Digiqole ad

“AUTOMATION EXPO 2022” พร้อมเดินหน้าประกาศความพร้อมภาคอุตฯไทยใน EEC สู่ยุค META Manufacturing

 “AUTOMATION EXPO 2022” พร้อมเดินหน้าประกาศความพร้อมภาคอุตฯไทยใน EEC สู่ยุค META Manufacturing
Social sharing

Digiqole ad

ในเวลานี้ทั่วโลกต่างขานรับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมบนเส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค META Manufacturing ซึ่งต้องยอมรับว่าการมาของยุคนี้เร็วกว่าที่ใครหลายคนคิด ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก วิกฤตโรคระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่เข้ามาเป็น Game Changer หรือตัวพลิกเกมให้โรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนและพึ่งพิงเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติมากขึ้นไปโดยปริยายและเมื่อเทรนด์เทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมเบนเข็มมาในทิศทางนี้อย่างชัดเจน ทำให้การจัดงาน AUTOMATION EXPO 2022 ยิ่งทวีความน่าสนใจและตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ สถานประกอบการ ในแบบ One stop service อย่างมากทีเดียว

โดยในปีนี้ ทาง GREENWORLD ผู้นำธุรกิจด้าน B2B Media Platform ได้กำหนดจัดงานแสดงเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ AUTOMATION EXPO 2022 (AEX2022) ระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม พ.ศ.2565 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาตินงนุชพัทยา (NICE) ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ทั้งนี้ก่อนที่จะมีการจัดงานอย่างเป็นทางการ ทางผู้จัดงานได้จัดงานแถลงข่าวฯ ซึ่งได้เชิญผู้บริหารหน่วยงานพันธมิตร มาให้ข้อมูลน่าสนใจทั้งเกี่ยวกับงานฯและให้มุมมองที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมด้วย

คุณธีระ กิตติธีรพรชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีนเวิลด์ พับลิเคชั่น จำกัด ได้ขยายความคอนเซปต์ใหม่ Meta Manufacturing ในการจัดงาน AUTOMATION EXPO 2022 ในปีนี้ว่า งาน AUTOMATION EXPO 2022 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ โดยในปีนี้เราแสดงจุดยืนชัดเจนเพื่อสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ ยุค META Manufacturing เป็นยุคที่การผลิตของเราจะมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในช่วง Post-covid ที่ผ่านมา ผมมองว่าประเทศไทยเราโชคดีมาก ที่วางแผนและเดินหน้าโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเกิดความตื่นตัว และเรียนรู้กับการปรับตัวเพื่อทำธุรกิจในแพลตฟอร์มที่หลากหลายตั้งแต่ยุคก่อนวิกฤตโควิดจะเกิดขึ้น จนกระทั่งมาในตอนนี้ผู้ประกอบการไทยจึงมีความพร้อมในระดับหนึ่ง โดยความพร้อมนี้เป็นไปในทิศทางว่าภาคอุตสาหกรรมไทยจะต้องขับเคลื่อนไปด้วยระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ ซึ่งที่ผ่านมาก็จะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีและการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศมาโดยตลอด สอดคล้องตามแนวนโยบายภาครัฐที่ต้องการให้อุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ อุตสาหกรรม 4.0 แต่ในยุคนี้ เราได้เห็นว่าการ transfer เทคโนโลยีเข้ามาในไทย เกิดขึ้นเร็วกว่ายุคที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรื่องของซัพพลายเชนที่เป็นผลพวงทั่วโลก ทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยก็ตื่นตัวและจับตาเพื่อตามให้ทันว่าในต่างประเทศพัฒนาการผลิตไปอย่างไร นี่เป็นสิ่งที่มาย้ำให้ยิ่งเชื่อว่า ต่อจากนี้ไปภาคอุตสาหกรรมไทยจะพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดเริ่มจากในปีนี้เลย”

