญถ้วนหน้า

 กอช. ผนึกกำลัง สมาคม อบจ. , สมาคม อบต. และชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ส่งเสริมให้ประชาชนมีบำนาญถ้วนหน้า
Social sharing

Digiqole ad

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กับ สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (อบจ.) , สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย (อบต.) และชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย ในการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออมเพื่อยามชราภาพ กระทรวงการคลัง ห้องโถงวายุภักดิ์ ชั้น 1, 29 เมษายน 2567

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) จากอัตราการเกิดที่ลดลง ประกอบกับประชากรมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนของประชากรที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ประชาชนทุกคนจึงควรมีการเตรียมพร้อมในช่วงวัยยามชราภาพ

โดยรัฐบาลได้มีนโยบายเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ เป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ให้ประชาชนได้มีความมั่นคงในบั้นปลายชีวิตหลังอายุ 60 ปี โดยกำหนดกิจกรรมที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชน ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมนั้นคือ การมีระบบการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้ยามชราภาพที่เพียงพอ และครอบคลุมในกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบ

ซึ่งมีเป้าหมายให้คนไทยตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบริหารจัดการเงิน พร้อมสร้างวินัยการออมในทุกช่วงวัย จึงเป็นภารกิจที่ต้องเร่งผลักดัน ซึ่งกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เป็นกองทุนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ถือเป็นกองทุนการออมภาคประชาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออม และสร้างหลักประกันทางด้านรายได้ในยามชราภาพให้กับกลุ่มแรงงานนอกระบบ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา อสม. พ่อค้าแม่ค้า ได้มีสวัสดิการบำนาญ

รวมทั้งสร้างวินัยการออมให้ประชาชนคนไทยตั้งแต่วัยเด็กให้สามารถเข้าถึงระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุอย่างทั่วถึง สอดรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงอายุ อีกทั้งสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันความรอบรู้ทางการเงินของประชาชนไทย (Financial Literacy)

กอช. ได้ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง รณรงค์ให้ประชาชน ในพื้นที่เข้ามาเป็นสมาชิก กอช. ผ่านการขับเคลื่อนของผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และสามารถสมัครผ่านที่ว่าการอำเภอ อีกทั้งตัวแทน กอช. ประจำหมู่บ้าน ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการออมเงินเพื่อการชราภาพ รวมถึงการกระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15 – 60 ปี ที่มีสิทธิสมัคร ได้เข้าถึงสวัสดิการผ่านการออมเงินกับ กอช. โดยเริ่มต้นออมเพียง 50 บาท/ต่อครั้ง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/ปี และรัฐสมทบ 100% (ไม่เกิน 1,800 บาท/ปี)

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวของ กอช. สอดคล้องกับเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงินที่ต้องการให้คนไทยตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบริหารจัดการเงินและเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน รวมถึงมีความรู้และทักษะทางการเงินเพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม กอช. และหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้ดำเนินการขับเคลื่อนการหาสมาชิกอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังมีแรงงานนอกระบบอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีการออมเพื่อการเกษียณ และเข้าถึงสวัสดิการบำนาญ

เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผลการดำเนินงาน จึงนำไปสู่การขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับหน่วยงานในระดับพื้นที่อีก 3 แห่ง ประกอบด้วย สมาคม อบจ. สมาคม อบต. และชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ในการช่วยกันผลักดัน และส่งเสริมให้ประชาชนที่มีสิทธิ์ได้เข้ามาเป็นสมาชิก รวมถึงส่งเสริมความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินให้ทุกคนเกิดความตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออมเงินในอนาคต

นายชูพงศ์ คำจวง นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า
การร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคม อบจ. จะมีการจัดกิจกรรม อบจ. สัญจรในพื้นที่ เพื่อพบปะประชาชนในพื้นที่ ที่ยังไม่มีสวัสดิการบำนาญไว้ใช้ในยามเกษียณ ให้เข้าร่วมกิจกรรมด้านการส่งเสริมวินัยการออมของทาง กอช. และพร้อมประชาสัมพันธ์ข่าวสาร รวมทั้งสิทธิประโยชน์ ให้แก่บุคคลที่มีสิทธิ สมัครเป็นสมาชิก กอช. หรือคนที่เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ให้มีการออมเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับเงินบำนาญตลอดชีพเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์

