Digiqole ad

แพทย์แนะวิธีรับมือเมื่อ COVID-19 รบกวนชีวิตผู้ป่วย “เบาหวาน”

 แพทย์แนะวิธีรับมือเมื่อ COVID-19 รบกวนชีวิตผู้ป่วย “เบาหวาน”

Couple senior Asian elder happy living in home kitchen. Grandfather cooking salad dish with grandmother with happiness and smile enjoy retirement life together. Older people relationship and lifestyle

Social sharing

Digiqole ad

COVID- 19เป็นอุปสรรคที่รบกวนชีวิตทุกคนมาอย่างยาวนาน แต่กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานก็เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบแทบจะมากที่สุดในหลายมิติและหลายช่วงเวลาไม่ว่าจะติดแล้ว ยังไม่ติด หรือติดจนหายไปแล้วก็ตามวันนี้แพทย์หญิงธนพร พุทธานุภาพ จากศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก โรงพยาบาลวิมุต มีคำตอบให้กับคำถามที่ว่า COVID-19 รบกวนชีวิตผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร ผู้ป่วยและญาติเองจะสามารถรับมือได้อย่างไรได้บ้าง

ไม่ได้เสี่ยงมากกว่า แต่ถ้าติดCOVID-19 ขึ้นมาจะรุนแรง
“ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าผู้ป่วยเบาหวานจะติดโควิดง่ายกว่า โดยทั่วไปแล้วอัตราการติดโควิดก็ใกล้เคียงกับคนทั่วไปค่ะ แต่ที่จัดเป็นโรคกลุ่มเสี่ยงเพราะว่าถ้าติดเชื้อไปแล้วผู้ป่วยเบาหวานมีสิทธิ์จะอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่คุมเบาหวานได้ไม่ดี น้ำตาลในเลือดสูงและบางคนมีโรคแทรกซ้อนหรือโรคร่วมอื่นๆอยู่ด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคไตเสื่อมเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยเบาหวานก็มักจะเป็นผู้สูงวัยหรือกลุ่มที่น้ำหนักเกินอยู่แล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงมากขึ้นค่ะ”

น้ำตาลยิ่งมาก ภูมิต้านทานยิ่งน้อย การอักเสบในร่างกายยิ่งสูง

“ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภูมิคุ้มกันร่างกายที่ใช้ในการกำจัดเซลล์ไวรัสจะยิ่งน้อยลง เมื่อร่างกายจัดการกับไวรัสได้ไม่ดี ก็มีโอกาสที่โควิดจะมีอาการรุนแรงหรือไปที่ปอดได้มากขึ้นร่วมกับเวลาติดโควิดร่างกายเราจะเกิดการอักเสบในหลายๆตำแหน่ง เช่น ปอด กล้ามเนื้อหัวใจ เส้นเลือดต่างๆ ซึ่งการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้การอักเสบตรงนี้เพิ่มขึ้นได้เวลาร่างกายมีการอักเสบเยอะ น้ำตาลก็จะยิ่งสูงแล้วพอน้ำตาลยิ่งสูง การอักเสบก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเบาหวานหรือคนที่มีความเสี่ยงเบาหวานมีโอกาสเป็นโควิดแบบรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป

ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากดูแลเว้นระยะห่าง ล้างมือ หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนแล้ว หมอแนะนำให้ควบคุมโรคให้ดีค่ะ แนะนำให้น้ำตาลตอนเช้าก่อนมื้ออาหารควรไม่เกิน 130mg/dLหลังกินอาหาร2  ชม. แล้วน้ำตาลควรไม่เกิน 180 mg/dL ถ้าเจาะน้ำตาลสะสมไม่ควรเกิน 7%ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นเป้าหมายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทั่วไปอยู่แล้วค่ะ ถ้าทำได้ก็จะช่วยป้องกันการเป็นโควิดแบบรุนแรงได้ระดับนึงเลยค่ะ”

Japanese couple eating healthy food.

การจัดการเมื่อผู้ป่วยเบาหวานติด COVID-19

“ถ้าป่วยด้วยโควิดแล้วอาการหนักต้องนอนโรงพยาบาล หมอมักจะให้ยาชนิดฉีดแทน แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยเบาหวานติด COVID-19 แล้วต้องทำ Home Isolation เบื้องต้นสามารถดูแลตัวเองแบบคนอื่นๆ ได้ ทานยารักษา COVID-19ตามที่แพทย์สั่ง แนะนำให้เตรียมยาโรคประจำตัวให้เพียงพอ ในส่วนของยาเบาหวาน หากเป็นยาฉีดสามารถฉีดต่อได้ส่วนยารับประทาน บางตัวสามารถกินต่อได้บางตัวต้องหยุด  ตรงนี้แนะนำให้ปรึกษาหมอที่ดูแลอีกทีค่ะว่าตัวไหนยังสามารถทานต่อได้

