Digiqole ad

Art Basel Hong Kong 2021 – งานจัดแสดงศิลป์ที่ ‘อยู่เป็น’ ในยุคโควิดแพร่ระบาด

 Art Basel Hong Kong 2021 – งานจัดแสดงศิลป์ที่ ‘อยู่เป็น’ ในยุคโควิดแพร่ระบาด

Art Basel in Hong Kong

Social sharing

Digiqole ad

เมื่อการจัดงานในปี 2020 ต้องถูกยกเลิกอย่างเลี่ยงไม่ได้จากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 ผู้คนก็เริ่มตั้งคำถามถึงทิศทางการจัดงานในอนาคตของ Art Basel Hong Kong ที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่การให้ผู้ชมได้ดื่มด่ำกับรสชาติของงานศิลป์แบบใกล้ชิด…

               ในวันนี้ Art Basel Hong Kong 2021 ก้าวข้ามผ่านมรสุมลูกนี้ จุดประกายไอเดีย และเดินหน้าจัดงานแบบไฮบริด ผสานพลังระหว่างออนไลน์และออฟไลน์สำเร็จได้อย่างไร?

หลังการจัดงานในปี 2020 ต้องถูกยกเลิกไปอย่างกระทันหัน งานศิลปะระดับโลกอย่าง Art Basel Hong Kong ก็มีการปรับตัวครั้งใหญ่ พร้อมวางแผนรับมือข้อจำกัดในยุค Social Distancing ทุกรูปแบบ ผันตัวสู่การจัดแสดงงานแบบไฮบริดในเดือนพฤษภาคม 2021 โดยดึงช่องทางดิจิทัลมาเป็นฟันเฟืองสำคัญ ในการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของนักสะสม แกลเลอรีต่างๆ และผู้ชมงานศิลป์มาเป็นอันดับแรกได้สำเร็จ

Marc Spiegler ผู้อำนวยการใหญ่ทั่วโลกประจำงาน Art Basel ได้ให้ความคิดเห็นไว้ว่า “เราทุกคนต่างก็หวังให้จุดที่เรายืนอยู่ในตอนนี้เป็นการสิ้นสุดลงของการแพร่ระบาดเสียที แต่แท้ที่จริงแล้ว ณ ขณะนี้คือจุดเริ่มต้นของโลกใบใหม่แห่งวงการศิลปะต่างหาก

วันใดที่เราหลุดพ้นจากการแพร่ระบาดมาได้ในที่สุด การปรับตัวเข้าสู่รูปแบบดิจิทัล จะทำให้มีการจัดแสดงผลงานทางศิลปะที่เป็นแบบผสมผสานมากขึ้นกว่าเดิม คือยังคงรักษาคุณค่าของการได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการชมงานศิลปะแบบจับต้องได้ไว้ แต่ในทางกลับกันแพลตฟอร์มออนไลน์ก็จะสามารถถ่ายทอดความยิ่งใหญ่ของงานไปสู่ผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาเข้าร่วมได้เช่นกัน” Art Basel Hong Kong 2021 – ผันตัวสู่โลกดิจิทัล ลอยตัวเหนือการแพร่ระบาด ห้องชมงานศิลป์ออนไลน์ (Online Viewing Room) การจัดงานแบบไฮบริด ผสานพลังออฟไลน์และออนไลน์      เป็นที่ทราบกันดีว่าวงการศิลปะนั้นยังมีความ “หัวเก่า” ในการสื่อสารและแสดงออก แต่วันนี้งาน Art Basel กลับกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังที่ Adeline Ooi ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียของ Art Basel ได้เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ว่า “การเปลี่ยนแปลงไปสู่ช่องทางดิจิทัลได้เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2020 ทุกคนต้องผันตัวสู่โลกออนไลน์เพื่ออยู่รอด Art Basel เองก็ได้สร้าง ห้องชมงานศิลป์ออนไลน์’ (Online Viewing Room) เพื่อให้แกลเลอรีได้นำเสนองานศิลป์ให้ผู้สนใจได้เข้าชมออนไลน์แบบละเอียด ในยามที่ไม่อาจเดินทางมาจัดแสดงงานได้ด้วยตัวเอง โดยแพลตฟอร์มมีการพัฒนาและได้รับการตอบรับที่ดีจากแกลเลอรีทั่วโลกที่เข้าร่วมจำนวนมาก” นอกจากการเพิ่มช่องทางการรับชมออนไลน์แล้ว Art Basel Hong Kong 2021

