Digiqole ad

โครงการปิ๊งส์ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ

 โครงการปิ๊งส์ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Social sharing

Digiqole ad

สสส. เผย DOMESTIC + CITY UNIT ผลงานโจทย์ Creative Playground : พื้นที่สุขภาพนิยม คว้าถ้วยรางวัลพระราชทานฯ ในโครงการDesign Hero : ดีไซน์ดีมีแต่ได้

โครงการ Design Hero Design Action Hero : ดีไซน์ดีมีแต่ได้ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ art4d จัดพิธีประกาศผลและมอบถ้วยรางวัลพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประกวดไอเดียธุรกิจ start up ภายใต้โจทย์ทั้ง 4 คือ creative playground, green business, technotopia และ soft power


โดย ดร.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการ Design Hero Design Action Hero : ดีไซน์ดีมีแต่ได้ ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี วัตถุประสงค์สำคัญคือการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ให้ความรู้และมีทักษะในการออกแบบการสื่อสารสุขภาวะ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีเยาวชนเข้าร่วมโครงการหลายคนเข้าสู่วงการการออกแบบสร้างสรรค์สื่อและมีผลงานเป็นที่ยอมรับ สำหรับในปีนี้แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และart4d มีความต้องการที่จะผลักดันให้โครงการก้าวสู่ขั้นตอนไป จึงมีแนวคิดผลักดันให้ผลงานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมเหล่านั้นถูกนำไปผลิตเพื่อต่อยอดหรือขยายผลในเชิงธุรกิจ รวมไปถึงการนำไปใช้รณรงค์ในสังคมวงกว้าง มุ่งเน้นที่การผลักดันและสร้างโอกาสให้ผลงานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมดังกล่าวได้ถูกนำไปสู่ “การประกอบการ” หรือ “ปฏิบัติการ” ได้จริง ทั้งยังจัดให้มีการพบปะกันระหว่างผู้สร้างนวัตกรรมหรือผลงานสร้างสรรค์กับองค์กรต่างๆ ในภาคธุรกิจ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสในการเผยแพร่ผลงานและเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนจากภาคธุรกิจ นำไปสู่การต่อยอดและขยายผลในเชิงธุรกิจ สร้างให้เกิดการประกอบการในรูปแบบของธุรกิจใหม่ๆ ที่มีส่วนช่วยรณรงค์หรือป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและเสริมสร้างค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้กับสังคมในวงกว้าง ภายใต้โจทย์ 1. Creative Playground : พื้นที่สุขภาพนิยม 2. Thailand’s Soft Power Remake : เวอร์ชั่นใหม่ของวัฒนธรรมไทย 3. Technotopia : เมืองแห่งเทคโนโลยี และ 4. Green SME– Design for community : ธุรกิจรักษ์โลก


“และตลอดระยะโครงการที่ผ่านมามีเยาวชนที่มีผลงานโดดเด่นและมีโอกาสได้นำเสนอโมเดลธุรกิจต่อผู้ประกอบการและวิทยากรโครงการ อาทิ คุณหนุ่ย ดร.ศิริกุล เลากัยกุล : CEO แห่งบริษัท แบรนด์บีอิ้ง, , คุณไวน์ ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล : CEO FireOneOne Business Innovation & Transformation , คุณแอร์ อรศิริ ประวัติยากูร : Head of Content แห่ง Tencent (Thailand) , คุณประธาน ธีระธาดา บรรณาธิการที่ปรึกษา art4d ทั้งสิ้นจำนวน 8 ทีม และจากการนำเสนอโมเดลธุรกิจทางคณะกรรมการโครงการมีมติเห็นตรงกันว่า
ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และคว้าถ้วยรางวัลพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนต่อยอดกิจกรรมมูลค่า 30,000 บาท และเกียรติบัตรไปครองได้คือผลงานภายใต้โจทย์ Creative Playground : พื้นที่สุขภาพนิยม คือทีม DOMESTIC + CITY UNIT

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 รับทุนต่อยอดกิจกรรมมูลค่า 20,000 บาท และเกียรติบัตร เป็นผลงานภายใต้โจทย์ Creative Playground : พื้นที่สุขภาพนิยม คือทีม HATYAI CONNEXT
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 รับทุนต่อยอดกิจกรรมมูลค่า 10,000 บาท และเกียรติบัตร เป็นผลงานภายใต้โจทย์ Green SME– Design for community : ธุรกิจรักษ์โลก คือทีม GLISTEN
รางวัลชมเชย รับทุนต่อยอดกิจกรรมมูลค่า 5,000 บาท และเกียรติบัตร เป็นผลงานภายใต้โจทย์ Thailand’s Soft Power Remake : เวอร์ชั่นใหม่ของวัฒนธรรมไทย คือทีม GACHA THANI
รางวัลดาวรุ่งดีเด่น รับทุนต่อยอดกิจกรรมมูลค่า 5,000 บาท และเกียรติบัตร เป็นผลงานภายใต้โจทย์ Green SME– Design for community : ธุรกิจรักษ์โลก คือทีม BIO-CASE
รางวัล Popular Vote รับเกียรติบัตร เป็นผลงานภายใต้โจทย์ Green SME– Design for community : ธุรกิจรักษ์โลก คือทีม GLISTEN
นอกจากนี้ ดร.ดนัย หวังบุญชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการต่อยอดผลงานเพิ่มเติมแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ได้มีการมอบทุนสนับสนุนให้กับทีมDOMESTIC + CITY UNIT และทีมHATYAI CONNEXT ด้วยเพื่อต่อยอดผลงานภายในงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 | ISANCF2023 ในกิจกรรม “ตื่มศิลป์ตื่มสุข” ระหว่างวันที่ 1-9 เมษายน 2566 ด้วยเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้นำความคิดสร้างสรรค์นั้นไปต่อยอดเป็นธุรกิจ start up สู่การเป็นผู้ประกอบการหรือเกิดผลงานปฏิบัติการจริงเพิ่มเติม ซึ่ง สสส. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าธุรกิจที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นอยากก้าวเข้ามาทำงานเป็นกลุ่มต่อๆ ไป ประกอบกับเกิดเป็นหลักสูตร และมีที่ปรึกษา เกิดเป็นการทำงานต่อเนื่องในระยะยาวต่อไปได้ ติดตามรายละเอียดผลงานที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ได้ที่เว็บไซด์www.artculture4health.com, และที่แฟนเพจ www.facebook.com/artculture4h

Facebook Comments


Social sharing

Related post