blog-logo

เมนู
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ&กีฬา
  • บันเทิง
  • Interviews
  • คอลัมนิสต์
    • พญาไม้ทูเดย์ | พญาไม้
    • ขีดเส้นใต้ | ภูวนารถ ณ สงขลา
    • ดร.แดน@สภาปัญญาสมาพันธ์
    • ขอดเกล็ด | หนุ่ม ชิงชัย
    • ตอดนิดตอดหน่อย | การบูร
    • พญาไม้สุดสัปดาห์ | พญาไม้
    • พญ้าไม้กอสซิป | พญาไม้
    • เมาธ์ระเบิด | มาดามโอ
    • จัตุรัสการเมือง | บุญกรม ดงบังสถาน
    • สังเวียนการเมือง | อัคคี กัมปนาท
    • มองทุกมุม | มาฟรี
    • กุหลาบพิษ | กุหลาบพิษ
    • จรดปากกา | ผศ.ดร.วิวัฒน์ชัย กุลมาตย์
    • จากฟ้าสู่ดิน | นาคา
    • บางกอกบิซ BangkokBiz | อังคนา
    • เกษตรฯโทรโข่ง | กล้วยน้ำว้า
    • ป่าคอนกรีต | คนป่า
    • ลับ..ลับ..ล่อ..ล่อ | เฟื่องฟ้า
    • ดวงทูเดย์ | เจ้าพิณ
    • คิดถึงเพลงเก่า | สาวดี เจริญวงษ์
    • วินทุก(เว)ที | อนุรี อนิลบล
    • ส่องการศึกษาไทย | ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา
    • Close
  • ไลฟ์สไตล์
    • หวย บางกอกทูเดย์
    • Close
  • ต่างประเทศ
    • Close

สถานทูตจีนประจำประเทศไทย ยืนยันสายสัมพันธ์ไทย-จีน พร้อมสนับสนุนความร่วมมือ

ทันสถานการณ์
16 August 2019
A+ A-
สถานทูตจีนประจำประเทศไทย ยืนยันสายสัมพันธ์ไทย-จีน พร้อมสนับสนุนความร่วมมือ

นางหยาง หยาง ที่ปรึกษาฝ่ายการเมือง สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “มองอนาคตความสัมพันธ์ไทย-จีน และความคาดหวังต่อบทบาทของสื่อจีนและไทย” ในโอกาสเปิดงานสัมมนา 44 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีน : โลกผันแปรแต่มิตรภาพยั่งยืน จัดโดย สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน และ สมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ ไทย-จีน เมื่อวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม ความว่า

วันนี้มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นผู้แทน ฯพณฯ หลู่ย์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทย มาร่วมงานสัมมนา 44 ปีความสัมพันธ์จีน-ไทย ที่จัดขึ้นโดยสมาคมผู้สื่อข่าวจีน-ไทยครั้งนี้ และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องความสัมพันธ์จีน-ไทยและความร่วมมือของสื่อจีน-ไทยกับทุกๆคน ก่อนอื่นในนามผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ขอขอบคุณสมาคมผู้สื่อข่าวจีน-ไทย ที่ได้เตรียมการอย่างรอบด้านและทำงานหนักเพื่องานสัมมนาในครั้งนี้ สำหรับวันนี้จะกล่าวถึงประสบการณ์ส่วนตัวและมุมมองเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-ไทย และความปรารถนาที่มีต่อสื่อจีน-ไทย ด้วยมุมมอง ความคิด และแนวคิดตลอดระยะเวลาที่ทำงานในประเทศไทย