อีกอย่างที่ต้องระวังก็คือถ้าป่วยเป็น COVID-19 ต้องระวังทั้งน้ำตาลสูงและน้ำตาลต่ำผิดปกติค่ะผู้ป่วยอาจจะดื่มน้ำได้น้อยบวกกับการติดเชื้อทำให้น้ำตาลสูงขึ้นกว่าปกติและทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากน้ำตาลสูงในเบาหวานได้และผู้ป่วยบางรายที่กินอาหารได้น้อย อาจมีภาวะน้ำตาลต่ำได้  ดังนั้นควรดื่มน้ำให้มากๆ ลิตรครึ่งถึงสองลิตรต่อวัน ถ้าปัสสาวะออกปกติพยายามทานอาหารให้ครบสามมื้อ โดยเลือกเป็นอาหารที่ไม่หวาน ควบคุมปริมาณข้าวแป้งในแต่ละมื้อ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและของหวานแต่ควรมีน้ำหวานหรือลูกอมติดบ้านไว้รับประทานเมื่อมีน้ำตาลต่ำ

แนะนำให้หาเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วติดไว้ที่บ้านนะคะ สำหรับไว้เจาะน้ำตาลดู เพราะตอนนี้การไปรพ.ทำได้ยาก  ในช่วงที่ป่วยแนะนำเช็กน้ำตาลปลายนิ้วอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ถ้ามีอาการผิดปกติค่ะ

นอกจากคุมเบาหวาน ยังต้องสังเกตการณ์โรคแทรกซ้อน

“อย่างที่บอกค่ะ ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโควิด อาจมีปัญหาน้ำตาลสูงผิดปกติหรือน้ำตาลต่ำได้ค่ะ ดังนั้นควรจะสังเกตอาการไว้ด้วยค่ะ อาการเวลาน้ำตาลสูงมากๆ เช่น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดผิดปกติอ่อนเพลียมาก หอบเหนื่อย คลื่นไส้อาเจียนหากมีอาการให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ  และเจาะน้ำตาลปลายนิ้วดู ถ้ามากกว่า 300 mg/dL แนะนำปรึกษาแพทย์หรือไปรพ.

ส่วนน้ำตาลต่ำให้สังเกตอาการ เช่นหวิว หิว  ใจสั่น เหงื่อออก พูดคุยไม่รู้เรื่อง หรือหมดสติ และเจาะน้ำตาลปลายนิ้วดูค่ะ ถ้าค่าน้อยกว่า 80 mg/dL ให้รีบทานอาหารหรือน้ำหวานจนกว่าอาการจะดีขึ้นค่ะ แต่ถ้าไม่มีที่เจาะน้ำตาล ถ้าอาการไม่รุนแรงให้รับประทานอาหารหรือน้ำหวาน แล้วสังเกตอาการ  ถ้าหมดสติควรรีบพาไปรพ.

นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ควรสังเกตเช่นกัน  พวกอาการทางหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก อาการทางตับ เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง เบื่ออาหาร เพราะเราต้องทานยาหลายชนิดร่วมกัน ต้องคอยระวังไว้ด้วยค่ะ”

Senior Asian couple using a laptop while cooking in kitchen at home. 70s Elderly man and woman in relationship retirement lifestyle concept

ยารักษาโควิด สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน…เหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน

“จริงๆ การรักษาหลักเหมือนกันค่ะ ก็คือเป็นยาต้านไวรัส และถ้าคนไข้มีอาการติดเชื้อเยอะก็จะได้รับยาลดการอักเสบที่เป็นยากดภูมิกลุ่มสเตียรอยด์ที่ช่วยลดการอักเสบซึ่งยาอาจจะทำให้น้ำตาลสูงขึ้นได้ ในบางเคส แพทย์อาจจะต้องปรับยาเบาหวานเพิ่มขึ้น หรือมีการปรับใช้เป็นยาฉีดอินซูลินชั่วคราวได้ค่ะ  อย่างที่ได้บอกไปหาก Home isolation แนะนำหาเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วไว้เพื่อดูระดับน้ำตาลใกล้ชิด”

“ส่วนสมุนไพรต่างๆ ที่นิยมกินแก้โควิด อาจต้องระวังอย่ารับประทานมากเกินไป เพราะว่าบางชนิดมีผลต่อตับ โดยเฉพาะถ้ามียาที่รับประทานประจำค่อนข้างเยอะ ต้องระวังว่าการกินสมุนไพรบางชนิดอาจจะไปลดหรือเพิ่มการออกฤทธิ์ของยาบางตัวได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ค่ะ”

