Digiqole ad

“พริษฐ์“ ร่วมวงนายทหาร 3 เหล่าทัพแลกเปลี่ยนนโยบายยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร ชี้เป็นการปกป้องเสรีภาพประชาชนโดยไม่กระทบความมั่นคงประเทศ พร้อมรับฟังความเห็นกำลังพลเพื่อร่วมหาทางออก

 “พริษฐ์“ ร่วมวงนายทหาร 3 เหล่าทัพแลกเปลี่ยนนโยบายยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร ชี้เป็นการปกป้องเสรีภาพประชาชนโดยไม่กระทบความมั่นคงประเทศ พร้อมรับฟังความเห็นกำลังพลเพื่อร่วมหาทางออก
Social sharing

Digiqole ad
[ #ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร ไม่เท่ากับ ยกเลิกการมีทหาร ]
.
📌“พริษฐ์“ ร่วมวงนายทหาร 3 เหล่าทัพแลกเปลี่ยนนโยบายยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร ชี้เป็นการปกป้องเสรีภาพประชาชนโดยไม่กระทบความมั่นคงประเทศ พร้อมรับฟังความเห็นกำลังพลเพื่อร่วมหาทางออก
————————
.
งานสัมมนา “พลทหารปลอดภัย” โดยคณะกรรมาธิการการทหาร ที่จัดขึ้นที่รัฐสภาวานนี้ (22 เม.ย.) มีข้าราชการกองทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนมาก
.
ในช่วงเช้ามีการเสวนา “บทบาทของคณะกรรมาธิการทหารกับการพัฒนากองทัพ” โดย ธนเดช เพ็งสุข – Tanadej Pengsuk สส.กรุงเทพฯ เขต 13 พรรคก้าวไกล และ เอกราช อุดมอำนวย – ทนายจอจาน – Ekkarach Udomumnouy สส.กรุงเทพฯ เขต 10 พรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการการทหาร ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนหลายประเด็น เช่น ความปลอดภัยและมาตรฐานในกระบวนการฝึกทหาร สวัสดิภาพและสิทธิของพลทหาร การยกเลิกการเกณฑ์ทหารแบบบังคับ เป็นต้น
.
ต่อมาช่วงบ่าย มีการบรรยายพิเศษหัวข้อ “กองทัพไทยกับภารกิจการเกณฑ์ทหาร” โดย พริษฐ์ วัชรสินธุ – ไอติม – Parit Wacharasindhu สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ซึ่งเริ่มต้นการบรรยายโดยระบุว่าเมื่อพูดถึงข้อเสนอยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหารของพรรคก้าวไกล มักมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบางประการ จึงขอชี้แจงว่า
.
❌พรรคก้าวไกลไม่เคยเสนอให้ไม่มีทหาร หรือเสนอให้ยกเลิกกองทัพ
✅พรรคก้าวไกลเสนอให้มีการยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร ให้ประกอบด้วยคนที่สมัครใจเข้ามาเป็นทหาร 100%
.
❌พรรคก้าวไกลไม่ได้เสนอข้อเสนอที่เป็นปฏิปักษ์กับกองทัพ
✅พรรคก้าวไกลเสนอข้อเสนอเพื่อปฏิรูปกองทัพ ให้สามารถทำภารกิจรักษาความมั่นคงประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นที่เชื่อมั่นไว้วางใจของประชาชนมากขึ้น
.
👉[ 3 เหตุผลก้าวไกลเสนอยกเลิกเกณฑ์ทหารแบบบังคับ ]
.
(1) การบังคับคนที่ไม่อยากเป็นทหารให้มาเป็นทหารมีราคาที่ต้องจ่าย ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลที่อาจต้องสูญเสียงานและรายได้ที่ได้อยู่ สูญเสียช่วงเวลาที่จะได้ใช้กับครอบครัว รวมทั้งราคาที่ประเทศต้องจ่าย ก็คือการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจากการดึงทรัพยากรแรงงานออกจากระบบ โดยเฉพาะในยามที่ประเทศกำลังเข้าสู่วิกฤติสังคมสูงวัย สัดส่วนประชากรวัยทำงานลดน้อยลงมาก