1.เกี่ยวกับสภาพการณ์ของความสัมพันธ์จีน-ไทยในปัจจุบัน
จีน-ไทยสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการมาเป็นระยะเวลาเพียง 44 ปี แต่มิตรภาพอันดีงามและการไปมาหาสู่กันของประชาชนทั้งสองประเทศนั้นสามารถย้อนกลับไปถึงสมัยฮั่นตะวันตกเมื่อ 2000 ปีก่อน “เรื่องราวที่มีความเป็นมายาวนาน”นั้น คือจุดเด่นที่สำคัญอย่างยิ่งของมิตรภาพจีน-ไทยและความสัมพันธ์จีน-ไทย มีเพื่อนชาวไทยหลายคนเคยถามว่า นักการทูตของสถานฯทูตจีนเข้าใจ ภาษาไทยได้ทั้งหมดหรือไม่? สามารถใช้ภาษาไทยเพื่อพัฒนาการทำงานหรือไม่? กล่าวอย่างตรงไปตรงมา นักการทูตในสถานทูตฯ จีนที่ฝึกฝนจนมีความเชี่ยวชาญภาษาไทยนั้นมีเพียงจำนวนหนึ่ง แต่เกือบทุกคนสามารถพูดออกเสียงภาษาไทยว่า “จีน-ไทยมิใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” ได้อย่างคล่องแคล่ว วลีนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าอธิบายถึง มิตรภาพแสนพิเศษที่ผูกพันดั่งพี่น้องของประชาชนทั้งสองประเทศ และสะท้อนอย่างมีชีวิตชีวาถึงลักษณะพิเศษที่โดดเด่นที่สุดของความสัมพันธ์จีน-ไทยในปัจจุบัน ก็คือ ความใกล้ชิดฉันท์พี่น้อง

จีน-ไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางการเมืองไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ผู้นำระดับสูงของทั้งสองประเทศไปมาหาสู่และรักษาการเชื่อมสัมพันธ์อย่างเสมอต้นเสมอปลาย นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมาเป็นเวลา 44 ปี ภายใต้การนำและเอาใจใส่ของผู้นำทุกสมัยของสองประเทศ ทำให้ประชาชนจีน-ไทยและเฝ้าสังเกตการณ์และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เชื่อมโยงถึงกันและกัน ร่วมก้าวข้ามความยากลำบากของการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ระหว่างประเทศ ผลักดันความสัมพันธ์จีน-ไทยให้รักษาการดำเนินงานในระดับสูงให้คงอยู่เสมอ ทุกวันนี้ ผู้นำจีนและไทยยังคงติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเหมือนเครือญาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศจีน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศจีนมากถึง 46 ครั้ง ทรงเป็นพระสหายต่างประเทศของประชาชนจีนที่รู้กันโดยทั่ว ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้พบปะกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยหลายต่อหลายครั้ง ในเดือนพฤษจิกายนที่จะถึงนี้ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ การนำและให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดด้วยตนเองของผู้นำทั้งสองประเทศได้วาดพิมพ์เขียวเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของความสัมพันธ์จีน-ไทย สัมพันธไมตรีระหว่างจีน-ไทยนั้นยิ่งนานยิ่งมีชีวิตชีวาและมีคุณค่าก็ด้วยเหตุผลนี้

จีน-ไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดด้านความร่วมมืออย่างลึกซึ้ง ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ อย่างมาก ไม่กี่ปีมานี้ ด้วยการปูพื้นฐานที่ครอบคลุมของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่จีน-ไทยสร้างสรรค์ร่วมกัน การดำเนินความร่วมมือให้บรรลุผลของทั้งสองประเทศปรากฏสภาพการณ์ที่น่ายินดี จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทยติดต่อกันเป็นเวลา 6 ปีแล้ว ไทยก็เป็นคู่ค้าอันดับที่สามในอาเซียนของจีน จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนไทยหรือบีโอไอ พบว่า มูลค่าคำขอการลงทุนโดยตรงของจีนในไทยของปีที่แล้วมีมูลค่าประมาณ 55,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2 เท่าจากปี 2017 เติบโตอย่างรวดเร็ว จีนได้กลายเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทย ในขณะเดียวกัน สินค้าไทยกำลังเข้าสู่ตลาดจีนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้าว ยางพารา ทุเรียน และรังนก เป็นต้น ตามโครงการรถไฟจีน-ไทยดำเนินกันต่อไปและจีน-ไทยทั้งสองประเทศมีความร่วมมือใน EEC มากยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมซึ่งมีคุณภาพสูงในทางด้านโลจิสติก พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผลิตระดับสูง การอบรมบุคลกรเป็นต้น วิสาหกิจด้านเทคโนโลยีชั้นสูงและวิสาหกิจด้านนวัตกรรมของจีน เช่น หัวเว่ย และอาลีบาบา เป็นต้น ได้เข้ามาพัฒนาตลาดในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจดิจิตัลและความร่วมมือเชิงนวัตกรรมนับวันก็ยิ่งกลายเป็นจุดเด่นของการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าของทั้งสองประเทศ