รองศาสตราจารย์ วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พร้อมสานต่อและสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการออมเงิน และสิทธิประโยชน์ของการเป็นสมาชิก กอช. โดยมุ่งเน้นไปที่ประชาชนในพื้นที่ และบุคลากรของสมาคม อบต. พนักงาน ลูกจ้าง ที่ยังไม่มีสวัสดิการด้านเงินบำนาญไว้ใช้ในยามชราภาพจากรัฐบาล ให้มาสมัครเป็นสมาชิก กอช. และส่งเสริมให้มีการออมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างวินัยด้านการออมในพื้นที่

นายยงยศ แก้วเขียว ประธานชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ทั่วประเทศมีอยู่จำนวนประมาณ 270,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิก กอช. แล้ว แต่ยังคงมี อีกจำนวนประมาณ 60,000 ราย ที่ยังไม่มีสวัสดิการบำนาญ ให้มาสมัครเป็นสมาชิก กอช. จะสนับสนุนและส่งเสริมให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ขยายผลในหมู่บ้านของตนเอง เข้าร่วมกิจกรรมด้านส่งเสริมวินัยการออม และสร้างความรู้และการตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนการเงิน ให้กับประชาชนในพื้นที่ ให้มีความตระหนักรู้มากยิ่งขึ้น

นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กล่าวว่า ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทยและเครือข่ายภายใต้การกำกับดูแลเป็นอย่างดี ในการขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มเป้าหมายสมาชิก ร่วมกันผลักดันทุกภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะความร่วมมือในครั้งนี้จะได้ครอบคลุมในพื้นที่ชุมชนมากขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการวางแผนทางการเงิน ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 2.59 ล้านคน มูลค่ากองทุนประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท
กอช. นับเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนทางการเงิน เพียงเริ่มออมเพียง 50 บาท/ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/ปี และมีรัฐสมทบตามช่วงอายุ ดังนี้
• อายุ 15 – 30 ปี รัฐสมทบ 50% ของเงินสะสม สูงสุดไม่เกิน 1,800 บาท/ปี
• อายุ 30 – 50 ปี รัฐสมทบ 80% ของเงินสะสม สูงสุดไม่เกิน 1,800 บาท/ปี
• อายุ 50 – 60 ปี รัฐสมทบ 100% ของเงินสะสม สูงสุดไม่เกิน 1,800 บาท/ปี

นอกจากนี้ การออมกับ กอช. ยังมีความยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องส่งเงินออมเท่ากันทุกปี โดยเงินออมสามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีประจำปีได้และยังได้รับการค้ำประกันผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่ออายุครบ 60 อีกด้วย

กอช. มีช่องทางการให้บริการที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิก และสำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่หน่วยรับสมัครและส่งเงิน ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ สำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศ สถาบันการเงินชุมชน เคาน์เตอร์เซอร์วิส โลตัส ไปรษณีย์ไทย ตู้บุญเติม หรือช่องทางการให้บริการรูปแบบออนไลน์ อาทิ แอปพลิเคชัน ดังต่อไปนี้ กอช. , เป๋าตัง , MyMo , กรุงไทยเน็กซ์ , เคพลัส , เป๋าตัง , ออมเพลิน อีกทั้งยังสามารถส่งเงินออมสะสม ผ่านบริการบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (Direct Debit) รายเดือน ได้ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์

สุดท้ายนี้ กอช. แนะนำให้สมาชิกส่งเงินออมเพียง 5 ปี ปีละ 30,000 บาท ก็สามารถมีสิทธิรับบำนาญตลอดชีพได้ โดยสามารถตรวจสอบสิทธิ และสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา
ทางแอปพลิเคชันของ กอช. ช่องทางไลน์แอด กอช. @nsf.th หรือสายด่วนเงินออม 02 049 9000

Facebook Comments


Social sharing

Related post