คุณธีระ ได้อธิบายโดยย้อนกลับไปในปี 2018 ซึ่งเป็นปีแรกที่ทาง GREENWORLDได้ริเริ่มจัดงาน AUTOMATION EXPO ว่า นับแต่ปี 2018 ซึ่งเป็นปีที่ทางกรีนเวิลด์ได้บุกเบิกและพัฒนาอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ และเกิดโครงการ EEC ในปีนั้นด้วย ซึ่งเราพบว่าความสนใจของผู้ประกอบการทั้งหมดไปอยู่ที่ระบบหุ่นยนต์ ที่ในตอนนั้นเป็นเรื่องใหม่สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทย โดยภานในงานครั้งแรกมีการจัดแสดงหุ่นยนต์หลากหลายรูปแบบ หลายสิบแบรนด์ รวมเกือบ 100 ตัว พอมาในปี 2019 เราเห็นชัดเจนว่าเทรนด์ความสนใจของผู้ประกอบการมุ่งไปที่ System Integration หรือ SI เพราะทุกภาคส่วนได้รับทราบตรงกันแล้วว่าระบบอัตโนมัติที่ดีไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ถ้าทำงานแบบ Stand alone ดังนั้น อะไรที่เข้าใกล้อุตสาหกรรม 4.0 เริ่มไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันเกินไปอีกแล้วกับอุตสาหกรรมไทย กระทั่งมาในปี 2020 ที่เกิดวิกฤตโควิดระลอกแรก งานของเราจำเป็นต้องเลื่อนจากกำหนดการที่จะจัดในเดือนมีนาคม ไปเป็นเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่วิกฤตโควิดคลี่คลายลง ณ เวลานั้น ผู้ประกอบการได้มีประสบการณ์ในเรื่องของโควิดมาแล้วประมาณครึ่งปี ทำให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Digital Manufacturing มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ERP IIoT (Industrial Internet of things) เทคโนโลยี 3D Printing หรือ Smart Reality โดยวิกฤตครั้งนี้มาพร้อมโอกาส ที่ทำให้ผู้ประกอบในภาคอุตสาหกรรมมองเห็นว่า ทำอย่างไรถึงจะ Integrate โรงงานให้มีความ Smart manufacturing ให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขัน”

“จากที่การปรับเปลี่ยนให้กระบวนการผลิตเป็น META Manufacturing หรือการปรับเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ ไม่ได้อยู่ในความจำเป็นลำดับต้นๆ ก็เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในแบบ Remote working หรือจะเป็น เรื่องของการจัดการ Warehouse ให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องลงมือทำ ในปี 2021 ที่ความสูญเสียจากโควิดรุนแรงมาก GREENWORLD เราปรับกลยุทธ์ด้วยการนำเสนอ Digital Platform ที่เป็นเหมือนโร้ดโชว์ของงาน AUTOMATION EXPO 2022 โดยมีคนลงทะเบียนร่วม Live Webinar / Business Matching / Elevator Pitch กว่า 10,086 ราย ปรากฎว่าได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ ผู้บริหารหน่วยงานต่างๆเป็นจำนวนมาก นั่นแสดงถึงพฤติกรรมที่ปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ และการโหยหาเรื่องของความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอัตโนมัติและต้องการจะทราบเทรนด์อย่างมากว่าต้องปรับตัวไปอย่างไรจึงจะเกิดผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นได้ เทรนด์อีกด้านที่ส่งผลให้การปรับตัวเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว คือ ธุรกิจอีคอมเมิร์ช ที่ต้องรวดเร็ว แม่นยำ ว่องไว เป็นเหตุให้ต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้ามากขึ้น ซึ่งมาตอบสนองปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการขายแคลนซัพพลายวัตถุดิบ และการขาดแคลนแรงงาน ในช่วงโควิดที่ผ่านมา หลายธุรกิจจึงต้องปรับ Business Model  อย่างในช่วงปีที่แล้ว ที่เราไม่ได้จัดงาน AUTOMATION EXPO เราได้จัด Webinar เราได้พบว่าพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป พร้อมที่จะร่วมงานในรูปแบบของออนไลน์มากขึ้น และการทำ Live Business matching ผ่านระบบออนไลน์ มีผู้ประกอบการเข้าร่วมถึง 10,086 ราย และมีการเข้าร่วมจริง 6,025 ราย และเกิด Business matching 4,135 แมตซ์ นี่เป็นสิ่งยืนยันสมมุติฐานที่เราตั้งไว้ได้เป็นอย่างดีว่า ตอนนี้คนกำลังต้องการเทคโนโลยีอย่างมากเป็นความจริงอย่างแน่นอน ดังนั้น ในงาน AUTOMATION EXPO ในปีนี้เราจึงดึงในเรื่อง Hybrid คือ Online to Offline เข้ามาใช้มากขึ้น รวมถึง การทำ Digital content ให้ความรู้ด้านอุตสาหกรรม และ E-marketplace ช่องทางขยายธุรกิจไปยังแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งมีคนใช้งานมากกว่า 1.34 ล้านครั้ง ต่อปี คิดเป็นจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 8 แสนราย”