จีน-ไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ด้านมนุษยศาสตร์และวัฒนธรรมนับวันยิ่งเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น ประชาชนของทั้งสองประเทศมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในปี 2018 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาประเทศไทยทะลุ 10 ล้านคนเป็นครั้งแรก ประชาชนไทยก็จัดให้เป็นประเทศจีนเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ละครไทยเรื่องบุพเพสันนิวาสเป็นผลงานที่ได้รับความนิยมในจีนอย่างกว้างขวาง หนังสือวรรณกรรมจีนก็ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ของไทยเช่นกัน ทางด้านการศึกษา จีนเป็นแหล่งที่มาของนักศึกษาต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดของไทย ขณะที่จำนวนนักเรียนไทยที่ไปศึกษาในประเทศจีนมากเป็นอันดับที่สองของนักเรียนต่างชาติ ปัจจุบัน มีนักเรียนจีนที่มาศึกษาเล่าเรียนในไทยมากกว่า 40,000 คน และมีนักเรียนไทยกว่า 30,000 คนที่ไปศึกษาในประเทศจีน การแลกเปลี่ยนทางด้านมนุษยศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิดและคึกคักระหว่างจีน-ไทยที่นับวันยิ่งมากขึ้น ได้วางรากฐานที่มั่นคงและมีเสถียรภาพให้กับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ

2.วิสัยทัศน์แห่งอนาคตในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ไทย
หลังจากที่ได้ผ่านการพัฒนาอย่างรวดเร็วมา 44 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ไทย ได้เกิดความเจริญรุ่งเรืองที่ครบด้านและหลายมิติซึ่งครอบคลุมภาคการเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จนถึงภาคส่วนสังคมและวัฒนธรรม จากเดิมที่จำกัดแต่ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น ได้กลายเป็นแบบอย่างอันดีในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่มีระบอบการปกครองและลักษณะสังคมที่แตกต่างกัน ทั้งยังเป็นต้นแบบแห่งความสัมพันธ์ที่เน้นเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาร่วมกันตลอดไป จากสถานการณ์ใหม่ในระดับนานาชาติที่เราได้เผชิญอยู่ และบนจุดเริ่มต้นการพัฒนาใหม่นี้ เรามีความมั่นใจและตกลงปลงใจ เรามีขีดความสามารถที่จะกุมไว้ซึ่งโอกาสแห่งประวัติศาสตร์ เพื่อให้ความสัมพันธ์ในระดับภาคีความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างถ้วนหน้าระหว่างจีน-ไทย จะนำมาซึ่งประโยชน์สุขที่ยิ่งใหญ่มากยิ่งขึ้น ให้กับประชาชนของเราทั้งสองประเทศ เพื่อรองรับอนาคตที่กว้างใหญ่ยาวไกล ซึ่งในอนาคต เราต้องเน้นความ “ใหม่” ในด้านต่างๆ ดังนี้ เพื่อขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ไทยได้รับการต่อยอดขึ้นไปสู่อีกระดับขั้น

ประการแรก คือ ต้องกุมโอกาสแห่งการพัฒนาของทั้งสองประเทศในยุคสมัยใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ มุ่งสร้างสรรค์ความสัมพันธ์จีน-ไทยให้กลายเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับประเทศต่างๆ ที่อยู่รอบด้าน ปีนี้ถือเป็นปีที่มีความหมายอันสำคัญสำหรับทั้งจีนและไทยทั้งสองประเทศ สำหรับประเทศจีนนั้น ปีนี้เป็นการครบรอบ 70 ปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญ ซึ่งเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่มีขนาดใหญ่โต มากลายเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่แข็งแกร่ง และสำหรับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจัดพิธีพระบรมราชาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่และสมบูรณ์แบบในปีนี้ ประเทศไทยจึงได้ก้าวเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 อย่างเป็นทางการ และภายในปีนี้ ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศอย่างราบรื่น  พล.อ. ประยุทธ์ จันทรโอชาได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย

