Digiqole ad

“ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์” กางแผนโชว์หมัดเด็ดกลยุทธ์ตลาด จากผู้ผลิตชิ้นส่วนต่อยอดสู่ผู้ประกอบรถยนต์

 “ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์” กางแผนโชว์หมัดเด็ดกลยุทธ์ตลาด จากผู้ผลิตชิ้นส่วนต่อยอดสู่ผู้ประกอบรถยนต์
Social sharing

Digiqole ad

บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน) เผยกลยุทธ์ตลาด ตลอด 55 ปี ของการดำเนินธุรกิจจากบันไดขั้นแรกของการเป็นผู้รับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ตัวถังรถ ให้แบรนด์ค่ายรถยนต์ โตโยต้า,นิสสัน, อีซูซุ ต่อยอดมาสู่ผู้นำประกอบรถยนต์อเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง ตัดส่วนกระบะทำห้องโดยสารเพิ่มที่นั่งอีก 1 แถว กลายเป็นรถกระบะแบบ 2 ตอน 4 ประตู ครั้งแรกในไทย ปัจจุบันกลายมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์อเนกประสงค์ เอง ภายใต้แบรนด์ TRANSFORMER รถที่หน่วยราชการไทยซื้อใช้เป็นรถทหาร รถวิทยุ ล่าสุดบริษัทฉลองครบรอบ 55 ปี เปิดรถยนต์รุ่น TRANSFORMER ll เจาะตลาดคนขับใช้วิ่งในเมือง ลุคสปอร์ต คาดยอดขายสิ้นปีกวาดไม่ต่ำกว่า 250 คัน ตามมาด้วยรถหุ้มเกราะกันกระสุน หวังจัยตลาดทหาร เป็นหลัก พร้อมขยายไลน์สู่การเป็นผู้ประกอบรถ EV-minibu และ EV-Tuktuk  ด้านยอดขายปีนี้คาดเติบโตขึ้น 30%

จากความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจในฐานะผู้นำด้านยนต์กรรมของการผู้รับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ตัวถังรถ ให้แบรนด์ค่ายรถยนต์ชั้นนำ อาทิ โตโยต้า,นิสสัน, อีซูซุ มาอย่างยาวนานกว่า 55 ปี ของบริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน) ที่มีพัฒนาต่อยอดขยายธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นบริษัทที่มี Know How และความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ด้วยมาตรฐานที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับจ้างต่อตัวถังรถกระบะ และ ผลิตอะไหล่ การดัดแปลงรถกระบะให้มีที่นั่งในห้องโดยสาร เพิ่มขึ้น มีความสามารถในการตัดส่วนกระบะทำห้องโดยสารเพิ่มที่นั่งอีก 1 แถว กลายเป็นรถกระบะแบบ 2 ตอน 4 ประตู ขึ้น ที่ถือว่าครั้งแรกของประเทศไทยเมื่อปี 2522 โดยเรียกรถดัดแปลงรุ่นนี้ว่า “ดับเบิ้ล แค็บ”จากการเปิดเผยของ คุณสมพงษ์ เผอิญโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ดี การที่บริษัท ไทยรุ่ง ฯ จะเป็นแค่ผู้รับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ อย่างเดียว ก็จะไม่สามารถสร้างมูลค่าและยอดขายให้เติบโตไปมากกว่านี้ได้ ประกอบกับคู่แข่งธุรกิจนี้ก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้บริษัทต้องมีการปรับตัวไปสู่ยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่เป็นผู้รับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ อย่างเดียว เท่านั้น แต่เป็นการเปิดประตูแห่งโอกาสเข้าไปสู่การเป็นผู้ริเริ่มผลิตรถยนต์ดัดแปลง สเตชั่นวากอน เครื่องยนต์อีซูซุ  ภายใต้เครื่องหมายการค้า TR ตั้งแต่ปี 2522

จนได้รับการยอมรับและความไว้วางใจจาก บริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้เป็นผู้ประกอบรถยนต์อเนกประสงค์ 7 ที่นั่งภายใต้ชื่อ TR Adventure ต่อมาปี 2543 โดยความร่วมมือจากบริษัท สยามนิสสัน จึงได้ประกอบรถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่งภายใต้ชื่อ TR Xciter และปี 2550 ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เชฟโรเล็ต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบรถยนต์อเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง ภายใต้ชื่อ TR Allroader