 

นอกจากความตั้งใจของ GREENWORLD ในฐานะผู้จัดงานแล้ว งาน AUTOMATION EXPO 2022 ในปีนี้ยังเกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอีกหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่สนับสนุนการจัดนิทรรศการงานอีเวนต์ในประเทศไทย นั่นคือ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB โดยในโอกาสนี้ คุณศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการสายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือสนับสนุนการจัดงาน AUTOMATION EXPO 2022 ว่า จุดประสงค์ของการสนับสนุนงานครั้งนี้ สสปน. อยากให้เกิดการทำ Business Matching ดึง Buyer เข้ามาให้มากยิ่งขึ้น เราอยากใช้งานแสดงสินค้าช่วยตอบโจทย์ประเทศไทยการปรับใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ System Integration และ Smart Manufacturing เพื่อให้สอดรับกับนโยบายในการเป็น Industrial 4.0 โดยในปีนี้ สสปน. ได้มีมาตรการใหม่ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยงานแสดงสินค้าภายในประเทศระดับภูมิภาค หรือ Empower Thailand Exhibition มีคำเรียกย่อ ๆ ว่า EMTEX (เอ็ม-เท็กซ์) ซึ่งมุ่งส่งเสริมงานที่เป็นตลาด B2B หรืองาน Trade Show สำหรับธุรกิจสู่ธุรกิจ ซึ่งมีระบบจัดเก็บฐานข้อมูลผู้ร่วมงานอย่างเป็นระบบทั้งฝั่งผู้แสดงสินค้าและผู้เยี่ยมชม อีกทั้งยังเป็นงานที่สร้างให้เกิดกิจกรรมการจับคู่เจรจาธุรกิจซึ่งส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนการจัดซื้อ การลงทุนทางธุรกิจ

“สำหรับการจัดงาน AUTOMATION EXPO 2022 นั้น นับเป็นงานแสดงสินค้าในประเทศระดับภูมิภาคที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามโครงการ EMTEX โดยได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เข้าร่วมสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากเมืองพัทยาในฐานะเจ้าภาพอีกด้วย”
ที่ผ่านมา TCEB ได้ส่งเสริมอุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้าของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยภูมิปัญญาและโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการบริการที่แข็งแกร่ง และวิธีการใหม่ ๆ ในการร่วมสร้างกิจกรรมที่โดดเด่นสำหรับผู้จัดงานอีเวนต์ ปัจจุบันทีเส็บกำลังดำเนินงานตามดำเนินตามนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ‘ไทยแลนด์ 4.0’ และวางเป้าหมายผ่าน 10 อุตสาหกรรมหลัก เพื่อรักษาความแข็งแกร่งของประเทศไทยในฐานะที่เป็นจุดหมายปลายทางทางธุรกิจชั้นนำของเอเชีย”