“ภายใต้ยุคสมัยใหม่แห่งประวัติศาสตร์ เราต้องมุ่งขยายปัจจัยเชิงบวกที่ช่วยกระตุ้นให้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีน-ไทยเกิดการพัฒนาต่อยอด ซึ่งจะกลายเป็นแบบอย่างอันดีด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมกันสานความสัมพันธ์แบบสมานฉันท์ โอบอ้อมอารีย์ ร่วมมือสร้างประโยชน์สุขแบบ Win-Win ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์แห่งยุคสมัย โดยใช้การพัฒนาอย่างยั่งยืนของความสัมพันธ์จีน-ไทย มาทำการสร้างคำนิยามใหม่สำหรับความหมายอันน่าตื่นตาตื่นใจให้กับความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ระหว่างประเทศ รวมถึงวิสัยทัศน์แห่งการสร้างสรรค์โชคชะตาร่วมแห่งมวลมนุษยชาติ”

ประการที่สอง คือ การกุมโอกาสด้านความต้องการในการพัฒนาของสังคม ภายใต้สถานการณ์ใหม่ การแลกเปลี่ยนความรู้และศึกษาเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างจีน-ไทยทั้งสองประเทศ นับจากที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้สถาปนามาครบ 70 ปี สังคมจีนได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่หลวงอย่างพลิกฟ้าดิน และได้เป็นที่จับตาจากสังคมโลก ในขณะเดียวกัน วัฒนธรรมของประเทศไทยที่ใจกว้างยอมรับในความแตกต่าง รวมถึงการขับเคลื่อนความสัมพันธ์และการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน มีหลายๆ วิธีการปฏิบัติที่ประเทศจีนสามารถนำไปศึกษาอ้างอิง เรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการกำกับดูแลในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศจีนให้เกิดความสมบูรณ์แบบ ประสบการณ์จากประวัติศาสตร์ได้บอกกับเราว่า ประเทศใดๆ ถ้าหากต้องการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง จะต้องค้นหาแนวทางพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของประเทศนั้นๆ พร้อมทั้งได้รับการขับเคลื่อนดำเนินการที่ต่อเนื่อง ในขั้นต่อไป การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการกำกับดูแลภาครัฐและการบริหารประเทศ จะกลายเป็นเนื้อหาหลักที่สำคัญ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะนำมาแลกเปลี่ยนความรู้และศึกษาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

“ทั้งสองฝ่ายควรขับเคลื่อนขยายความร่วมมือขึ้นไปถึงอีกระดับขั้นในภาคส่วนต่างๆ เช่นการบริหารกำกับดูแลสังคม การต่อต้านทุจริตและพัฒนาธรรมภิบาล การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน การบริหารจัดการเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ทางฝ่ายจีนมีความยินดีที่จะร่วมแบ่งปันประสบการณ์อันมีประโยชน์จากผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิก (E-commerce) การดูแลความปลอดภัยในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการปกป้องสภาพแวดล้อมป้องกันแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศ ซึ่งจะช่วยให้สองชาติได้จับมือกันผลักดันให้สังคมของทั้งสองประเทศมีการพัฒนาอย่างถ้วนหน้า สมดุลและยั่งยืน”

ประการที่สาม คือ การกุมโอกาสที่เกิดขึ้นจากกระแสแนวโน้มใหม่ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ภายในโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ควรยกระดับคุณภาพและมาตรฐานในการร่วมมือระหว่างจีน-ไทยให้เกิดเป็นรูปธรรม โลกปัจจุบันกำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นของคลื่นลูกใหม่แห่งยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ถือเป็นโอกาสแห่งประวัติศาสตร์ เราต้องจับตาคำศัพท์เฉพาะ (Keyword) ที่สำคัญ ที่เรียกว่า “ยกระดับคุณภาพอย่างถ้วนหน้า” เป็นพลังขับเคลื่อนให้ความสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมระหว่างจีน-ไทยให้เหมือนก้าวขึ้นสู่บันไดอีกขั้นหนึ่ง ในอนาคต เราจะขอใช้ภาคส่วนเศรษฐกิจดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบโลจิสติกส์ยุคใหม่และเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ เป็นตัวแทนของ “ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” ซึ่งจะกลายเป็นอาณาจักรใหม่แห่งการสร้างความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างจีน-ไทย ขับเคลื่อน “ภาคอุตสาหกรรมใหม่เชิงยุทธศาสตร์” ของประเทศจีน ให้เชื่อมโยงในเชิงลึกเข้ากับ “คลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ 10 ด้าน” ของประเทศไทย สร้างสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขสนับสนุนเพื่อดึงดูดผู้ประกอบการไฮเทคของประเทศจีนที่มีเทคโนโลยีชั้นนำ และมีศักยภาพสูง เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย นอกจากนั้น เรายังจะร่วมสร้างความเชื่อมประสานในเชิงลึกระหว่างภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ เพื่อให้กลายเป็นองค์ประกอบด้านสุดยอดเทคโนโลยีที่จะเสริมบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างสองประเทศ ให้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่ในการยกระดับต่อยอดความร่วมมือระหว่างจีน-ไทย