ทั้งหมดนี้ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค ส่งผลให้ตลาดมีอัตราการเติบโตขึ้น ค่ายรถยนต์แบรนด์ดังกล่าวก็มุ่งเป้าที่อยากผลิตเอง  จึงเป็นแนวทางที่บริษัท ไทยรุ่งฯ ต้องหันไปสู่การเป็นผู้ผลิตและประกอบรถอเนกประสงค์ เป็นของตนเอง ภายใต้แบรนด์ TRANSFORMER ซึ่งเป็นรถอเนกประสงค์ 7-11 ที่นั่ง ที่มีตัวรถมีโครงสร้างแข็งแกร่ง ทนทาน มีการออกแบบหน้าตาของตัวรถยนต์ที่แปลกใหม่ มีการฟังก์ชั่นการใช้สอยที่ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อเพื่อใช้เดินทางท่องเที่ยว รวมถึงลูกค้ากลุ่มราชการ หน่วยงานต่าง ๆ ที่ซื้อไปทำเป็นรถทหาร รถวิทยุ รถบัญชาการ และรถช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุต่าง ๆ  เช่น น้ำท่วม

นอกจากนี้ในแผนครึ่งปีหลังบริษัทได้นำ Base ของรถ Toyota Revo มาประกอบเป็นรถอเนกประสงค์ TR TRANSFORMER II  เพื่อจับกลุ่มลูกค้าทั่วไป ที่ต้องการรถที่มีฟังก์ชั่นการใช้สอยแบบเดียวกับTRANSFORMER มาใช้ขับในเมืองและสามารถขับไปท่องเที่ยวได้ด้วย โดยบริษัทได้มีการปรับเอกลักษณ์ของรถอเนกประสงค์ ดังกล่าว ให้เป็นลุคสปอร์ตให้เกิดความคล่องตัวในการใช้งาน ไม่ว่าจะการขึ้นลง การใช้งานในเมือง

สำหรับเรื่องของยอดขายรถอเนกประสงค์ แบรนด์  TRANSFORMER  ทุกรุ่นของบริษัทไทยรุ่ง ฯ คุณสมพงษ์ กล่าวว่า สิ้นปี 2565 นี้ คาดว่าจะสามารถจำหน่ายได้ 250 คัน โดยแบ่งเป็นตลาดส่งออก ไปยังประเทศ มาเลเซีย, บังคลาเทศ และตลาดในประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 50:50 เท่ากับ

ขณะดียวกัน บริษัทก็มีแผนจะออกรถอเนกประสงค์ แบรนด์ TRANSFORMER ที่เป็นรถหุ้มเกราะ ที่สามารถป้องกันแนวกระสุนที่ยิงเข้ามาได้ 100% ตัวรถมีน้ำหนักเบาลงกว่าเดิม 100 กิโลกรัม เป็นรถหุ้มเกราะที่บริษัทจะจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นหน่วยราชการทหาร เท่านั้น เรียกได้ว่าที่ผ่านมา บริษัทก็มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจไปสู่การต่อยอดพัฒนาออกยนต์กรรมใหม่ ๆ เพื่อให้บริษัทสามารถสร้างรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ไม่เพียงแค่นี้บริษัทยังได้ดำเนินการไปสู่การประกอบรถมินิ บัส EV หรือ EV-minibus เพื่อมาทดแทนการใช้งานของรถตู้โดยสารที่รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะปรับรถตู้โดยสารทั้งหมด มาใช้เป็น รถมินิ บัส EV แทน คาดว่าปลายปี 2565 จะสามารถเปิดตัวรถมินิ บัส EV ดังกล่าวได้ ถือเป็นการขยายงานของบริษัทไปสู่การรับจ้างประกอบยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ไม่ได้มีแต่ EV-minibus เท่านั้น แต่มี ,EV-Tuktuk ด้วย โดย EV-Tuktuk  ปัจจุบันมีออเดอร์อยู่ที่ 700 คัน สิ้นปี 2565 นี้ จะเพิ่มขึ้น เป็น 1,000 คัน

นอกจากนี้ในส่วนของธุรกิจด้านการผู้รับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทก็มีขยายธุรกิจด้านนี้ไปสู่การผู้รับผลิตชิ้นส่วนให้กับรถขุดตัก, รถมอเตอร์ไซค์, รถ Big Bike ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่ บริษัทฯ ก็ยังคงเน้นรายได้จากงานผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, งานรับจ้างประกอบ อยู่ที่ 50 % , งานพ่นสีรถยนต์ การขยายตลาดชิ้นส่วนและตัวถังรถยนต์ไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก  35 % และ การผลิตขายรถยนต์แบรนด์ TRANSFORMER  คิดเป็น 7-8 %

ส่วนในเรื่องของผลประกอบการทั้งหมดบริษัท ไทยรุ่งฯ คุณสมพงษ์ กล่าวว่า ปี 2565 น่าจะเป็นปีที่ดีฟื้นตัวขึ้น หลังจากเจอสถานการณ์โควิด 19 ที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ , การท่องเที่ยว, ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยผลประกอบการบริษัทในปี 2565 คาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่บริษัทมีรายได้ 2,019.31 ล้านบาท

Facebook Comments


Social sharing

Related post