หลังจากการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวขอ้งกับการเลือกตั้งและกฏเกณฑ์ต่างๆที่มาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้ก่อให้เกิดข้อสงสัยตามมาหลายประเด็น
อย่างประเด็นที่ไม่น่าเชื่อก็คือ ประเด็นความชอบธรรมในการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาเนื่องจากเป็นการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ระบุอยู่ชัดเจนทั้งในรัฐธรรมนูญและในกฎหมายลูกว่า เป็นการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งที่ผ่านมาในอดีตก็ใช้จำนวน ส.ส.ที่ได้รับเป็นเกณฑ์ ว่าใครได้จำนวน ส.ส.สูงสุดก็จะได้เป็นพรรคที่มีสิทธิอันดับแรกในการจัดตั้งรัฐบาล
แต่พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งสนับสนุนการอยู่ต่อในอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย กลับดันทุรังที่จะจัดตั้งรัฐบาลแข่ง โดยยกเอาประเด็นในเรื่องการได้รับคะแนนป๊อบปูลาร์ โหวต มาเป็นข้ออ้างว่าพรรคได้คะแนนสูงสุด จึงควรได้รับสิทธิเป็นพรรคแรกที่ได้จัดตั้งรัฐบาล
กลายเป็นประเด็นถกเถียงไม่จบ ว่าถ้าจะนับว่าเอาคะแนนป๊อบปูลาร์ โหวต เป็นตัวตัดสินแทนจำนวน ส.ส. ก็ไม่ควรจะเรียกว่าเป็นการเลือกตั้ง ส.ส. แต่ควรจะเรียกว่าเป็นการเลือกตั้งพรรคการเมืองที่จะได้รับสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลดีกว่าหรือไม่