“ท่านประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้กล่าวในที่ประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ณ นครโอซาก้าประเทศญี่ปุ่นไว้ว่า ประเทศจีนจะยังคงขับเคลื่อนและเปิดดำเนินมาตรการใหม่ๆ ที่สำคัญอย่างต่อเนื่องในการขยายขอบเขตการเปิดประเทศ รวมถึงการเปิดตลาดเสรี ขยายภาคส่วนการนำเข้าในเชิงรุก ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ และดำเนินการให้เกิดความเสมอภาคอย่างถ้วนหน้าในภาคธุรกิจ เราเชื่อมั่นว่า ประเทศจีนจะเร่งฝีเท้าในการขับเคลื่อนการเปิดประเทศ พร้อมๆ กับการดำเนินยุทธศาสตร์ตามความริเริ่ม One Belt One Road ซึ่งจะสร้างพลังขับเคลื่อนอย่างแข็งแกร่งสู่การยกระดับต่อยอดคุณภาพแห่งความร่วมมือระหว่างจีน-ไทยอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น” 

ประการที่สี่ คือ การกุมสถานการณ์สภาพการพัฒนาในยุคสมัยใหม่ เหมือนกับการจับชีพจรการเต้นของหัวใจยุคใหม่ ภายใต้ความท้าทายใหม่ เราต้องผลักดันให้สามารถมีสิทธิ์มีเสียงอย่างแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างสันติ ในยุคที่ความสัมพันธ์จีน-ไทยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงของสถานการณ์โลกและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมานับร้อยปี การถ่วงดุลอำนาจระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้ว กำลังเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกัน สถานการณ์โลกยังมีความไม่แน่นอนสูง ปัญหาขาดเสถียรภาพที่เด่นชัด และแรงกดดันที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิโลกอยู่ในแนวโน้มถดถอย ในขณะที่สถานการณ์ความมั่นคงในระดับสากลมีความสลับซับซ้อน กระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์และลัทธิชาตินิยมกำลังมีแนวโน้มในลักษณะเงยหัวขึ้น ประเทศบางประเทศหันมายึดถือลัทธิเอกภาคีนิยมและนโยบายปกป้องทางการค้า ใช้มาตรการกีดกันทางภาษีศุลกากรอย่างพร่ำเพรื่อ ท้าทายให้เกิดการเผชิญหน้าแบบสงครามทางการค้า ข่มขู่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะคุกคามความเจริญก้าวหน้าและเสถียรภาพของประเทศแถบเอเชีย

“สังคมมนุษยชาติกำลังเผชิญกับทางเลือกที่สำคัญอีกครั้ง ซึ่งต้องเลือกว่าจะร่วมมือกันหรือจะเผชิญหน้ากัน จะเปิดประเทศหรือปิดกั้นตนเอง จะสร้างความสำเร็จอย่าง Win-Win หรือจะเล่นเกมผลรวมเป็นศูนย์ (Zero-Sum) สำหรับประเทศจีน เราเชื่อมั่นมาโดยตลอดว่า โลกาภิวัฒน์และหลักการพหุภาคีนิยมล้วนเป็นกระแสการพัฒนาสังคมแห่งยุคสมัยที่ไม่อาจพลิกกลับ ทุกประเทศมีแนวโน้มที่จะร่วมมือกันพัฒนาต่อไป เป็นสิ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ลัทธิเอกภาคีนิยมจะไม่เป็นที่ยอมรับ แต่การจับมือเพื่อสร้าง Win-Win ถึงจะเป็นการเดินถูกทาง ประเทศจีนและประเทศไทยล้วนเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการค้าเสรี ล้วนเป็นผู้มีส่วนร่วมที่มีบทบาทสำคัญในเวทีโลกและเวทีแห่งภูมิภาค จึงมีความสมเหตุสมผลที่จะต้องจับมือร่วมกัน เพื่อรับมือกับความท้าทายที่นับวันจะสลับซับซ้อนมากขึ้น ร่วมกันทนุบำรุงพหุภาคีนิยมและการค้าเสรี ร่วมเปล่งเสียงเป็นแนวเดียวกัน ร่วมมือกันให้เป็นน้ำดีที่ไล่น้ำเสีย และร่วมกันให้กลายเป็นพลังที่สำคัญในการปกป้องและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างสันติภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