มาถึงภาคเอกชน ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างอีโคซิสเตมของการพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมของไทย เริ่มจาก AIS ที่ประกาศชัดเจนว่าจะเร่งสร้าง Ecosystem เพื่อส่งเสริม 5G & Digital Platforms For Smart Manufacturing โดย คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวให้มุมมองในประเด็น “5G & Digital Platforms For Smart Manufacturing” ไว้อย่างน่าสนใจว่า AIS มีจุุดประสงค์ที่จะเพิ่มประโยชน์สูงสุดให้กับ Partner เเละ Customer ด้วยการสร้าง Ecosystem เพื่อยกระดับการให้บริการทางเทคโนโลยีของเครือข่ายให้เกิดประสิทธิภาพให้สูงที่สุด โดยออกแบบ Solutions ที่เป็น Smart Infrastructure” “เช่น การใช้บรอร์ดเเบรนด์ (FWA) เพื่อยิงสัญญาณเข้าไปใช้ในโรงงานโดยที่ไม่จำเป็นต้องลากสาย FIber เข้าไปอีกเเล้ว เป็นการยิงสัญญาณ 5G เพื่อ Network Slicing ใน Work Role ต่าง ๆ เเละสิ่งที่สำคัญคือการใช้ Computing Power ของ Edge Computing เพื่อเป็นการกระจายให้ลูกค้าเข้าถึงความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุด มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เต็มรูปเเบบซึ่งจะส่งเสริมให้เกิด Smart Workplace แก่พนักงาน ในปัจจุบัน AIS ได้พัฒนา Use Cases การใช้งาน 5G แล้วหลายโครงการ เช่น การควบคุมฟอร์คลิฟท์หรือหุ่นยนต์ Mobile ที่วิ่งในโรงงาน การใช้ IoT การพัฒนา AI เพื่อทำ Predictive Maintenance และยังมี Smart Manufacturing Solutions อื่น ๆ อีกมากมาย โดยในงาน AUTOMATION EXPO 2022 ครั้งนี้ AIS จะนำเสนอ Fundamental Solution เรื่อง Waste Water Management เเละ Ambient Air Monitoring ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ซึ่งทุกโรงงานอุตสาหกรรมสามารถนำไปปรับใช้งานได้จริง การทำให้เทคโนโลยี 5G เป็นที่แพร่หลายใช้งานได้จริง AIS พร้อมจับมือกับ Key Players ในตลาดเพื่อให้ลูกค้าได้รับ Integrated Solutions นี่เป็นการยกระดับ AIS ให้กลายเป็นพาร์ทเนอร์ด้าน Industrial 4.0 เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้บริการเครือข่ายที่ดีที่สุด

ด้าน ปตท. หรือ PTT ก็ได้เข้ามามีบทบาทนำเสนอ PTT Digital Solutions ยกระดับภาคธุรกิจไทยสู่ Smart Industry โดย คุณสิริยาภรณ์ สูยานนท์ Clients Solutions Vice President บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด เล่าถึงโอกาสและความจำเป็นต่อการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการไทยว่า โลกปัจจุบันนี้มีทิศทางการเปลี่ยนแปลงมุ่งสู่ยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ตัวแปรสำคัญคือการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ยกระดับธุรกิจสู่การเป็น Tech Enterprises” PTT Digital Solutions มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปีในเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความเข้าใจปัญหาเป็นอย่างดีจนได้พัฒนาเป็น Smart Industry Solutions ที่ตอบโจทย์การทำงานของภาคอุตสาหกรรมไทยได้จริง โซลูชั่นของเราจะเน้นที่การเพิ่ม Efficiency / Speed / Agility ซึ่งเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญต่อเป้าหมายธุรกิจในยุคนี้ โดยเรามั่นใจในนวัตกรรมของเราที่ผ่านการพิสูจน์ผลลัพธ์การใช้งานจริงกับธุรกิจภายในกลุ่ม ว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการในพื้นที่ EEC ที่กำลังเร่งปรับตัวเพื่อเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการผลิตของภูมิภาค ทั้งนี้ปัจจัยความสำเร็จของการทำ Digital Transformation “ข้อแรก ต้องเลือกเทคโนโลยีที่คุ้มค่าต่อการลงทุน สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ ข้อสอง พิจารณากระบวนการทำงานที่ต้องตระหนักว่าย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงต้องเกิดการวิเคราะห์ร่วมกันทั้งภายในองค์กรและใน Value Chain ข้อสุดท้ายที่ละเลยไม่ได้เลย คือการเตรียมความพร้อมของทีมงานผู้ใช้เทคโนโลยี

