Digiqole ad

CPF ต่อยอดโครงการ”ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน “สร้างอาชีพ-เสริมรายได้ให้ชุมชน

 CPF ต่อยอดโครงการ”ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน “สร้างอาชีพ-เสริมรายได้ให้ชุมชน
Social sharing

Digiqole ad

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ สานต่อโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน พัฒนาสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมชุมชนมีส่วนร่วมในการปกป้อง ดูแลรักษา และฟื้นฟูป่า สร้างความตระหนักในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสากรรมและอาหารครบวงจร ริเริ่มโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน “ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” มาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน มีเป้าหมายปลูกป่าชายเลนรวมกว่า 5,200 ไร่ ต่อยอดสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ ในพื้นที่จ.ระยอง ซีพีเอฟอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนไปแล้วรวม 614 ไร่ ต่อยอดสู่การเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ปากน้ำประแส” อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการสนับสนุนการรวมตัวของชุมชนยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลปากน้ำประแส โดยที่ผ่านมา มีหน่วยงานเข้ามาศึกษาดูงาน อาทิ กลุ่มบริษัทในเครือปตท. คณะจากกระทรวงต่างประเทศ(กรมยุโรป) กลุ่ม Eco Green นิคมอุตสาหกรรมอมตะซีตี้ ชลบุรี นักเรียนโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ คณะครูโรงเรียนวัดสระแก้ว จังหวัดนครราชสีมา ชมรมบำเพ็ญประโยชน์และชมรมท่องเที่ยวจิตอาสาของซีพีเอฟ ฯลฯ และตลอดปี 2565 จนถึงไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.2566) มีผู้เยี่ยมชม 38 คณะ รวมมากกว่า 1,000 คน

ล่าสุด ชุมชนปากน้ำประแส พร้อมด้วย นางดวงฤดี ขวัญนิยม ประธานวิสาหกิจชุมชนฯ และคณะทำงานยุทธศาสตร์ป่าชายเลน จ.ระยอง ของซีพีเอฟ ให้การต้อนรับ นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ รุ่นที่ 65 นำโดย คุณเมทนี บุรณศิริ หรือ คุณนีโน่ หัวหน้าหมู่ช้าง วปอ.65 นายสงวน แสงวงศ์กิจ ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง พร้อมคณะนักศึกษา วปอ.65 หมู่ช้าง ลงพื้นที่เพื่อศึกษาและเยี่ยมชมการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลปากน้ำประแส และทำกิจกรรมเวิร์คช็อป อาทิ ทำจานจากกาบหมาก ทำขนมบอบแบบ ทำแจงลอนซึ่งเป็นอาหารของท้องถิ่น ร่วมกันปลูกต้นโกงกางด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ(หย่อนฝักโกงกาง) และปลูกต้นโกงกางลงดิน รวมทั้งปล่อยปลากะพงขาว 1,500 ตัว บริเวณสะพานปลาของชุมชนปากน้ำประแส

นายตรัยกัญจนภูมิ พรนิยมสิริ ในฐานะประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์ป่าชายเลนพื้นที่ภาคตะวันออก (จังหวัดระยอง) ของซีพีเอฟ กล่าวว่า ปี 2562-2566 เข้าสู่ระยะที่สองของโครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน มีเป้าหมายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน พื้นที่ต.ปากน้ำประแส 614 ไร่ นอกจากนี้ ในปี 2566 ซึพีเอฟ สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน ปลูกฝังความตระหนักร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยจัดกิจกรรมสร้างบ้านปลา บ้านปู ซ่อมแซมเส้นทางศึกษาธรรมชาติ กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กิจกรรมเก็บขยะป่าชายเลนที่มีการทำต่อเนื่องจากปี 2565 เก็บขยะป่าชายเลนและเก็บขยะชายหาดรวม 4 ครั้ง เก็บขยะได้มากกว่า 2 ,500 กิโลกรัม โดยในปีนี้ จะจัดกิจกรรม Coastal Day (เก็บขยะชายหาดสากล)เป็นปีที่ 2 ระหว่าง วันที่ 12-16 กันยายน 2566 นี้ รวมทั้งสำรวจการเติบโตของต้นไม้เพื่อวัดการกักเก็บคาร์บอน

นางดวงฤดี ขวัญนิยม ประธานวิสาหกิจชุมชนฯ กล่าวว่า ปัจจุบัน ชุมชนในพื้นที่ปากน้ำประแส มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ และตระหนักถึงประโยชน์ของทรัพยากรป่าชายเลน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศูนย์การเรียนรู้ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ปากน้ำประแส ที่เป็นทั้งแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศป่าชายเลน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติของจังหวัดระยอง พร้อมกันนี้ ชุมชนฯผลักดันให้คนรุ่นใหม่เห็นประโยชน์ของป่าชายเลน ช่วยกันดูแล รักษา และปกป้องผืนป่าในพื้นที่ โดยที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ มีสถานีพืชและสัตว์ 9 แห่ง ประกอบด้วย สถานีต้นแสม 100 ปี, สถานีทักทายพี่ลำพูทะเล, สถานี หอยหัวใจแห่งห่วงโซ่อาหาร, สถานีกุ้งดีดขันนักดนตรีจากธรรมชาติ, สถานียลโกงกางสร้างสายใยรัก, สถานีวังมัจฉาเริงร่าวารี, สถานีปูเเสมจอมยุ่ง, สถานีสไลเดอร์ปลาตีน และสถานีแลบ้านปูก้ามดาบ ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ วันที่ 10 พฤษภาคมของทุกปี ตรงกับ “วันป่าชายเลนแห่งชาติ” เป็นการย้ำเตือนให้ทุกภาคส่วน ร่วมมือกันปกป้อง ดูแลรักษา ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลน ซี่งเป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นแนวกำบังภัยธรรมชาติ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ และป่าชายเลนยังเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ./

Facebook Comments


Social sharing

Related post