สำหรับความร่วมมือของสื่อมวลชนไทย – จีน สื่อเป็นสะพานและสายสัมพันธ์เชื่อมโยงที่สำคัญในการดำเนินการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือ ตลอดจนส่งเสริมการเชื่อมใจประชาชนระหว่างจีนและไทย ความร่วมมือในด้านสื่อเป็นส่วนสำคัญของการแลกเปลี่ยนทางสังคม วัฒนธรรมระหว่างจีนและไทย เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นทางสื่อจีนรายงานเกี่ยวกับประเทศไทยและสื่อไทยรายงานเกี่ยวกับประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น โดยสื่อรายงานครอบคลุมสาขาต่าง ๆ เช่น สภาพการณ์ของประเทศ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือ เป็นต้น การรายงานโดยภาพรวมสอดคล้องกับความเป็นจริง และตรงไปตรงมา ยิ่งนับวันสื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้น ยิ่งสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการแลกเปลี่ยนการออกอากาศรายการ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ออกอากาศรายการร่วม การเยี่ยมเยียนกัน ฯลฯ ซึ่งมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในการส่งเสริมความเข้าใจ ความไว้วางใจและความร่วมมือระหว่างจีนและไทย

“ในขณะที่ความสัมพันธ์จีน – ไทย กำลังก้าวไปข้างหน้า สื่อจะต้องรับภารกิจที่สำคัญและเผชิญกับโอกาสในการพัฒนาใหม่ ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง กล่าวในสาส์นแสดงความยินดีกับพิธีเปิดงานแลกเปลี่ยนสื่อจีน – อาเซียน โดยหวังว่าให้สื่อของทั้งสองฝ่ายจะเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่การติดต่อสมาคมฉันมิตร ผู้ผลักดันความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและเป็นผู้ที่คอยติดตาม เกื้อหนุนการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง ถ่ายทอดเรื่องราวของการส่งเสริมสันติภาพ แสวงหาการพัฒนา ผมเชื่อมั่นว่านี่เป็นความปรารถนาร่วมกันของชาติสมาชิกอาเซียน”

สำหรับความร่วมมือด้านสื่อระหว่างจีนและไทยนั้นโดยส่วนตัวเห็นว่า ประการแรก ควรส่งเสริมทำความเข้าใจซึ่งกันและกันให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น มีสื่อมากยิ่งขึ้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของจีน นับวันให้ความสนใจกับรายงานเชิงลึกเกี่ยวกับจีนมากยิ่งขึ้น ในขณะที่รายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการพัฒนาของจีน มีการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาเชิงลึกจากมุมมองที่แตกต่างกัน อาทิ ทำไมจีนทำได้ ทำไมพรรคคอมมิวนิสต์จีนเก่ง ทำไมระบบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์จีนใช้ได้ผล เป็นต้น แต่ก็ยังมีสื่อบางสื่อที่มีอคติต่อจีนและใช้การรายงานแบบด้านเดียวหรือแม้กระทั่งการโกหกเพื่อพิสูจน์อคติของพวกเขาแต่มีสิ่งหนึ่งที่มั่นใจว่าการรายงานเกี่ยวกับประเทศจีนมีความเป็นธรรมหรือไม่นั้น เป็นศักยภาพการแข่งขันของสื่อจำนวนไม่น้อย

