Digiqole ad

SAMART เผย ธุรกิจการบินอาเซียนกำลังโตแรง 

 SAMART เผย ธุรกิจการบินอาเซียนกำลังโตแรง 
Social sharing

Digiqole ad

ถือเป็นบริษัทธุรกิจ ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ว่า ล่าสุด มีข่าวดีเผยออกมาให้รู้ว่า บริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART ได้กลับมาคึกคีกอีกครั้ง หลังจากที่บริษัทในกลุ่มสามารถ อย่าง บมจ.สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV) กำลังมีแนวโน้มการเติบโตมากขึ้น พร้อมกับการเตรียมแผนการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับโลก อีกกว่า 300 ล้านบาท ในสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ของ กัมพูชา เพื่อรองรับกระแสการท่องเที่ยวที่กำลังบูม และเชื่อว่าปีหน้า ธุรกิจการบินจะเติบโตมากกว่าปีก่อนวิกฤตโควิด 

วัฒนชัย วิไลลักษณ์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายพัฒนากลยุทธ์องค์กร และพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART เปิดเผยว่า วันนี้ กลุ่มสามารถได้มีการลงทุนในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ มานานมากกว่า 60 ปีในส่วนของธุรกิจการเบิน เราได้เข้าไปลงทุนในประเทศกัมพูชา มาตั้งแต่ปี 2545 โดยผ่าน บมจ.สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย และมีกลุ่มสามารถถือหุ้นในบริษัทฯ 100%” 

บริษัทเดียวไร้คู่แข่ง 

รองประธานกรรมการบริหาร ฯ กล่าวด้วยว่าวันนี้ SAV เป็นบริษัทเดียวที่ได้รับสัมปทานด้านการให้บริการวิทยุการบินแบบครบวงจรในประเทศกัมพูชา โดยทางบริษัทฯ ได้เข้าไปลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยี และอุปกรณ์ต่างๆ มาตลอดระยะเวลา 21 ปีที่ผ่านมา และมีการขยายระยะเวลาสัมปทานมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งล่าสุดเราได้ครอบคลุมระยะเวลาสัมปทานนานถึง 49 ปี ทำให้ธุรกิจของ SAV มีเสถียรภาพสูง และมีการเติบโตอย่างเนื่องในวันนี้ 

ขณะที่ทางด้าน ธีระชัย พงศ์พนางาม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAV ก็ออกมาเปิดเผยด้วยเช่นกันว่า  บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAV เป็นบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งมีธุรกิจแกนหลัก คือการให้บริการด้านวิทยุการบินอย่างครบวงจร ผ่าน บริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS)” 

ทั้งนี้ ตามรายงานระบุด้วยว่า “SAV” ได้เข้าไปถือหุ้นใน CATS ในสัดส่วน 100%  ชณะที่ CATS ก็เป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชามาตั้งแต่ปี 2545-2594 ในการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ ครอบคลุมเส้นทางบินทั้งหมดของน่านฟ้าประเทศกัมพูชา โดยรายได้หลักของ CATS มาจากบริการควบคุมการจราจรทางอากาศ 3 ประเภท ประกอบด้วย อันดับแรก เป็นรายได้จากค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้นลงในประเทศ (Landing &Take-off : Domestic) ต่อมาคือ ค่าบริการเที่ยวบินที่บินขึ้นลงระหว่างประเทศ (Landing & Take-off: International) และสุดท้ายเป็น รายได้จากค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชา (Overflight) โดยปัจจุบัน “SAV” มีสนามบินในกัมพูชาอยู่ด้วยกันถึง 6 แห่ง ได้แก่ สนามบินนานาชาติพนมเปญ สนามบินนานาชาติเสียมเรียบ สนามบินนานาชาติสีหนุ สนามบินพระตะบอง สนามบินเกาะกง และสนามบินสตึงเตรง

โอกาสเติบโตมีสูงอุตสาหกรรมการบินขยายตัว 

อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบินกัมพูชา กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีการลงทุนสร้างสนามบินนานาชาติใหม่ 3 แห่ง เพื่อรองรับจำนวนนักเดินทางที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญคือ สนามบินนานาชาติพนมเปญแห่งใหม่ ในเฟสแรกสามารถรองรับนักเดินทางได้ถึง 10 ล้านคน ขณะที่สนามบินนานาชาติเสียมเรียบแห่งใหม่ สามารถรองรับนักเดินทางได้ถึง 8 ล้านคน ในเฟสแรก และมีแผนขยายให้สามารถรองรับนักเดินทางได้ถึง 20 ล้านคน ในอนาคต และ สนามบินนานาชาติดาราสาคร (เกาะกง) ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ที่จะรองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชาในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการปลายปีนี้ 

ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ฯ ยังบอกด้วยว่า ทางด้านบริษัทวิจัยนานาชาติได้ออกมาคาดการณ์ด้วยว่าในปี 2567 จำนวนนักเดินทางเข้าออกประเทศกัมพูชาอาจจะมีจำนวนเพิ่มมากกว่าก่อนช่วงวิกฤตโควิด และก็จะส่งผลให้จำนวนเที่ยวบินในกัมพูชามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 134,000 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจาก 100,000 เที่ยวบินที่คาดการณ์กันไว้ในปี 2566 เนื่องจากการกลับมาของนักท่องเที่ยว และนักธุรกิจ โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน ซึ่งคาดว่า น่าจะกลับมาให้เห็นอย่างชัดเจนในราวต้นปีหน้า โดยล่าสุดจำนวนเที่ยวบินจากประเทศจีนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

รายได้โตต่อเนื่อง

สำหรับข้อมูลรายได้รวมของ SAV เปิดเผยด้วยว่า ในปี 2565 SAV มีรายได้รวม เท่ากับ 1,220 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายได้รวม 761 ล้านบาท ของช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 199.5 โดยหลังจากผ่านพ้นวิกฤติโควิด 19 และมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวทั้งในประเทศกัมพูชาและประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่ง SAV จะมีผลการดำเนินงานที่กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กระนั้นก็ตาม จุดเด่นหลักของ SAV นอกจากการเป็นผู้ให้บริการด้านวิทยุการบินอย่างครบวงจร เพียงรายเดียวในกัมพูชา และมีรายได้ประจำทั้งจากทุกเที่ยวบินที่ขึ้นลงในประเทศกัมพูชา ตลอดจน มีรายได้ประจำจากทุกเที่ยวบินที่บินผ่านน่านฟ้ากัมพูชา แล้ว ที่ผ่านมา SAV ยังมีระยะเวลาสัมปทานเหลืออีก 29 ปี และมีโอกาสต่ออายุสัมปทานไปได้อีก ขณะเดียวกัน ธุรกิจวิทยุการบิน ยังเรียกว่า เป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงและ ไม่มีคู่แข่ง รวมถึงมีโอกาสในการการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชาและอาเซียน ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง

บริษัทฯ ที่มีศักยภาพสูง 

วัฒนชัย กล่าวสรุปว่าหาก SAV เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์จะเป็นการปลดปล่อยศักยภาพของกลุ่มสามารถ เนื่องจาก SAV เป็นบริษัทฯ ที่มีศักยภาพสูง อยู่ในอุตสาหกรรมการบินที่เติบโตสูงและต่อเนื่อง อีกทั้งมีผลการดำเนินงานที่ดี ธุรกิจมีความมั่นคงสูง มีความสามารถในการทำกำไรสูง เป็นธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อีก โดย SAV จะเป็นหุ้นวิทยุการบิน หุ้นแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นหุ้นหนึ่งเดียวที่ได้ประโยชน์จากท่องเที่ยว และการลงทุนในอาเซียน” 

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด บมจ.สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV)  กำลังเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายในไตรมาส 3 นี้ พร้อมเตรียมเสนอขายหุ้นไอพีโอ จำนวนไม่เกิน 224,000,000 หุ้น หรือไม่เกินร้อยละ 35.00 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ โดยมูลค่าที่ตราไว้เท่ากับ 0.50 บาทต่อหุ้น เพื่อระดมทุนรองรับการขยายธุรกิจ และชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน รวมถึงรองรับโอกาสในการเติบโตของธุรกิจในอนาคต ชูจุดแข็งศักยภาพธุรกิจแกร่ง ไร้คู่แข่ง ยืนหนึ่งด้านการเป็นผู้ให้บริการวิทยุการบินแห่งเดียวในกัมพูชา พร้อมเติบโตรับอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวที่จะกลับมาเติบโตสูง  และมีนโยบายจ่ายเงินปันผลสูงถึง 50% ของกำไรสุทธิ

Facebook Comments


Social sharing

Related post