Telemedicine ตัวช่วยไม่ให้ขาดยาช่วงเบาหวาน

“ไม่ควรขาดยาเลยค่ะควรเตรียมยาให้เพียงพออย่างน้อย1-3 เดือน หรือตามความสะดวกในการเดินทางไปรพ.ของแต่ละคนค่ะ ถ้ายาหมดต้องพยายามหาที่รับยา เช่น ผ่านทางTelemedicineหรือบางรพ.มีบริการส่งยาทางไปรษณีย์ปัจจุบันก็มีการใช้มากขึ้นค่ะ  ในกรณีน้ำตาลไม่ดี ปกติหมอมักจะนัดบ่อย ในช่วงนี้อาจปรึกษาแพทย์ขอยาล่วงหน้าจากแพทย์ไปเลย 3-6  เดือน และพูดคุยปรับยากับแพทย์ทาง Telemedicine แทน อย่างนี้ก็สามารถทำได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละรพ.ด้วยถ้าผู้ป่วยมีเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วก็จะสะดวกมากขึ้นค่ะแต่ถ้าคนไข้สะดวกจะมาปรึกษาหมอที่โรงพยาบาลก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะอย่าลืมเตรียมผลน้ำตาล ผลเลือดต่างๆก่อนหน้านี้ ถ้ามี รวมถึงเตรียมยาเดิมที่รับประทาน ทั้งชื่อยาและขนาดยามาด้วยค่ะ”

Hydration, water drinking concept. Closeup of unrecognizable grandmother pouring water into glass, kitchen interior. Cropped of old lady holding glass and jar with spring water

สุดท้าย กันไว้ยังไงก็ดีกว่าแก้

“ถึงแม้การคุมน้ำตาลให้ดีจะลดความรุนแรงของโควิดได้ แต่ถ้าไม่ติดก็จะดีที่สุดค่ะ ดังนั้นต้องอย่าลืม ป้องกันตัวเองให้ดี ใส่หน้ากาก ล้างมือด้วยสบู่หรือเจอแอลกอฮอล์ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน แนะนำให้ทุกคนไปรับวัคซีนโควิดเพราะวัคซีนสามารถช่วยลดการติดและอาการที่จะรุนแรงได้ค่ะ นอกจากนี้อาจดูแลสุขภาพตัวเองง่ายๆ เริ่มต้นจากการอยู่บ้าน ดูแลเรื่องอาหาร ลองปรุงอาหารเอง จะได้คุมทั้งคุณภาพของอาหารให้ครบหมวดหมู่ และยังควบคุมน้ำตาลด้วย เลือกรับประทานข้าวกล้องข้าวไม่ขัดสีหรือขนมปังโฮลวีต ทานข้าวมื้อละประมาณทัพพี หรือทัพพีครึ่ง ระวังอย่ารับประทานจุกจิก ในกรณีสำหรับคนทำงาน ต้อง work from homeถ้าต้องนั่งทำงานที่บ้านนานๆ ระหว่างวัน แนะนำให้ตั้งเวลาเพื่อให้ตัวเองลุกขึ้นมาเดิน ทุกๆ 1-2ชั่วโมง เดินวนภายในบริเวณบ้านเราเองหรือจะเลือกออกกำลังกายตามคลิปที่กำลังเป็นที่นิยมกันก็ได้ ปรับได้ตามความชอบได้เลยค่ะ”

“หากท่านสังเกตตัวเองว่าเริ่มมีอาการผิดปกติเช่น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด หรือมีอาการที่กังวลว่าจะเป็นเบาหวาน โรงพยาบาลวิมุต พร้อมให้คำปรึกษา และดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เฉพาะทางด้านเบาหวานที่พร้อมให้คำแนะนำเรื่องเบาหวานทั้งกับผู้ที่มีความเสี่ยงเบาหวานและผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแล้ว ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมีการติดตามดูแลการรักษาอย่างต่อเนื่องร่วมกับทีมบุลคลากรที่มีประสบการณ์หลายสาขาวิชาชีพ การใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการให้บริการตรวจภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่ครบวงจรทั้งเทคโนโลยีการตรวจตาด้วยการถ่ายภาพจอประสาทตา(FundusCamera)การตรวจเส้นเลือดเลี้ยงปลายเท้าด้วยเครื่องมือเฉพาะ การตรวจความรู้สึกของเท้า การรักษาแผลที่เท้าด้วยเครื่อง hyperbaric chamberพร้อมทั้งบริการสปาเท้าดูแลทำความสะอาดเท้าและยังมีบริการด้านการดูแลอาหารของผู้ป่วยเบาหวานโดยนักกำหนดอาหารที่ได้รับการรับรอง มีทีมนักกายภาพ(Wellness Trainer)ให้คำแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคล”

high angle view asian chinese woman’s hand on mobile app covid 19 mobile app tracker on latest update and check in status during breakfast time

ติดต่อสอบถามและปรึกษาปัญหาสุขภาพได้ที่ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก ชั้น 9 โรงพยาบาลวิมุต โทร 02-079-0070 เวลาทำการ 07.00 – 19.00  น.Call Center โทร. 02 079 0000 หรือติดต่อสอบถามผ่าน Line OA: Vimut Hospital

ด้วยความปรารถนาดี จากโรงพยาบาลวิมุต อีกระดับของการรักษาด้วยความใส่ใจ

Facebook Comments


Social sharing

Related post