Digiqole ad

“ประชาธิปัตย์”ผนึกสภาเสรีนิยมประชาธิปไตยแห่งเอเชียยกระดับท้องถิ่นไทยเดินหน้าโครงข่ายการสัญจรอัจฉริยะ(Smart mobility)

 “ประชาธิปัตย์”ผนึกสภาเสรีนิยมประชาธิปไตยแห่งเอเชียยกระดับท้องถิ่นไทยเดินหน้าโครงข่ายการสัญจรอัจฉริยะ(Smart mobility)
Social sharing

Digiqole ad

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงเกี่ยวกับการประชุมสัมมนาสภาเสรีนิยมประชาธิปไตยแห่งเอเชียว่าด้วยแนวคิดการพัฒนาโครงข่ายการสัญจรอัจฉริยะภายใต้กรอบ “ขับเคลื่อนแนวคิดการคมนาคมขนส่งอัจฉริยะในการ พัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น“ (CALD smart mobility project: Transforming Smart Mobility Ideas into Local Government Solutions)ที่จัดขึ้นโดยพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างวันที่ 24-26 ตุลาคมนี้ที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่น ว่า เป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องสถานการณ์ของการขนส่งอัจฉริยะในเอเชีย และความท้าทายที่เมืองต่าง ๆ ต้องเผชิญโดยจะเน้นถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีที่เกิดจากระบบขนส่งที่ไม่ยั่งยืน และย้ําถึงความเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การคมนาคมที่มี ประสิทธิภาพ ยั่งยืน และครอบคลุมมากขึ้น โดยมีผู้บริหารองค์กร นักวิชาการ และนักการเมืองจากหลายประเทศในเอเชีย เข้าร่วม

ซึ่งการพัฒนาโครงข่ายการสัญจรอัจฉริยะเป็นเรื่องสำคัญ และต้องได้รับการผลักดันในระดับนโยบาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และต้องอยู่ภายใต้แนวคิดที่ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามแผนปฏิญญา 5 ข้อ ได้แก่

1) ให้การคมนาคมขนส่งเป็นสิทธิ (Mobility as a right)

2) ให้การคมนาคมขนส่งสาธารณะเป็นแกนหลักของการคมนาคมขนส่ง(Public transportation as a backbone

of mobility services)

3) ให้สร้างชุมชนที่ผู้คนสามารถเดินได้และเดินอย่างปลอดภัย (Building safe and walkable residential

neighborhoods)

4) ให้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาด (Judicious use of digital technology)

5) ให้สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยคาร์บอน (Environmental sustainability and

decarbonization)

ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์มีแนวคิดในการผลักดันนโยบายเพื่อให้ประชาชนได้มีสิทธิในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวก โดยนอกจากจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุมและทั่วถึงแล้ว ยังจะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ทำให้ประชนชนใช้บริการได้สะดวก และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมาก โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ระบบการออกตั๋วร่วม“บัตรใบเดียวไปได้ทุกที่“ เพื่อลดภาระแก่ผู้ใช้บริการ

โดยจะผลักดันให้มีหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและบริหารจัดการตั๋วร่วมโดวเฉพาะ เพื่อประสานหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง บริหารกองทุนเพื่อสนับสนุนระบบตั๋วร่วมเพื่อลดค่าโดยสารในระบบให้ได้มากที่สุดโดยเฉพาะค่าแรกเข้าที่ผู้โดยสารต้องรับภาระจ่ายซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น

และที่สำคัญ การพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะอัจฉริยะ เป็นการสร้างระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหรือพลังงานจากฟอสซิล การเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมขนส่งที่ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด รวมทั้งระบบตั๋วรวมที่ลดการใช้กระดาษ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นการช่วยลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ เพื่อรับมือกับภาวะโลกเดือดที่เรากำลังเผชิญอยู่

กิจกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการสัมมนาครั้งนี้ คือการเยี่ยมชมศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง(Center of Excellence in Urban Strategies) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีรถไฟหัวลำโพงซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของไทย รวมทั้งเยี่ยมนิทรรศการประวัติการก่อสร้างรถไฟใต้ดินสายแรกของประเทศไทย และเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ประเทศไทย APEX Supercomputer ที่สามารถใช้ AI  ที่เคยใช้ตรวจหาเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้ ซึ่งจะช่วยสกัดการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ดูการพัฒนายายนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นวิทยากรในการเยี่ยมชม

และในการสัมมนาที่ จ.ขอนแก่น จะมีการเยี่ยชมศูนย์บัญชาการและควบคุมการปฏิบัติการ (CCOC) ในอําเภอเมืองขอนแก่น รวมทั้งเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เรื่องยานยนต์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานอีกด้วย

Facebook Comments


Social sharing

Related post