“ข้าพเจ้าเห็นว่าสื่อไทยมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่ประเทศอื่นมิอาจจะเทียบได้ ที่สามารถช่วยสื่อไทยรายงานเกี่ยวกับประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง รอบด้าน เชิงลึก สอดคล้องความเป็นจริงและเที่ยงตรง ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้วงการต่างๆของสังคมไทยเข้าใจจีนและส่งเสริมมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างจีน – ไทย เราก็มีความยินดีและตั้งความหวังที่จะได้ยินเสียงกังวานและความคิดเห็นที่ล้ำค่าของสื่อไทยเกี่ยวกับสิ่งที่จีนต้องปรับปรุง โอกาสของความร่วมมือระหว่างจีน-ไทยอยู่ตรงจุดใด”

ประการต่อมา ควรเสริมสร้างความเข้มแข็งของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือของสื่อ อุตสาหกรรมสื่อของจีนและไทยกำลังเผชิญกับภารกิจการเปลี่ยนแปลง การยกระดับและการพัฒนาบูรณาการ ดังนั้น สื่อของทั้งสองประเทศควรเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมถึงการเสริมจุดแข็งซึ่งกันและกัน ฝ่ายจีนมีสื่อหลายสำนักได้ส่งผู้สื่อข่าวมาประจำประเทศไทย เราก็ยินดีต้อนรับผู้สื่อข่าวไทยไปประจำที่จีนเช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันทั้งสองฝ่ายยังสามารถดำเนินการแลกเปลี่ยน ความร่วมมือหลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะของสื่อและความต้องการที่แท้จริง

ประการที่สาม ควรส่งเสริมบทบาทของสื่อต่อการผลักดันความร่วมมือเชิงปฏิบัติระหว่างจีนกับไทย ดังหัวข้อของการสัมมนาครั้งนี้ เผยให้เห็นว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลง แต่มิตรภาพจีน – ไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสื่อของทั้งสองประเทศจะเข้าใจและใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาใหม่ ปัจจัยใหม่และแนวโน้มใหม่ในการพัฒนาความสัมพันธ์จีน – ไทย ให้ความสำคัญกับการประสานยุทธศาสตร์การพัฒนาของทั้งสองประเทศ รายงานความคืบหน้าของความร่วมมือเชิงปฏิบัติระหว่างสองประเทศอย่างตั้งใจ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยน เรียนรู้วัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ กระชับความผูกพันระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ เพิ่มพลังงานบวกที่แข็งแกร่งสู่การพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีน – ไทย

“สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยยินดีที่จะเป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจประเทศจีน ยินดีให้การสนับสนุนและช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับการแลกเปลี่ยน และความร่วมมือด้านสื่อระหว่างทั้งสองประเทศ”นางหยาง หยาง กล่าวในท้ายสุด

คุณคิดยังไงกับเรื่องนี้ ?

Short URL : https://bangkok-today.com/web/QQt2Y


ข่าวน่าสนใจ

item-thumbnail

“เต้ย จรุงศักดิ์” ส่ง “อัมมี่” ขึ้นแท่นศิลปินเดี่ยว พร้อมปล่อยซิงเกิ้ล&MV เพลงแรก “ไม่ได้เจ้าชู้”

item-thumbnail

เขาไสม้าออกมาท้า..ไม่น่าที่จะ “ไสหัวม้า-หลบ”

item-thumbnail

อินเทรนด์! “เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า” เดินหน้าบริหารพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

item-thumbnail

สกพอ.จับมือ UNIDO และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

item-thumbnail

THE KLINIQUE คว้ารางวัล ยืนหยัดผู้นำอันดับ 1 ยกกระชับปรับรูปหน้า ของเอเชียแปซิฟิค

item-thumbnail

Prysmian คว้าสัญญาโครงการ Viking Link มูลค่าเกือบ 700 ล้านยูโร

item-thumbnail

‘e-Commerce’ เคลื่อนที่ทั่วไทย ครั้งที่ 4 ภาคอีสาน ปิดฉากสวยงาม

item-thumbnail

กองทุนพัฒนาสื่อฯ เปิดรับข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนแบบทั่วไป ประจำปี 2562

สงวนลิขสิทธิ์ © บางกอกทูเดย์. | นโยบายความเป็นส่วนตัว | เงื่อนไขข้อตกลงการใช้บริการ | ติดต่อลงโฆษณา
Scroll
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com