Digiqole ad

ธนาคารไทยเปิดรับเทคโนโลยี แต่ยังเผชิญความท้าทายในการก้าวสู่ดิจิทัล มุมมองจากนักการเงินในงานสัมมนา Engage Asia 2023

 ธนาคารไทยเปิดรับเทคโนโลยี แต่ยังเผชิญความท้าทายในการก้าวสู่ดิจิทัล  มุมมองจากนักการเงินในงานสัมมนา Engage Asia 2023
Social sharing

Digiqole ad

กรุงเทพ 28 พฤศจิกายน 2566 : ธนาคารและสถาบันการเงินของไทย สนใจลงทุนในเทคโนโลยีที่รวมฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านธนาคารดิจิทัลจากงานสัมมนา Engage Asia 2023 เน้นย้ำว่า  ความท้าทายในการพัฒนาธนาคารดิจิทัล อยู่ที่การขาดการรวบรวมบริการธนาคารของไว้ในที่เดียว ทำให้ข้อมูลของลูกค้ากระจัดกระจาย ไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีในการนเสนอบริการให้ลูกค้าได้

ระบบงานส่วนใหญ่ของธนาคารยังทำงานในแบบไซโลที่ขาดสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน คนในแวดวงธนาคาร ระบุว่า ความท้าทายหลักของการก้าวสู่ดิจิทัลของธนาคารไทย อยู่ที่การบูรณาการระบบที่แยกส่วนเหล่านี้เข้าด้วยกันกับฐานข้อมูลและเทคโนโลยีด้านการเงิน หากก้าวข้ามจุดนั้นได้ธนาคารจะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ยูค เพลเตอร์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของแบ็กเบส กล่าวว่า การดำเนินการของธนาคารในปัจจุบันยังมีประสิทธิภาพไม่ดีพอ แม้จะยังคงทำกำไรได้มากแต่เรามักเห็นธนาคารต่างๆ เลือกใช้โซลูชันเพียงบางส่วนจากเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อนำเสนอบริการทางการเงินใหม่ๆ ในทางตรงกันข้ามการปรับปรุงบริการของธนาคารให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าผ่านการอัพเดทระบบจากพื้นฐาน ให้ความสำคัญกับการบูรณาการระบบเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางอย่างแท้จริง  และเป็นข่าวดีที่ธนาคารเหล่านี้สามารถนำเสนอบริการใหม่ได้ด้วยต้นทุนที่ลดลง

“การปฏิวัติทางดิจิทัลในภาคการธนาคารของเอเชียกำลังได้รับแรงผลักดัน ธนาคารต่างๆ พบว่าตัวเองกำลังอยู่บนทางแยกในการก้าวสู่ดิจิทัลหรือนำเสนอบริการแบบเดิมซึ่งแน่นอนว่าให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมออกใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ในปี 2567 การแข่งขันในธุรกิจธนาคารจะรุนแรงขึ้น แพลตฟอร์มที่สนับสนุนให้ธนาคารสามารถสร้างการมีส่วนร่วมที่มีเอกลักษณ์ แตกต่าง และยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางได้ จะมีบทบาทสำคัญในภูมิทัศน์การเงินใหม่ที่กำลังจะเกิดชึ้น” ยูค เพลเตอร์ กล่าว

ฤทธี ดัตตา รองประธาน ภูมิภาคเอเชียแบ็กแบส กล่าวว่า ระบบธนาคารที่สร้างการมีส่วนร่วมสามารถนำข้อมูลของลูกค้ามาให้บริการบนแพลตฟอร์มเดียวกัน ใช้ประโยชน์จากกระบวนการที่ทำซ้ำได้ โดยใช้ AI และ Machine Learning มาช่วยในการนำเสนอบริการ สามารถลดการทำงานแบบแมนนวล ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้า และเป็นพื้นฐานในการเปลี่ยนแปลงจากการธนาคารแบบดั้งเดิมที่เน้นระบบเป็นหลัก ไปสู่การธนาคารเพื่อการมีส่วนร่วมที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

