Digiqole ad

“เที่ยวเมืองรองต้องไปมู” จิรัฏฐวัฒน์ ศิริบุตร เล่าเรื่องตอนที่ 9 : เที่ยวเมืองลับแลขอพรพระยาพิชัยดาบหัก พร้อมมูความรัก ณ อนุสาวรีย์แม่ม่ายเมืองลับแล

 “เที่ยวเมืองรองต้องไปมู” จิรัฏฐวัฒน์ ศิริบุตร  เล่าเรื่องตอนที่ 9 : เที่ยวเมืองลับแลขอพรพระยาพิชัยดาบหัก พร้อมมูความรัก ณ อนุสาวรีย์แม่ม่ายเมืองลับแล
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กฉบับที่ 386 วันที่ 30 มิ.ย.-6 ก.ค.66

หน้า 31

คอลัมน์ : เที่ยวเมืองรองต้องไปมู

เรื่อง : จิรัฏฐวัฒน์ ศิริบุตร

ตอนที่ 9 : เที่ยวเมืองลับแลขอพรพระยาพิชัยดาบหัก

               มูความรัก ณ อนุสาวรีย์แม่ม่ายเมืองลับแล

            ผมเคยได้ยินแต่ชื่อ “จังหวัดอุตรดิตถ์” ยังนึกภาพไม่ออกเลยว่า เมืองรองเมืองนี้เป็นเช่นไร วันหนึ่งเหมือนมีเรื่องดลใจเรื่องบังเอิญที่ต้องเดินทางมาที่จังหวัดนี้ เพื่อทำงานบางอย่าง แน่นอนเลยว่าในฐานะของนักเดินทางเราคงต้องสำรวจตรวจสอบจุดหมายปลายว่า จังหวัดนี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง

แน่นอนว่า “สายมู” คงต้องค้นหาข้อมูลว่าจังหวัดนี้มีสถานที่ใดที่สามารถมูได้บ้าง แน่นอนเลยว่าเมื่อเราค้นหาไปจะต้องพบเจอ “อนุสาวรีย์องค์พ่อพระยาพิชัยดาบหัก” และอีกหนึ่งสถานที่นั่นคือ “เมืองลับแล” ที่เขาว่ากันว่า “แม่ม้ายลับแล” อยู่ที่นี่  จึงเกิดความสนใจที่ว่า สักครั้งหนึ่งในชีวิตจะต้องเดินทางไปให้ได้

หลังจากที่ผมปฏิบัติภารกิจเสร็จจากการทำงานแล้ว ผมจึงออกเดินทางไปตามหาสิ่งที่อยากเจออยากเห็น เริ่มจาก “องค์พระยาพิชัยดาบหัก” ที่เรียกกันติดปากว่า “ท่านพ่อพิชัย”   ที่ในช่วงประมาฯต้นเดือนมกราคมของทุกปี ทางจังหวัดอุตรดิตถ์ จะจัดพิธีบวงสรวงพระยาพิชัยดาบหัก และมีการจัดงานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาดในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยในปีนี้ท่านอายุครบ 250 ปี ซึ่งผมได้บอกให้โชเฟอร์รถตู้พาผมไปที่นั่น เพื่อให้ผมได้กราบสักการะสักครั้ง ในฐานะที่มาเยี่ยมเยือน ณ เมืองอุตรดิตถ์ เมืองนี้มีประวัติความเป็นมามากมาย องค์พระยาพิชัยอาบหักก็เช่นเดียวกัน รถตู้พาผมไปถึงยังสถานที่ ผมมองลอดผ่านกระจกรถไป เห็นความยิ่งใหญ่แข็งแรงขององค์พระยาพิชัยดาบหัก เด่นเป็นสง่าอยู่บนแท่นหินอ่อน

ผมเปิดประตูเดินลงไปสัมผัสได้ถึงพลังของผู้เป็นนักรบ และดูแลเมืองอุตรดิตถ์แห่งนี้  ผมเป็นคนนึงที่เมื่อเวลาเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไหนที่เป็นเมืองที่มีผู้ปกครองเมืองเป็นนักรบ ผมมีความรู้สึกแปลกๆ เหมือนมีอะไรบางอย่างอยู่ภายในใจ สองมือประณมวางบนอก ก้มกราบ สายตามองไปยังแววตาในรูปปั้นนั้น สัมผัสถึงจิตใจที่แข็งแกร่งขององค์พระยาพิชัยดาบหัก ผมอธิษฐานในใจด้วยจิตที่แน่วแน่ว่า ด้วยพระองค์ท่านเป็นนักรบนักวางแผน ของจงดลบันดาลให้ลูกคนนี้ จงมีแนวความคิดที่ดี จิตใจเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเจอปัญหาและอุปสรรคใดๆก็ตามขอผ่านไปได้ทุกครั้งไปเทอญ โดยผมขอนำบทสวดมนัสการและขอพรพระพิชัยดาบหักมาถ่ายทอดไว้ ณ ตรงนี้

