Digiqole ad

นายกฯ ถวายการต้อนรับการเสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในรอบ 12 ปี ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ เน้นย้ำความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยาวนานกว่า 40 ปี พร้อมหารือเต็มคณะพร้อมกระชับความร่วมมือทุกมิติ

 นายกฯ ถวายการต้อนรับการเสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในรอบ 12 ปี ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ เน้นย้ำความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยาวนานกว่า 40 ปี พร้อมหารือเต็มคณะพร้อมกระชับความร่วมมือทุกมิติ
Social sharing

Digiqole ad
วันที่ 29 เมษายน 2567) เวลา 10.30 น. ณ บริเวณสนามหญ้า หน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์ (His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) แห่งบรูไนดารุสซาลาม ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล
.
นายกรัฐมนตรีรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ถวายการต้อนรับการเสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ซึ่งตรงกับโอกาสครบรอบ 40 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – บรูไนฯ และเป็นโอกาสติดตามผลการเยือนบรูไนฯ อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2566 พร้อมแสดงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิดทุกมิติ
โอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสาขาที่มีศักยภาพระหว่างกัน ดังนี้
.
1. ด้านเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีเชื่อว่า ไทยและบรูไนฯ จะสามารถเพิ่มการค้าทวิภาคีจาก 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีที่แล้วได้ พร้อมเสนอให้มีการตั้งกลไกการค้าทวิภาคีในระดับนโยบายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าโดยเฉพาะ เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้า และหารือถึงแนวทางในการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ และแสวงหาโอกาสมากขึ้นในการดำเนินธุรกิจและทำงานร่วมกัน
.
2. ไทยและบรูไนฯ ยังเห็นพ้องว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานการลงทุนบรูไนฯ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของไทย ในวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการกระชับความร่วมมือด้านการลงทุน พร้อมหวังว่า ทั้งสองฝ่ายจะแสวงหาการลงทุนที่มีศักยภาพ และมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะด้านอาหารและการเกษตร การดูแลสุขภาพ การท่องเที่ยว พลังงานทดแทน และสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
.
3. ด้านความมั่นคงทางอาหาร ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยไทยถือเป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์ฮาลาลคุณภาพสูง ในขณะที่บรูไนฯ มีมาตรฐานการรับรองฮาลาลที่ดี ไทยเสนอความร่วมมือระหว่างศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาลไทยซึ่งจะจัดตั้งขึ้นเร็วๆ นี้ กับฝ่ายบรูไนฯ สำรวจความร่วมมือที่มีศักยภาพ และผลักดันให้มีการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจด้านอุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อการพัฒนาการส่งออกสินค้าฮาลาล
.
4. ด้านการท่องเที่ยว ไทยและบรูไนฯ ยินดีต่อการลงนาม MOU ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในวันนี้ ซึ่งจะส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว และกิจกรรมไมซ์ โดยบรูไนฯ ชื่นชมไทยสำหรับโครงการ “6 ประเทศ 1 จุดหมายปลายทาง” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค พร้อมยินดีแสวงหาความร่วมมืออำนวยความสะดวกการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
.
5. ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งสองฝ่ายร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่ปัจจุบันได้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ธนาคารกลางบรูไนฯ ในการพัฒนาระบบการชำระเงินที่รวดเร็ว เช่น การชำระเงินแบบเรียลไทม์ มาตรฐาน QR Code การชำระเงินดิจิทัล และการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ไทยยินดีที่บรูไนฯ ได้เข้าร่วม และลงนามใน MoU ว่าด้วยความร่วมมือในการเชื่อมโยง การชำระเงินในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการเงินในอาเซียน
6. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน นายกรัฐมนตรีซาบซึ้งต่อรัฐบาลบรูไนฯ ที่มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนไทย โดยเฉพาะจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปศึกษาศาสนาอิสลามในประเทศบรูไนฯ พร้อมขอเสนอให้ทั้งสองฝ่ายเร่งจัดทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจ้างงานแรงงานไทยในบรูไนฯ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษา และการพัฒนาโครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP)
.
ความร่วมมือในอาเซียน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมอาเซียนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และมีความยั่งยืน รวมถึงไทยยังเห็นพ้องในหลักการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Centre for Climate Change: ACCC) ในประเทศบรูไน ด้านบรูไนฯ ชื่นชมไทยที่แสดงบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือในอาเซียน
.
7. สถานการณ์ในเมียนมา ไทยและบรูไนฯ ต่างมุ่งหวังเห็นเมียนมาที่สงบสุข มั่นคง และเป็นเอกภาพ เพราะจะส่งผลต่อประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกอาเซียน บรูไนฯ ชื่นชมการสนับสนุนทางด้านมนุษยธรรมตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาของไทย และพร้อมสนับสนุนความพยายามของไทยทางด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา
.
8. สถานการณ์ในตะวันออกกลาง สมเด็จพระราชาธิบดีฯ มีพระราชดำรัสแสดงความเสียใจต่อผลกระทบของคนไทยในเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง และมุ่งหวังที่จะให้ทุกฝ่ายหาทางแก้ไขปัญหาอย่างสันติ สำหรับไทยนายกฯ กล่าวว่าได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่คนไทยในพื้นที่ พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเดินหน้าการเจรจา และบรรลุการหยุดยิงด้านมนุษยธรรม ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้มากขึ้น
9. ต่อจากนั้น เวลา 11.30 น. นายกรัฐมนตรี และสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลง ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
.
9.1 บันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานการลงทุนบรูไนฯ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของไทย (Memorandum of Understanding between Brunei Investment Agency and Thailand’s Government Pension Fund)
.
9.2 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงทรัพยากรพื้นฐานและการท่องเที่ยวแห่งบรูไนฯ (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of His Majesty the Sultan and Yang di-Pertuan of Brunei Darussalam on tourism cooperation)
.
เพจพรรคเพื่อไทย
Facebook Comments


Social sharing

Related post