Digiqole ad

“GIT” เดินหน้าเร่งต่อยอดการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่สากลอย่างยั่งยืน

 “GIT” เดินหน้าเร่งต่อยอดการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่สากลอย่างยั่งยืน
Social sharing

Digiqole ad

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT เปิดเผยว่า GIT เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ผ่านการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบเครื่องประดับไทย สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ให้ความสำคัญ และยกระดับนักออกแบบไทยผ่านงานประกวดการออกแบบเครื่องประดับ และเชิญชวนผู้ประกอบการและนักออกแบบเข้าชมงานประกวดการออกแบบเครื่องประดับนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้น ณ ลานไลฟ์-สไตล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 เพื่อเป็นเวทีให้นักออกแบบเครื่องประดับไทยได้แสดงความสามารถสู่นานาชาติ พร้อมมองอนาคตหนุนนักออกแบบไทยให้ก้าวไปยืนบนเวทีโลก

การประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 15 ภายใต้แนวคิด Intergeneration Jewelry” – jewelry for every generation ซึ่งตรงกับแนวคิดในการออกแบบเครื่องประดับเพื่อทุกคน (Design for all) ที่เครื่องประดับนี้ได้หล่อหลอมและรังสรรค์ก้าวข้ามข้อจำกัดคนในแต่ละเจเนอเรชั่น และสวมใส่ได้ทุกช่วงวัย ในการจัดงานครั้งนี้สถาบันได้ดึงผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการออกแบบเครื่องประดับจาก สถาบันที่มีชื่อเสียงจากอิตาลี เกาหลีและอิหร่าน มาร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 15 นี้ และมีแนวทางในการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการออกแบบทั้งในยุโรปและเอเชีย เพื่อต่อยอดนำนักออกแบบไทยเข้าร่วมงานในระดับโลกต่อไป

สำหรับการประกวดในครั้งนี้ นักออกแบบที่ชนะเลิศและเข้ารอบสุดท้ายของการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 15 นี้ มีนักออกแบบไทยถึง 3 คน จากผู้ส่งแบบเข้าประกวดจากทั่วโลกกว่า 402 ชิ้นงาน จาก 27 ประเทศ โดยผลงาน 30 ชิ้นที่เข้ารอบจะได้ถูกแสดงแบบวาดในงานประกาศผลชนะเลิศโล่รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และผลงานสี่ชุดที่โดดเด่น เป็นของนักออกแบบไทยถึงสามคน โดยได้ผลิตเป็นชิ้นงานจริงพร้อมสวมบนนางแบบและดาราในงานพิธีในครั้งนี้ด้วย โดยรับเกียรติจาก นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ประธานกรรมการสถาบันเป็นประธานในพิธี เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำของไทยในเวทีนานาชาติ

โดยปีนี้สถาบันได้รับสนับสนุนการจัดการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งนี้ เป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัท บิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด บริษัท มาร์เวลจิวเวลรี่ จำกัด บริษัท คาเล็ทต้า จิวเวล-รี่ จำกัด บริษัท เทวิกา จิวเวลรี่ จำกัด บริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จำกัด L.S. Jewelry Group (ห้างเพชรหลีเสง) บริษัท เทรเชอร์ โปรดัก มาร์เก็ตติ้ง จำกัด พรีเมียร่า – เอ็กซ์ควิซิท จิวเวลรี่ และ บริษัท พญาจิวเวลรี่ จำกัด

นอกจากนี้ สถาบันก็ยังได้นำผลงานที่ผ่านเข้ารอบมาจัดแสดงในรูปแบบของ Art Gallery Online ที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมอง และสร้างแรงบันดาลใจผ่านการออกแบบให้นักออกแบบรุ่นใหม่ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปชมผลงานที่ผ่านเข้ารอบได้ที่ www.facebook.com/gitwjda  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ผู้ที่ได้รับรางวัลต่างๆ มีดังนี้

1.รางวัลชนะเลิศ นาย สุรศักดิ์ มณีเสถียรรัตนา จากประเทศไทย กับ ผลงาน ความเชื่อในตรีโกณมิติ (Trigonolism) ได้รับเงินสด 4,000 เหรียญสหรัฐ และ โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
เจ้าฟ้า  จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 

2.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 / รางวัล Popular Vote นางสาว พรนภา เด่นจารุกูล และ นางสาว ภัสภา โพธิ์อุบล จากประเทศไทยกับ ผลงาน D-N-A ได้รับเงินสด 3,000 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ

3.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 นาย จิรวัฒน์ สมเสนาะ จากประเทศไทย กับผลงาน รูปทรง เรขาคณิต (Geometry) ได้รับเงินสด 1,500 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ

4.รางวัลชมเชย Mrs. Soheila Hemmati จากประเทศอิหร่าน กับผลงาน Pearls for all generations ได้รับเงินสด 1,000 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ

5.รางวัลพิเศษ Popular Vote นางสาว พรนภา เด่นจารุกูล และ นางสาว ภัสภา โพธิ์อุบล จากประเทศไทยกับ ผลงาน D-N-A ได้รับเงินสด 500 เหรียญสหรัฐ และโล่เกียรติยศ

 

 

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post