.
2) การบังคับเกณฑ์ทหารไม่จำเป็นต่อการรักษาความมั่นคง หากเราร่วมมือกันในการลดยอดพลทหารที่กองทัพขอ แต่ไม่ได้ทำหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคง (เช่น พลทหารรับใช้) หรือไม่จำเป็นต่อการรักษาความมั่นคงในบริบทของภัยความคุกคามรูปแบบใหม่ (เช่น งานที่ทดแทนได้โดยเทคโนโลยี) คู่ขนานกับการเพิ่มจำนวนคนที่อยากสมัครเป็นทหาร ผ่านการยกระดับคุณภาพชีวิตพลทหารให้มีรายได้-สวัสดิการที่มั่นคง มีหลักประกันเรื่องความปลอดภัย และมีเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพมากขึ้น
.
3) การยกเลิกกลไกการบังคับเกณฑ์ทหาร จะเพิ่มแรงจูงใจให้กองทัพปฏิรูปตนเองและแก้ปัญหาความรุนแรงในค่าย ในเชิงเศรษฐศาสตร์หากมีองค์กรหนึ่งสามารถบังคับคนให้มาทำงานตามจำนวนที่ตัวเองต้องการได้ จะมีความเสี่ยงที่ผู้บริหารขององค์กรดังกล่าวจะปล่อยประละเลยคุณภาพชีวิตของคนทำงาน เพราะแม้ไม่มีใครอยากสมัครมาทำงานในองค์กรนั้น องค์กรก็บังคับคนมาทำงานได้
.
แต่หากมีการยกเลิกกฎหมายนั้นไป และคุณภาพชีวิตพนักงานไม่ดีจนคนแห่ลาออกหรือสมัครน้อย ผู้บริหารองค์กรก็จะต้องปรับปรุงองค์กรเพื่อให้มีแรงจูงใจให้คนสมัครเข้ามาทำงานได้ตามจำนวนที่ต้องการ ในลักษณะเดียวกัน
.
การยกเลิกการบังคับการเกณฑ์ทหารจึงอาจเป็นวิธีหนึ่งในการกระตุ้นให้ผู้บริหารและผู้บังคับบัญชาทุกคนทั่วประเทศในกองทัพต้องจริงจังกับการปฏิรูปกองทัพมากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตพลทหารและทำให้คนสมัครมามากขึ้น
[ 3 ทางเลือกที่มีอยู่ตอนนี้ ]
.
ปี 2567 ที่ผ่านมามีคนถูกบังคับเป็นทหารทั้งหมดประมาณ 47,000 คน ลดลง 18% จากปีก่อน เนื่องจากยอดพลทหารที่กองทัพขอลดลง 9% ในขณะที่ยอดคนสมัครเพิ่มขึ้นประมาณ 7% ซึ่งนับว่าเป็นทิศทางที่ดีขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังคงมี 47,000 ชีวิตที่ต้องไปทำอาชีพที่ไม่ได้อยากทำและมีราคาที่ต้องจ่าย
.
พริษฐ์กล่าวว่าภายใต้บริบทเช่นนี้ หลายภาคส่วนเสนอทางเลือกหลักมาทั้ง 3 ทาง
.
🚫(1) การไม่ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร แต่ใช้การลดจำนวนคนที่ถูกบังคับเกณฑ์ทหาร
🔻(2) พยายามยกเลิกการเกณฑ์ทหาร โดยการทำให้ยอดสมัครแต่ละปี สูงกว่ายอดกำลังพลที่กองทัพขอ จนทำให้ไม่มีใครต้องถูกบังคับเกณฑ์ในทางปฏิบัติ แม้กฎหมายบังคับเกณฑ์ยังมีอยู่
🟠(3) ซึ่งเป็นทางเลือกที่พรรคก้าวไกลเสนอ คือการเสนอแก้กฎหมาย พ.ร.บ.รับราชการทหาร 2497 เพื่อยกเลิกอำนาจกองทัพในการบังคับคนมาเป็นทหารในยามที่ไม่มีภัยสงคราม ซึ่งโดยสรุปแล้วมีเนื้อหาหลัก คือ
– ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหารในยามปกติ
– ยกระดับคุณภาพชีวิตของพลทหาร
– ห้ามการนำทหารไปทำงานรับใช้ส่วนตัวหรือเป็น “พลทหารรับใช้”
– รับประกันความปลอดภัยของพลทหาร จากการถูกละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
– ทบทวนรายได้ สวัสดิการ และ สิทธิประโยชน์ของพลทหารให้เหมาะสมขึ้น
– เปิดให้บุคคลทุกเพศสามารถสมัครเป็นทหารได้
– และการออกแบบขั้นตอนธุรการให้ทันสมัยขึ้น เป็นต้น
Facebook Comments


Social sharing

Related post