Digiqole ad

ไทยรุกหนัก ปั้นมาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน กิจกรรมพิเศษ (Special Event Venue) ชูศักยภาพไมซ์อาเซียนฝ่าวิกฤติโควิด

 ไทยรุกหนัก ปั้นมาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน กิจกรรมพิเศษ  (Special Event Venue) ชูศักยภาพไมซ์อาเซียนฝ่าวิกฤติโควิด
Social sharing
Digiqole ad

เมื่อวันที่ 21-22 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เป็นเจ้าภาพจัด การประชุมมาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน ASEAN MICE Venue Standard หรือ AMVS ครั้งที่ 9 ประเภทสถานที่จัดงานกิจกรรมพิเศษ (Special Event Venue) ซึ่งเหมาะสำหรับสถานที่ที่เป็น Unconventional Venue ที่สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่เป็นที่จัดงานอีเวนต์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าในยุค NEXT Normal อาทิ พิพิธภัณฑ์ (Museum) สวนสาธารณะ (Park) ศูนย์เอนกประสงค์ ศาลาว่าการ หอประชุม หอศิลป์ เป็นต้น

นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ ทีเส็บ (TCEB) เป็นประธานการประชุม วาระสำคัญของการจัดประชุม AMVS ครั้งนี้ว่าด้วยการพิจารณาหลักเกณฑ์มาตรฐานสถานที่จัดงานฯ ครอบคลุมทุกองค์ประกอบ ทั้งด้านกายภาพ (Physical) เทคโนโลยี (Technology) การบริการ (Services) ความปลอดภัย (Safety) สุขอนามัย (Hygiene) และการจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainability) โดยตั้งเป้าผลักดันให้อาเซียนยกระดับสถานที่จัดงานกว่า500 แห่ง มีใบรับรองมาตรฐานชัดเจนและเป็นจุดหมายปลายทางหรือ hub การจัดงานไมซ์ปลอดภัยไร้โควิดเป็นที่ยอมรับในระดับโลก

ในขณะที่สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ยังดำเนินอยู่ รองผู้อำนวยการฯ ทีเส็บ ได้ปลุกขวัญกำลังใจไมซ์อาเซียนให้มองถึงประเด็น ท่ามกลางวิกฤติก็มีโอกาสดีอยู่เสมอแม้ว่าวิกฤติโรคระบาดทำให้กิจกรรมไมซ์ต่าง รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวภายในอาเซียนหยุดชะงัก แต่ถือเป็นโอกาสให้ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้ฟื้นฟูอีกครั้ง และเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไมซ์อาเซียนในการเตรียมพร้อมมุ่งสู่อนาคตในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการยกระดับคุณภาพบุคลากร UpSkill – ReSkill หรือยกระดับมาตรฐานสถานที่การจัดงาน การเพิ่มทักษะการบริหารเน้นคุณภาพประสิทธิภาพด้วยสูตรสำเร็จ 2HY ที่มีหัวใจสำคัญ 2 ประการ สุขอนามัย(Hygiene) และการผสมผสานปฏิบัติการทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์(Hybrid) เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในอนาคตที่เข้าสู่สังคมดิจิทัลเต็มรูปแบบ

ทั้งนี้ประเทศกลุ่มอาเซียนได้ร่วมมือกันอย่างแข็งขัน มีการทบทวนกระบวนการความร่วมมือหลายด้านระหว่างเอกชนและภาครัฐ  และคาดว่าเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและไมซ์ สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อีกครั้งภายในปีพ.ศ. 2567 สถิติจากปี 2562 ตัวเลขนักเดินทางเชิงธุรกิจ (business travelers) ทั้งหมดรวมกว่า 30,885,994 คน แบ่งสัดส่วนเป็นนักเดินทางเชิงธุรกิจจากต่างประเทศ 1.27 ล้านคน (1,273,981 คน) และนักธุรกิจชาวไทยกว่า 29 ล้านคน (29,612,013 คน) มูลค่ารวมของอุตสาหกรรมไมซ์ที่ไทยได้รับสูงสุดอยู่ที่ 212,837 ล้านบาท ตัวเลขนักเดินทางเชิงธุรกิจจากต่างประเทศมีสัดส่วนที่น้อยลงจากสถานการณ์โรคโควิด-19 แพร่ระบาดทั่วโลก วัคซีนซึ่งเป็นคำตอบเดียวที่มีอยู่ในขณะนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสู้วิกฤติและเป็นความหวังสำคัญสำหรับการฟื้นตัวของภาคธุรกิจไมซ์ โดยทางทีเส็บได้แสดงท่าทีชัดเจนในการหนุนให้มีการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน ๆ ไม่จำกัดเฉพาะอาเซียนแต่ควรกระจายไปทุกภูมิภาคของโลก

นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ ทีเส็บ (TCEB) ให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า เพราะการกระจายวัคซีนที่จะต่อสู้กับโรคระบาดไปทั่วโลกมีความหมายอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวของผู้ประกอบกิจการไมซ์ให้สามารถกลับมาดำเนินกิจการต่าง ได้อย่างครอบคลุมทุกภาคส่วนอีกครั้ง สำหรับประเทศไทยหลังผ่านพ้นโควิด-19 คาดการณ์ว่า 5 อุตสาหกรรมหลักที่จะเติบโตมากขึ้น คือ อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมการศึกษา โดยเฉพาะเทคโนโลยีการศึกษา อุตสาหกรรมด้านอีคอมเมิร์ซควบรวมถึงโลจิสติกส์หรือการจัดส่ง   อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 5G รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (A.I) และธุรกิจที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และบล็อกเชน (Block Chain)

นางอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ ทีเส็บ ในฐานะตัวแทนประเทศไทย กล่าวถึงสาระสำคัญของการจัดมาตรฐานสถานที่จัดงานไมซ์ที่ไทยเป็นต้นแบบให้กับอาเซียนตั้งแต่ปี 2556และผลในทางปฏิบัติจากการประชุมในที่ประชุม AMVS ครั้งที่ 9 นี้ว่ามาตรฐานสถานที่การจัดงานประเทศไทย (Thailand MICE Venue Standard – TMVS) เป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนามาตรฐานเป็นต้นแบบให้กับอาเซียนเมื่อปี 2556 จนปัจจุบันยกระดับสู่มาตรฐานสถานที่การจัดงานอาเซียน (ASEAN MICE Venue Standard – AMVS) มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ 1. ประเภทห้องประชุม (Meeting Room) 2. ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า (Exhibition Venue) และ 3. ประเภทสถานที่จัดงานกิจกรรมพิเศษ (Special Event Venue) ซึ่ง 2 ประเภทแรก ได้ผ่านการรับรองจากคณะผู้นำอาเซียนด้านการท่องเที่ยว (National Tourism Organizations: NTOs) แล้ว

ส่วนการรับรองประเภทสถานที่จัดงานกิจกรรมพิเศษนั้น จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากผลการประชุมสรุปเกณฑ์มาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียนในประเภทสถานที่จัดงานพิเศษหรือ Special Event Venue ครั้งล่าสุดนี้ นำไปสู่กระบวนการอีก 3 ขั้นตอน คือ นำเสนอคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ASEAN Tourism Committee Meeting (ATCM) ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 นำเสนอคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (NTOs meeting) และคณะรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Ministers Meeting) ในต้นปี 2022 ณ ประเทศกัมพูชา ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ ทีเส็บ กล่าว

ปัจจุบันทางประเทศไทยได้เร่งจัดทำ คู่มือสำหรับการตรวจประเมินสถานที่จัดงานกิจกรรมพิเศษ (Special Event Venue) ที่มีหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติชัดเจน ในกระบวนการขอการตรวจประเมินและขั้นตอนการรับรองมาตรฐานสถานที่จัดงาน เพื่อนำไปสู่การออกใบรับรองมาตรฐานของสถานที่จัดงานไมซ์อาเซียน  (AMVS Certification) โดยเนื้อหาในคู่มือฯ มีรายละเอียดที่ครอบคลุมและรัดกุมตามข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ตั้งแต่หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบมาตรฐาน กระบวนการในการตรวจสอบมาตรฐาน (assessment process) บทบาทของหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการจัดทำมาตรฐานสถานที่จัดงานไมซ์อาเซียน (AMVS) รายชื่อผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและดำเนินงานในขั้นตอนการตรวจสอบและออกใบรับรองมาตรฐาน AMVS Certification รวมถึงผลประโยชน์ทีทางผู้ประกอบการไมซ์ในอาเซียน จะได้รับจากการเข้าร่วมในกระบวนการตรวจสอบและมีใบรับรองมาตรฐานของสถานที่จัดงานไมซ์อาเซียนดังกล่าวด้วย

นางอรชร กล่าวถึงความสำคัญของ AMVS Certification ว่า ใบรับรองมาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน (AMVS Certification) เป็นการสร้างความเชื่อมั่น ด้านการบริหารการจัดการ การบริการ ด้านความปลอดภัย และสุขอนามัยได้อย่างมีมาตรฐาน อีกทั้งยังชูศักยภาพของผู้ประกอบไมซ์ในอาเซียน ดึงดูดภาคธุรกิจที่เป็นคู่ค้าจากทั่วโลกมากขึ้น ตามแผนงานจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวของประชาคมอาเซียนปี 2016 – 2025 ที่มุ่งนำเสนอประสบการณ์หลากหลายประสบการณ์พิเศษของการท่องเที่ยว ธุรกิจการบริการรวมถึงอุตสาหกรรมไมซ์ บนพื้นฐานความรับผิดชอบ พร้อมหนุนภาคเศรษฐกิจจากการเป็นผู้มีศักยภาพในการใช้จ่ายของกลุ่มนักธุรกิจ สร้างความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ไทยยังพร้อมเดินหน้าเป็นเจ้าภาพ จัดอบรมการพัฒนาผู้ตรวจประเมินในประเทศสมาชิกอาเซียนและเตรียมความพร้อมด้านเกณฑ์ในการอบรม (AMVS Auditor Training) โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นราวกลางปีพ.ศ. 2565 หลังจากได้รับการรับรอง (Adoption) จากคณะผู้นำอาเซียนด้านการท่องเที่ยว (National Tourism Organizations) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการสำคัญของการยกระดับมาตรฐานสถานที่จัดงานไมซ์อาเซียน

ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ และประธานการจัดประชุมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุม AMVS ครั้งที่ 9 นี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในขึ้นตอนต่อไปผ่านการรับรองจากคณะ ASEAN Tourism Committee Meeting (ATCM) และผ่านการรับรองเกณฑ์มาตรฐานในการประชุมผู้นำอาเซียนด้านการท่องเที่ยว (National Tourism Organizations) NTOs meeting และคณะรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Ministers Meeting) ในต้นปี 2022 หรือปี พ.ศ. 2565 ในระหว่างงาน ASEAN Tourism Forum (ATF 2022) ซึ่งจะสามารถช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคการโรงแรม ภาคการบริการ การท่องเที่ยวและกิจการในเครือข่ายไมซ์อาเซียน (ASEAN MICE) สามารถก้าวต่อไปสู่ NEXT NORMAL ไม่ว่าสถานการณ์ในอนาคตจะเป็นเช่นไรนางศุภวรรณ  ประธานการประชุม กล่าวทิ้งท้าย

Facebook Comments

Related post