Digiqole ad

Open house. ต้อนรับผู้นำอุตสาหกรรมอวกาศ

 Open house. ต้อนรับผู้นำอุตสาหกรรมอวกาศ
Social sharing

Digiqole ad

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA จัดกิจกรรม GISTDA Open House “Beyond the Limit” ครั้งที่ 1 เพื่อเปิดบ้านต้อนรับกลุ่มผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอวกาศ เข้าเยี่ยมชมภารกิจด้านกิจการอวกาศ พร้อมนำเสนอความพร้อมของศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ (National Assembly Integration and Test: AIT) และความสำเร็จของประเทศไทยในการสร้างดาวเทียมสำรวจโลกที่มีชื่อว่า THEOS-2A ซึ่งทีมวิศวกรไทยกว่า 22 คน และผู้ประกอบการในประเทศมีส่วนสำคัญในการออกแบบ พัฒนา และร่วมผลิต ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 

เศรษฐกิจอวกาศคือเป้าหมายสำคัญที่ GISTDA กำลังเร่งผลักดันและสร้างการสนับสนุนผ่านการดำเนินงานในโครงการ THEOS-2 เพื่อให้ประเทศไทยมีดาวเทียมเป็นของตัวเอง อีกทั้ง ยังพัฒนาทรัพยากรบุคคล พัฒนาองค์ความรู้ด้านการสร้างและผลิตดาวเทียม รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีอวกาศที่ได้มาตรฐานระดับสากล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมอวกาศของไทยให้ก้าวเข้าสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นคง โดยกิจกรรม GISTDA Open House “Beyond the Limit” ประกอบไปด้วย 2 ช่วงได้แก่

ช่วงแรก สัมมนาเชิงปฏิบัติการกับหน่วยงานพันธมิตร: แนวทางการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา หรือ THEOS-2 เพื่อนำเสนอกับหน่วยงานพันธมิตรโดยตรงถึงศักยภาพของดาวเทียมสำรวจโลกดวงใหม่ เช่น ประสิทธิภาพและคุณภาพของภาพจากดาวเทียมที่มีความละเอียดสูง และแนวทางการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมภายใต้โครงการ THEOS-2 อาทิ การบริหารจัดการผังเมือง การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติการจัดการด้านการเกษตร การจัดการภัยพิบัติ โดยเฉพาะการพัฒนาข้อมูลจากดาวเทียมสู่การประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด หรือที่เรียกว่า AIP (Actionable Intelligence Policy) เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลจากดาวเทียมไปใช้ในการกำหนดนโยบายสำคัญของประเทศได้จริงรวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริหาร

ช่วงที่สอง – GISTDA เปิดบ้านให้หน่วยงานพันธมิตรได้รับชมการทำงานและความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน ภายในพื้นที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ได้แก่ ศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ หรือ AIT เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอวกาศในอนาคต ศูนย์ควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียม THEOS-2 ศูนย์ปฏิบัติการความเป็นเลิศและนวัตกรรมการบินและอวกาศ หรือ GALAXI Lab ที่ให้บริการผู้ประกอบการและนักศึกษาในอุตสาหกรรมทั้งยานยนต์ อากาศยาน และอวกาศยาน หรือชิ้นส่วนระดับ Industrial Gradeศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ หรือ Space Technology Research Center (S-TREC) ซึ่งมีระบบจัดการจราจรอวกาศ (Space Traffic Management System) หรือ ZIRCON ซึ่งทีมนักวิจัยของ GISTDA พัฒนาขึ้นเอง และสามารถวิเคราะห์คาดการณ์แจ้งเตือนการตกของชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บี ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (Microgravity Experiment Laboratory) เพื่อยกระดับงานวิจัยไทยให้มีโอกาสได้ทดลองงานวิจัยในสภาวะอวกาศ หรือ microgravity ที่ระดับไมโคร G ซึ่งจะส่งผลให้ผลลัพธ์งานวิจัยแตกต่างออกไปจากเดิม ด้วยพฤติกรรมจากอวกาศ และสามารถใช้เป็นสมมติฐานในการวิจัยจริงในอวกาศ การสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อใช้งานในอวกาศ หรือการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้

Facebook Comments


Social sharing

Related post