Digiqole ad

“ต่อพงศ์” ลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี มอบรางวัล ชนะเลิศประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped)

 “ต่อพงศ์” ลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี มอบรางวัล ชนะเลิศประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped)
Social sharing

Digiqole ad

กสทช. ต่อพงศ์ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มอบรางวัลชนะเลิศโครงการประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped) หวังพัฒนาสู่ต้นแบบการพัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน ดึง ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โซน C และโซน C+ ร่วมประกวดกว่า 2,187 ศูนย์ทั่วประเทศ 

นายต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า การจัดโครงการประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped) เป็นการนำเสนอผลงานของศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ภายใต้โครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) และโครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกล (Zone C) ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้เข้าร่วมประกวดจำนวนทั้งสิ้น 2,187 ศูนย์ทั่วประเทศ

การจัดการประกวดโครงการประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped) เพื่อเป็นเวทีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำแนวคิดและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมการใช้งานศูนย์ USO Net มายกระดับการให้บริการของศูนย์ฯ และสร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ ครู นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญและได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นกับการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ USO Net และ USO Wrap

โดยสำนักงาน กสทช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเร่งส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์จากบริการอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในรูปแบบศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ USO Net และห้องบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ USO Wrap ที่มีความพร้อมการให้บริการที่ครบถ้วนในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่ประชาชน และมีศักยภาพในการขยายผลรูปแบบการใช้บริการโทรคมนาคมเพื่อสร้างประโยชน์ทั้งด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และด้านเศรษฐกิจระดับชุมชนได้อย่างยั่งยืน และเพื่อให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ USO Net และ USO Wrap สามารถร่วมเสนอแนวคิดและแนวทางปฏิบัติ รวมถึงกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการใช้งาน เพื่อแสวงหาแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) และนำไปสู่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) รวมถึงการบูรณาการองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานระหว่างศูนย์ USO Net และห้อง USO Wrap ทั่วประเทศ

ด้านนายชาญวุฒิ อำนวยสิน ผู้อำนวยการสำนักบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง และเพื่อสังคม กล่าวว่า เราแบ่งพื้นที่ตามโซนอย่างที่ท่านผู้ผู้บริหารกล่าวไปแล้ว อย่างโซน A และ B เป็นโซนที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและมีผู้ประกอบการดำเนินกิจการอยู่แล้วเราก็จะไม่นำโครงการเหล่านี้เข้าไป ขณะที่โซน C และโซน C+ ไม่มีศักยภาพหรือมีความเหลื่อมล้ำตามคอนเซ็ปต์ของ USO จึงเป็นที่มาของโครงการการให้บริการอินเทอร์เน็ตใน 5 ประเภท แบ่งเป็น ไวไฟหมู่บ้าน ไวไฟ รพสต. ไวไฟโรงเรียน ไวไฟศูนย์ USO NET ซึ่งจะมีให้ทั้งสิ่งปลูกสร้างและคอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ต และศูนย์ USO Wrap ที่ใช้การตกตแงห้องเรียนใหม่ พร้อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และผู้ดูแลศูนย์ให้ครบ โดบแบ่งเป็น 3 ระยะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะดำเนินการด้วยแผนระยะเวลา 5 ปี
ในการให้บริการ หรือสนับสนุนศูนย์ เริ่มจากการสำรวจร่วมกับ สพฐ. ซึ่งจะมีการทำงานรับกับศูนย์ USO NET ก่อน โดยวิธีการทำงานก็จะมีการประชาสัมพันธ์ไปยังผู้นำชุมชนก่อน เพื่อที่จะมาใช้บริการ ทำให้นอกจากจะมีการอบรมครูและนักเรียนแล้ว ก็จะมีบุคคลภายในชุมชนทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และคนในชุมชนเข้ามาใช้บริการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือสร้างผลงานเพื่อสร้างรายได้ นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมการเรียนออนไลน์ อื่นๆ อีกมากมายที่สร้างประโยชน์ให้ชุมชนโดยตรง อย่างทั่วประเทศ

โครงการที่ส่งเข้ามาประกวด ส่วนใหญ่ที่ส่งเข้ามาจะเป็นเพียงแนวคิดของการสร้างสรรค์ชุมชนผ่านศูนย์ว่าอย่างไร มีแนวคิดในการซับพอร์ตชุมชนอย่างไร เช่นโรงเรียนบ้านดอนยู ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ก็มีการส่งเสริมด้านการแข่งขันอีสปอร์ต ในช่วงการแข่งขันกีฬาสีของโรงเรียน และด้วยการจัดสรรค์การวัดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจนของแต่ละโครงการที่โรงเรียนบ้านดอนยูได้คิดขึ้น ก็ทำให้ศูนย์แห่งนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ

ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาทางด้านการศึกษา ได้มี กรรมการ กสทช. บางท่านได้ออกสำรวจ ระดับความรู้ของโรงเรียนแต่ละแห่งเพื่อแบ่งระดับที่ชัดเจน และเลือกส่งเสริมให้ถูกระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาระดับการศึกษาได้อย่างตรงจุด รวมถึงการสร้างต้นแบบของศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นศูนย์ USO สำหรับโรงเรียนระดับนั้น ๆ

นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมกับมูลนิธิร้อยพลังและ สพฐ. ที่มีการเซ็นต์ MOU แล้ว ในการถ่ายทอดติวเตอร์ไปยังศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ในต่างจังหวัด ลดช่องว่างในการถึงติวเตอร์ที่นักเรียนในเมืองสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งตอนนี้เริ่มมีการส่งผลการดำเนินงานมาได้สักระยะหนึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดี หลังจากนั้นก็จะมีการต่อยอดตรงนี้เข้าไปอีก และโครงการอื่น ๆ ของ USO เรายังมีความร่วมมือกับโรงเรียนจ่าอากาศ ซึ่งตอนนี้ยังไม่แล้วเสร็จ โดยอาจจะส่งเสริมการเรียนการสอนของโรงเรียนจ่าอากาศให้กับประชาชนส่วนต่าง ๆ ต่อไป

ด้านนายจักรกฤษดิ์ ฤทธิ์เดช เจ้าหน้าที่ดูแลศูนย์ USO Wrap โรงเรียนบ้านดอนยู ศูนย์ชนะเลิศโครงการประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped) กล่าวว่า ด้วยวัตถุประสงค์ของศูนย์แห่งนี้ ที่ต้องการสนับสนุนชุมชนเพื่อให้ระบบการศึกษามีความก้าวหน้าที่ดียิ่งขึ้น และต่อยอดให้ชุมชนมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น จากการอบรมผ่านศูนย์ USO Wrap เพื่อสร้างอาชีพและรายได้นำไปสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืนในชุมชนต่อไป

ที่ผ่านมาศูนย์ USO Wrap แห่งนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมสนับสนุนหมู่บ้านให้เป็นที่เรียนออนไลน์ในช่วงวันหยุด และที่เรียนพิเศษในช่วงวันหยุด และพัฒนาให้เป็นจุดรับสิ่งของบริจาคให้กับหมู่บ้านและโรงเรียน และยังเป็นจุดรับ-ส่งพัสดุ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชุมชน และมีการทำงานร่วมกับชุมชน อีกทั้งที่ผ่านมาโรงเรียนได้จัดกิจกรรมกีฬาสี ทำให้ศูนย์ได้เพิ่มกีฬาอีสปอร์ตเข้าไปในการแข่งขันกีฬาสีของโรงเรียน

โครงการการจัดการเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีที่มาจากการเป็นชุมชนในพื้นที่ห่างไกล มีความรู้ด้านเทคโนโลยีค่อนข้างน้อย จึงมีการนำศูนย์ USO Wrap มาเปิดให้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ฟรี โดยแบ่งเป็นการสนับสนุน 4 ด้านที่สำคัญ แบ่งเป็น 1.การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา 2.ใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเพื่อสนับสนุนและแก้ไขความเหลื่อมล้ำ 3.เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต 4.เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ยั่งยืนและก่อให้เกิดอาชีพที่ยั่งยืนต่อชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นชุมชน หน่วยงาน โรงเรียนและหมู่บ้าน

ซึ่งเราแบ่งโครงการออกเป็น 3 ส่วน 1.ถ่ายทอดองค์ความรู้ 2.ตั้งจุดบริการประชาสัมพันธ์สินค้าชุมชน และ 3.ประชาสัมพันธ์ให้คนชุมชน ทุกเพศทุกวัยได้เข้าใช้บริการฟรี โดยมีการวัดผลที่ชัดเจน แบ่งเป็น 1.ผลการเรียนที่สูงขึ้น 2.การใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้คล่องแคล่วขึ้น 3.คนในชุมชนมีรายได้หรืออาชีพที่ดีขึ้น และ 4.จำนวนผู้ใช้บริการเยอะสูงสุดกว่า 100 คนต่อวัน

ทั้งนี้ผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับนั้น ชี้ว่าด้วยการพัฒนาทำให้ 1. ครูมีความสะดวกสบายในการสอนมากยิ่งขึ้น นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นราวร้อยละ 90 2. มีการใช้งานศูนย์ USO Wrap ที่มากขึ้น โดยมีการสลับเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าใช้บริการตลอดทั้งวัน 3.ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีในการเรียนได้ดีขึ้นราวร้อยละ 85 และ 4.คนในชุมชนได้รู้จักอาชีพใหม่ สร้างงานสร้างอาชีพและนักเรียนได้แบ่งเบาภาระผู้ปกครองได้ดีขึ้น ราวร้อยละ 80 ขณะที่ 5.ความสอดคล้องของโครงการและศูนย์บริการและกลุ่มเป้าหมาย สามารถทำให้คนในชุมชนมีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีของเราเป็นส่วนประกอบในการพัฒนา

ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินโครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) จำนวน 3,920 หมู่บ้าน และโครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกล (Zone C) จำนวน 15,732 หมู่บ้าน ให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมในระดับหมู่บ้านของประเทศไทย โดยบริการโทรคมนาคมภายใต้การดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. มี 5 ประเภทบริการ ได้แก่ 1) Wi-Fi หมู่บ้าน 18,558 แห่ง 2) ศูนย์ USO Net 663 แห่ง 3) ห้อง USO Wrap 1,524 แห่ง 4) Wi-Fi โรงเรียน 4,126 แห่ง 5) Wi-Fi โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) จำนวน 180 แห่ง พร้อมสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการให้บริการตลอดระยะเวลา 5 ปี

โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการประกวดแนวคิดการส่งเสริมการใช้งานและสร้างประโยชน์ศูนย์ USO Net (USO Net Unwrapped) ให้กับห้อง USO Wrap ณ โรงเรียนบ้านดอนยู ตำบลนาดี อำเภอนาเยีย
จังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ที่ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการส่งเสริมการใช้งาน

Facebook Comments


Social sharing

Related post