ดร.ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการ EEC Automation Park หนึ่งในพันธมิตรการจัดงาน AUTOMATION EXPO 2022 นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับความพร้อมของปัจจัยต่างๆ ในการทำให้ยุคการผลิตระบบอัตโนมัติเกิดขึ้นได้จริงในประเทศไทยว่า บทบาทของ EEC Automation Park มีความชัดเจนในฐานะการเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการและประสานงานการพัฒนากำลังคน นวัตกรรม และการเรียนรู้ Robotics and Automation ในเขต EEC โดยคณะทำงานของ EEC Automation Park ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก EEC-HDC สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO), บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด, มหาวิทยาลัยบูรพา และประธานกลุ่ม TARA เป็นที่ปรึกษา และมีคณะกรรมการเป็นผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานราชการและภาคเอกชน ที่ดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนากำลังคนทั้งด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และทักษะอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนแรก เป็นส่วนของ Learning Center ซึ่งจะมีชุด Smart Factory ที่ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มาติดตั้ง เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้าง Inspiration ให้กับเยาวชน ให้เขาได้รู้ว่าในอนาคต ถ้าเขาเรียนในด้านนี้ ก็จะต้องพบเจอกับเทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อให้เขาเตรียมความพร้อม และเตรียมรับกับเทคโนโลยีที่จะเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของเขา และเรายังเน้นในเรื่องการฝึกอบรม ในลักษณะของเครือข่ายหรือ Training Network ซึ่งทาง ศูนย์ Automation Park แห่งนี้มีเครือข่ายการอบรมทั้งในส่วนของสถาบันศึกษาจากภาครัฐ ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากร เพื่อแชร์ความร่วมมือกันในการฝึกอบรม การใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ต่อยอดสู่การพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป”

“การสำรวจ Pain Points ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทำให้เราเห็นแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมใน EEC ซึ่งเราได้เห็นว่าอุตสาหกรรมขนาดกลาง-ใหญ่นั้นมีเงินทุนและศักยภาพในการลงทุนเทคโนโลยีตลอดทั้งซัพพลายเชนอยู่แล้ว วันนี้เราจึงให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมขนาดกลาง-เล็ก สวทช. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรม ประสบความสำเร็จในการออกแบบ Index ที่ใช้ประเมินระดับของอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเป็นข้้นแรกในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะทำให้เราสามารถออกแบบโซลูชั่น และหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรได้ตรงกับความต้องการ และเรายังสามารถวิเคราะห์ระบุเป็น Pain Points หลัก 4 ข้อของอุตสาหกรรมขนาด SME ได้แก่ ด้านการเงิน / ด้านเทคนิค / ด้านกำลังคน / ด้านภาครัฐ  โดย Pain Points แต่ละด้านมีการระบุรูปแบบปัญหาในรายละเอียดชัดเจน มีการกำหนดข้อเสนอมาตรการจากภาครัฐและเอกชนได้อย่างตรงกับ Pain Points นอกจากนี้ Exhibitors ยังสามารถอาศัยผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางออกแบบโซลูชั่นให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมระดับ SME ในงาน AUTOMATION EXPO 2022 นี้ด้วย”

Facebook Comments


Social sharing

Related post