            ตั้งนะโม 3 จบ นมัสการพ่อพระยาพิชัยดาบหัก แล้วกล่าวว่า…..เอหิราช เอหิวิญญานัง ขอดวงวิญญาณในสรวงสวรรค์ ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก จงมาประสาทประสิทธิ์พระพรชัย ให้ศิษย์และลูกหลานทุกคน จงมีแต่ความสุข ความเจริญ มีโชคมีลาภ มีแต่ความสำเร็จ ปราศจากทุกข์โทษโพยพัย ภยันตรายทั้งปวง เอหิมะมะ มามา มาเรโส ธายะประสิทธิ ภะวันตุเม

สำหรับ เครื่องบวงสรวง หรือ ถวายแก้บน ท่านพ่อพิชัยประกอบด้วย หัวหมูต้ม,ไก่ต้ม,สุรา,ผลไม้,พวงมาลัย,รูปปั้นไก่เขียวพาลีการชกมวยถวาย,ขนมมงคล,น้ำเปล่า / น้ำเขียว / น้ำแดง,บายศรี โดยไหว้ปกติธูป ๙ ดอก บนบานศาลกล่าว ๑๖ ดอก

อีกหนึ่งสถานที่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างที่ได้กล่าวไว้คือ “เมืองลับแล” ผมฟังชื่อดูเหมือนจะเป็นเมืองหลังเขาห่างไกลจากประชาชนและสังคม ต้องไปพิสูจน์ให้ได้ ว่าเป็นอย่างไร เช่นเดียวกันผมเลยบอกให้รถตู้วพาผมไปยังสถานที่แห่งนั้น ข้อมูลที่ผมได้มาจากเมืองลับแลคือเป็นเมืองที่มีเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ นั่นคือ เมืองลับแลห้ามพูดเท็จ ผู้หญิงยอมเป็นม่ายดีกว่าอยู่กับผู้ชายพูดโกหก เมืองลับแลเป็นเมืองโบราณที่สร้างมาก่อนกรุงสุโขทัยเป็นร้อยๆปี ขุดพบกลองมโหระทึกสมัยก่อนประวัติศาสตร์และยังขุดพบศิลาจารึกที่วัดเจดีย์คีรีวิหาร ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดป่าแก้ว” สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๑๕๑๙ โดย เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ปฐมกษัตริย์ของนครลับแล ภายหลังถูกทิ้งเป็นเมืองร้าง ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ตั้งอยู่ในแอ่งระหว่างเขาที่มีที่ลุ่มสลับดอน มีลำห้วยไหลผ่าน การเดินทางเข้าออกไม่สะดวก คนที่ไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศอาจพลัดหลงได้ง่าย

ต่อมาคนเมืองแพร่และน่านได้หนีข้าศึกมาซ่อนอยู่ในบริเวณนี้ เพราะมีน้ำอุดมสมบูรณ์และมีป่าเป็นฉากบัง ต่อมายังมีชาวโยนกเชียงแสนอพยพหนีภัยสงครามมาอยู่อีก ตั้งเป็นบ้านเชียงแสน และอัญเชิญเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าเรืองชัยธิราช แห่งโยนกนาคนครเชียงแสนมาเป็นปฐมกษัตริย์ ที่มาของชื่อ “ลับแล” ซึ่งมีความหมายว่า บังตา อีกทั้งบริเวณนี้ยังพลบค่ำก่อนพระอาทิตย์ตกดิน เพราะมีดอยม่อนฤาษีเป็นฉากกั้นแสงอาทิตย์ทางตะวันตก จึงได้ชื่อว่า “ลับแลง” ซึ่งเป็นภาษาล้านนา ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “ลับแล”

            และที่สำคัญมาเมืองลับแลต้องไปพลาดไปชมความสวยงามของ “ซุ้มประตูเมืองลับแล” และ “ประติมากรรมแม่ม่ายเมืองลับแล” ด้านข้างซุ้มประตูเมืองลับแล เป็นรูปหญิงสาวอุ้มลูกน้อย ข้างๆมีสามีนั่งคอตก ในมือถือย่ามใส่ขมิ้น บริเวณฐานจารึกข้อความ “ขอเพียงสัจจะวาจา” ที่แสดงถึงตำนานของเมืองลับแล ที่เล่าถึงแม่หม้ายผู้ที่ยอมเสียสละ เพื่อรักษาสัจจะวาจาที่เป็นกฎของเมืองว่าเมืองนี้ห้ามพูดโกหก ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องเตือนใจผู้ไปเยือนได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว นอกจากนี้แล้วผู้คนยังไปมูของเรื่องความรักที่ให้มีความซื่อสัตย์รักกันยืนยาวนานอีกด้วย

ขอขอบคุณ มูลนิธิสว่างอุตรดิตถ์ธรรมสถาน ที่ดูแลการเดินทางในครั้งนี้ รวมทั้งภาพประกอบบางส่วนจาก ททท.,เพจอุตรดิตถ์ 24 ชั่วโมง และ https://welovetogo.com/ ครับ!

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 386 ระหว่างวันที่ 30 มิ.ย.-6 ก.ค.66
https://book.bangkok-today.com/books/rbom/

Facebook Comments


Social sharing

Related post