Digiqole ad

ก้าวไกลเสนอ 6 แนวทาง แก้ปัญหาหนี้เกษตรกรยั่งยืน ไม่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

 ก้าวไกลเสนอ 6 แนวทาง แก้ปัญหาหนี้เกษตรกรยั่งยืน ไม่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
Social sharing
Digiqole ad
📌ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลออกนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรมากถึง 13 โครงการ แต่กลับไม่สามารถทำให้เกษตรกรชำระหนี้ได้ ตรงกันข้ามเมื่อสิ้นสุดโครงการ กลับทำให้เกษตรกรมีหนี้เพิ่มขึ้น
📌หากรัฐบาลยืนยันใช้มาตรการเดิม เกรงว่าการพักหนี้เกษตรกร ท้ายที่สุดจะจบลงแบบเดิม หนี้สินจะส่งต่อไปยังรุ่นลูก ปัญหาหนี้สินจะขยายตัวรุนแรงขึ้น
.(1) หลังคณะรัฐมนตรี 26 ก.ย. มีมติพักหนี้เกษตรกรเป็นระยะเวลา 3 ปี ในปีแรกใช้วงเงิน 12,096 ล้านบาท แบ่งเป็นงบชำระหนี้ 11,096 ล้านบาท และงบพัฒนาศักยภาพเกษตรกรอีก 1,000 ล้านบาท
.
(2) กรุณพล เทียนสุวรรณ รองโฆษกพรรคก้าวไกล ระบุว่าแม้เห็นด้วยกับการช่วยเหลือเกษตรกรในการพลิกฟื้นและเริ่มต้นชีวิตใหม่ แบ่งเบาภาระหนี้ให้เกษตรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ข้อกังวลคือโครงการนี้มีข้อจำกัด จะช่วยเกษตรกรที่มีมูลหนี้รวมกันของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งตามนี้จะทำให้ช่วยเหลือเกษตรกรได้เพียง 2.7 ล้านราย จากเกษตรกรที่เป็นหนี้ ธ.ก.ส. ทั้งหมด 4.8 ล้านราย เท่ากับจะมีเกษตรกรที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือและเยียวยาคิดเป็น 40%
.
(3) นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรที่มีมูลหนี้สูงมากที่ไม่สามารถพลิกฟื้นและเริ่มต้นชีวิตใหม่ในชั่วชีวิตนี้ แต่กลับกลายเป็นนโยบายนี้มุ่งไปที่คนที่มีมูลหนี้ค่อนข้างต่ำ จึงกังวลว่าอาจไม่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรในวงกว้างได้สำเร็จ
.
(4) ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลออกนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรมากถึง 13 โครงการ แต่กลับไม่สามารถทำให้เกษตรกรชำระหนี้ได้ ตรงกันข้ามเมื่อสิ้นสุดโครงการกลับทำให้เกษตรกรมีหนี้เพิ่มขึ้นจากการที่เกษตรกรไม่ได้มีความรู้ความสามารถในการบริหารหนี้ ดังนั้น การพักชำระหนี้โดยไม่มีแผนการรองรับ อาจทำให้เกษตรกรมีมูลหนี้ที่เพิ่มขึ้นและเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
.
(5) ปัจจัยที่ทำให้เกษตรกรไม่สามารถบริหารจัดการหนี้ และไม่สามารถปลดหนี้ได้ ยังมีเรื่องของปัจจัยการผลิต เช่น ยากำจัดศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย รวมถึงตลาดทุนที่เกษตรกรจะต้องนำผลผลิตไปขาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นล้งหรือผู้รับซื้อที่จำเป็นจะต้องมีกฎหมายรองรับ
.
(6) ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร ทำให้แรงงานในภาคเกษตรกรรมน้อยลงและส่งผลไปยังผลผลิตที่น้อยลง ตลอดจนปัญหาการเข้าถึงเทคโนโลยีและแหล่งทุน การจัดการน้ำที่สามารถส่งผลต่อการผลิตของเกษตรกร ซึ่งภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว
.
(7) รวมถึงการขาดคำแนะนำในการจัดการหนี้สิน ทั้งที่ที่ผ่านมามีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในด้านต่างๆ แต่กลับไม่มีการอบรมด้านการจัดการหนี้สิน ส่งผลให้บางครั้งมีการใช้เงินโดยขาดการวางแผน เมื่อสิ้นสุดโครงการ เกษตรกรยังมีหนี้สินเพิ่มขึ้น เป็นเช่นนี้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจึงถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น การแก้ปัญหาของรัฐบาลปัจจุบัน ไม่มีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
.
(😎 รองโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า พรรคก้าวไกลต้องการเป็นฝ่ายค้านเชิงรุก ที่ท้วงติงปัญหาและให้คำแนะนำรัฐบาล จึงมีข้อเสนอดังนี้
📌เสนอให้เปลี่ยนตัวชี้วัดของ ธ.ก.ส. ที่เน้นนำรายได้เข้าคลัง มาเป็นการปรับโครงสร้างหนี้และเน้นลดหนี้ของเกษตรกรรายย่อยอย่างจริงจัง
📌การชำระหนี้ของเกษตรกรต้องนำไปตัดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
📌รัฐบาลควรเสนอแนวทางและทางเลือกให้เกษตรกร โดยลดอัตราดอกเบี้ยขาลง จากปัจจุบันดอกเบี้ยของเกษตรกรอยู่ที่ 4-8% ซึ่งพรรคก้าวไกลเชื่อว่าหากลดดอกเบี้ยอยู่ที่ 1-3% จะทำให้เกษตรกรมีความสามารถในการชำระหนี้ได้มากยิ่งขึ้น และขยายเวลาชำระได้นานยิ่งขึ้น
📌เกษตรกรที่มีหนี้สะสมมากและเสี่ยงที่จะเป็นหนี้เสีย รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกิจการร่วมทุนเพื่อแก้ไขสินเชื่อด้อยคุณภาพตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยการปรับโครงสร้างหนี้หรือรับซื้อหนี้ของเกษตรกรในรูปแบบต่างๆ และเปิดโอกาสให้เกษตรกรลูกหนี้ที่แม้ทรัพย์สินจะถูกขายทอดตลาด สามารถเจรจาเจ้าหนี้เพื่อขอเข้าใช้พื้นที่ได้
📌รัฐบาลควรปรับเปลี่ยนการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกร เป็นการอบรมด้านการจัดการการเงินและปรับโครงสร้างหนี้แก่เกษตรกร
📌เพิ่มทางเลือกในแง่อาชีพและรายได้เสริม สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง และมีหนี้สินที่ต้องชำระ
.
(9) หากรัฐบาลยืนยันใช้มาตรการเดิม เกรงว่าการพักหนี้เกษตรกร ท้ายที่สุดจะจบลงแบบเดิม หนี้สินจะส่งต่อไปยังรุ่นลูก ปัญหาหนี้สินจะขยายตัวรุนแรงขึ้น จึงหวังว่าข้อท้วงติงของพรรคก้าวไกล จะส่งไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเกษตรกร ขอฝากให้รัฐบาลแก้ให้ถูกจุดและแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ที่มา : เพจพรรคก้าวไกล
Facebook Comments

Related post