 งานวิจัยล่าสุดโดย Backbase และ IDC พบว่าธนาคารขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตัดสินใจสร้างแพลตฟอร์มธนาคารขึ้นเอง ส่งผลให้ 70% ของธนาคารล้มเหลวในการก้าวสู่ดิจิทัล เนื่องจากการพัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นเองต้องใช้ความพยายามอย่างหนักและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

 เทคโนโลยีจาก Backbase ผู้นำระดับโลกด้าน แพลตฟอร์มการธนาคารเพื่อการมีส่วนร่วม ได้รับการออกแบบมาเพื่อรวมระบบที่หลากหลายมาอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกันแบบออมนิแชนแนล เพื่อปรับปรุงธนาคารให้ทันสมัยอย่างรวดเร็ว ความยืดหยุ่นของโซลูชัน “Adopt & Build” หรือการประยุกต์ใช้และสร้าง เป็นรูปแบบที่ธนาคารต้องการเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง แนวทางนี้ช่วยเร่งการพัฒนาแอปพลิเคชันและการเปิดตัวบริการใหม่ๆ และให้อิสระกับแต่ละธนาคารในการปรับแต่ง UI และ UX ให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของลูกค้า

โซลูชันของ Backbase ใช้ AI และ Machine Learning เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงประสบการณ์โดยรวม กรณีที่น่าสังเกตเกี่ยวข้องกับธนาคารแห่งหนึ่งที่มีลูกค้ารายย่อย 8.2 ล้านราย โดย 87% เป็นลูกค้าใหม่ การใช้งานจริงนี้ส่งผลให้ธุรกรรมเพิ่มขึ้น 40% โดยขณะนี้ลูกค้ารายย่อยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจมากกว่า 30% ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนการดำเนินงานได้ 30% เมื่อเทียบกับสาขาแบบเดิม

เกี่ยวกับ Backbase

Backbase มีพันธกิจในการปรับสถาปัตยกรรมระบบธนาคารภายใต้การคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก Backbaseได้พัฒนาแพลตฟอร์มธนาคารที่สร้างการมีส่วนร่วม (Engagement Banking) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ธนาคารในการเดินหน้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เริ่มตั้งแต่การแนะนำบริการแก่ลูกค้า ไปจนถึงการให้บริการ การสร้างความภักดี และการอนุมัติสินเชื่อ ทั้งหมดจัดการได้แบบไร้รอยต่อภายใต้แพลตฟอร์มระบบเปิดหนึ่งเดียวด้วยแอปที่พร้อมใช้งาน ช่วยยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าได้ในทุกด้าน แพลตฟอร์มธนาคารที่สร้างการมีส่วนร่วมของเราพัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นสำคัญ และรองรับการเชื่อมต่อกับระบบหลักที่มีอยู่เดิมของธนาคารได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังมาพร้อมฟินเทคล่าสุดในตัวเพื่อให้สถาบันการเงินสามารถขยายบริการด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัย

นักวิเคราะห์ทั้งจาก Gartner, Omdia และ IDC ต่างให้การยอมรับ Backbaseในฐานะผู้นำในด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสถาบันการเงินทั่วโลกกว่า 120 แห่ง ที่ใช้แพลตฟอร์มธนาคารที่สร้างการมีส่วนร่วมของ Backbase เฉพาะในเอเชียแปซิฟิกมีลูกค้าที่ Backbase ดูแลหลายราย เช่น ABBANK, BDO Unibank, Bank of the Philippine Islands, EastWest Bank, HDFC, IDFC First, JudoBank, OCB, Techcombank, TPBank และ UBank

Backbase เป็นบริษัทฟินเทคที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนส่วนบุคคล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 ในอัมสเตอร์ดัม (สำนักงานใหญ่ระดับโลก) โดยมีสำนักงานระดับภูมิภาคทั้งในสิงคโปร์ (สำนักงานใหญ่เอเชียแปซิฟิก) แอตแลนตา (สำนักงานใหญ่อเมริกา) และดำเนินกิจการในออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม ลาตินอเมริกา และสหราชอาณาจักร

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post