ยังคงเปิดให้มีการเข้าชมงานจริง โดยมีมาตรการด้านความปลอดภัยครบถ้วน ได้แก่ การที่ทุกคนต้องสวมหน้ากาก การลดจำนวนผู้เข้าชมงานลง การตรวจหาเชื้อ COVID-19 ในเจ้าหน้าที่ทุกคน โดยจะต้องมีผลตรวจเป็นลบเท่านั้นจึงจะได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมในการจัดงาน และมีการปรับขยายพื้นที่จัดงานให้กว้างขึ้นเพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างผู้เข้าชม สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาสำหรับการเข้าชมงานจริง คือ โซลูชันแบบไฮบริด ที่ Art Basel Hong Kong 2021 เสนอให้ แกลเลอรีต่างๆ ซึ่งอยู่นอกฮ่องกง และไม่สามารถเดินทางมาได้หรืออาจจะไม่ต้องการถูกกักตัวถึง 14 วัน คือการจัดบูธผ่านระบบดาวเทียม ให้แกลเลอรีเหล่านั้นส่งงานศิลปะมายังฮ่องกง โดย Art Basel Hong Kong จะจัดหาผู้ช่วยมาดูแลบูธหน้างานให้แทน ส่วนผู้ชมงานก็จะสามารถเชื่อมต่อกับแกลเลอรีได้ผ่านรหัสคิวอาร์ (QR Code) ที่มีจัดไว้ให้กับทุกบูธ เพียงสแกนรหัสคิวอาร์ด้วยโทรศัพท์ แกลเลอรีเจ้าของบูธก็จะสามารถพูดคุยและนำเสนอผลงานกับผู้ชมงานได้โดยตรงผ่านวิดีโอคอลทันที และยังมีการไลฟ์สดเที่ยวงานออนไลน์ที่ผู้ชมทั่วโลกสามารถร่วมได้อีกด้วย ความสำเร็จของ Art Basel Hong Kong 2021ความเปลี่ยนแปลงก้าวแรก…ที่ต่อยอดถึงอนาคต งานศิลปะแบบเข้าชมงานจริง ที่ได้กลับมาจัดเป็นงานแรกๆ     มีการเลือกซื้องานศิลป์ผ่านห้องชมออนไลน์     Here To Stay…นวัตกรรมที่กลายเป็นความถาวร งานแสดงศิลปะเป็นตัวทำรายได้หลักของแกลเลอรีทั่วโลก ซึ่งคิดเป็น 26% ของต้นทุนการดำเนินงานทั้งหมด โดยถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงานสูง งานจัดแสดงผลงานก็ยังคงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตลาดงานศิลป์ ซึ่งแกลเลอรีต่างๆ เล่าว่าโอกาสการได้เข้าถึงตัวนักสะสมตามสถานที่ออกงานสำคัญต่างๆ คือโอกาสการจำหน่ายผลงาน และถือเป็นเหตุผลหลักในการเข้าร่วมงานของทุกแกลเลอรี

 

Yvonne Zhou ผู้อำนวยการของแกลเลอรี Karma ที่เข้าร่วม Art Basel Hong Kong 2021 ผ่านเฟซไทม์จากนิวยอร์ก กล่าวว่า “Art Basel Hong Kong 2021 ถือเป็นหนึ่งในงานศิลปะแบบเข้าชมผลงานจริงได้ ที่ได้กลับมาจัดเป็นงานแรกๆ และเป็นเรื่องดีมากที่ แม้ว่าแกลเลอรีอย่างพวกเราจะไปฮ่องกงไม่ได้ แต่ผู้ชมก็ยังได้สัมผัสกับความงดงามของผลงานจริงๆ โดยมีนักศึกษาฝึกงานช่วยสื่อสารกับลูกค้า ผู้ที่สนใจงานศิลปะที่หน้าบูธ และถ่ายทอดสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้กับเราซึ่งตอนนี้อยู่ที่นิวยอร์ก เพื่อให้เราได้นำเสนอผ่านวีดีโอคอลด้วยตัวเอง” แม้ว่ากิจกรรมไลฟ์สดไปทั่วโลกจะไม่ค่อยครึกครื้นเท่าใดนักด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาด แต่นักสะสมที่มีกำลังซื้อก็ยังคงเลือกซื้องานศิลปะผ่านทั้งช่องทางจัดแสดงงานและผ่านห้องชมออนไลน์ นอกจากนี้ นักสะสมหลายๆ ท่านยังมีความยินดีที่จะเดินทางมาร่วมงานจัดแสดงศิลปะด้วยตนเองในช่วงปลายปี 2021 อีกด้วย    ท่ามกลางความท้าทายที่เกิดจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง Marc Spiegler ผู้อำนวยการใหญ่ทั่วโลกประจำ
Art Basel ยังคงมองอนาคตของธุรกิจศิลปะในแง่ดี พร้อมคาดการณ์ไว้ว่าบางนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปีนี้ จะกลายเป็นองค์ประกอบการจัดงานถาวรในปีต่อๆ ไป และได้กล่าวปิดท้ายว่า “สำหรับงานปีหน้า เราหวังว่าผู้คนทั่วโลกจะสามารถเข้าร่วมได้ เพราะเราตั้งเป้าว่า Art Basel Hong Kong 2022 จะเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและเป็นงานที่สามารถเข้าถึงทุกคนทั่วทุกที่ได้ในระดับดิจิทัล”   ดังที่ Leo Xu ผู้อำนวยการอาวุโส แห่งแกลเลอรี David Zwirner ได้กล่าวไว้ว่า “ความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีไม่ใช่เป็นแค่เรื่องของการยกงานออฟไลน์ไปไว้บนออนไลน์ แต่จริงๆ แล้วเป็นการใช้ข้อมูลในการขยายฐานลูกค้าและทำให้การสื่อสารทั่วโลกเป็นไปได้อย่างราบรื่น”

แม้ว่าการชมงานแบบออฟไลน์และออนไลน์ดูจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่โลกศิลปะก็ได้สอดรับความเป็นไฮบริดนี้เพื่อที่จะก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการออกบูธผ่านระบบดาวเทียม ห้องชมงานศิลป์ออนไลน์ หรือผู้ช่วยยกระดับประสบการณ์ ก็ล้วนพร้อมเนรมิตโลกใบใหม่แห่งศิลปะ เพื่อพร้อมรับอนาคตที่เราต่างรู้ว่าจะเป็นไปในรูปแบบไหน

Facebook Comments


Social sharing

Related post