Digiqole ad

เมื่อ “ตำรวจ” กลายเป็นผู้ต้องหาเสียเอง

 เมื่อ “ตำรวจ” กลายเป็นผู้ต้องหาเสียเอง
Social sharing

Digiqole ad

สืบเนื่องจากการเผยแพร่คลิปวิดิโอที่ผู้กำกับโจ้ หรือ พ.ต.อ. ธิติสรรค์ อุทธนผล กับพวกอีก 7 คน ที่มีการเรียกเงินจากผู้ต้องหาคดียาเสพติดเป็นเงินจำนวน 2 ล้านบาท ซึ่งผู้ต้องหายินดีจ่ายเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้ผู้กำกับโจ้ได้นำถุงดำมาคลุมหัวผู้ต้องหาจนทำให้ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตในเวลาต่อมา และคลิปดังกล่าวกลายเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

กฎหมายที่ประชาชนคาดการณ์

ภายหลังที่คลิปดังกล่าวกระจายไปทั่วทำให้เกิดการตั้งข้อสงสัยของประชาชนว่า ผู้กำกับโจ้นั้นจะโดนดำเนินคดีในข้อหาใดบ้าง ซึ่งส่วนมากประชาชนจะคิดว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (5) ผู้ใดฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายต้องระวางโทษประหารชีวิต และมาตรา289 เป็นเหตุฉกรรจ์(บทหนัก) ของมาตรา 288 ในเรื่องความผิดต่อชีวิต ที่อยู่ในลักษณะที่10 ของประมวลกฎหมายอาญาภาคความผิด

ข้อกล่าวหาเบื้องต้น

ซึ่งหลังจากที่เป็นข้อสงสัยมาสักระยะนึงก็ได้มีการเปิดเผยข้อกล่าวหาเบื้องต้นอย่างเป็นทางการ โดย  รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ. สุชาติ ธีระสวัสดิ์ ระบุว่า เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนได้รวบรวมหลักฐาน รวมไปถึงพฤติการณ์ก่อนและหลังเกิดเหตุได้จำนวนมาก พบว่ากระทำความผิดจริงใน 3 ข้อหา ประกอบด้วย

  1. เป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
  2. ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด
  3. ร่วมกันฆ่าผู้อื่น ทรมาน โดยกระทำทารุณโหดร้าย

โดย รอง ผบ.ตร. เปิดเผยอีกว่า “หากผลการสืบสวนพบว่ามีการกระทำความผิดอย่างอื่นเพิ่มเติม พนักงานก็จะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม และพบมีผู้กระทำความผิด 7 คน ในส่วนของการดำเนินคดี ตร. ดำเนินการไปตามตัวบทกฎหมาย ไม่ได้มีการละเว้นหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด”

ภายหลังจากสืบสวนเพิ่มเติม ได้มีการครอบครองรถหรู ทั้ง เฟอร์รารี่ ลัมโบร์กินี รวมกว่า 328 คัน ที่คาดว่าได้มาจากการทุจริต อ้างว่ามีผู้เสียหายหลายรายเคยถูกผู้ต้องหาจับกุมคดียาเสพติดแล้วถูกรีดเอาทรัพย์เพื่อแลกกับการไม่ถูกดำเนินคดี  หากตรวจสอบและสืบสวนปรากฏว่ามีพฤติการณ์การกระทำเข้าข่ายเป็นความผิดอาญาและมีบุคคลอื่นร่วมกระทำความผิดด้วยให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และ ล่าสุดสืบพบอีกว่า พบพบผงยาบรรจุซอง ภายในห้องพักของ ผกก.โจ้ ที่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นชนิดใด จึงตรวจยึดของกลาง รวมถึงวัตถุพยานหลักฐานอื่นนำไปตรวจสอบ ภายหลัง ผกก.โจ้ อ้างว่า ป่วยรักษาไบโพลาร์

            ความเป็นธรรม

ด้านความกังวลของประชาชนถึงความเป็นธรรมในรูปคดี ทาง รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงษ์ ได้ให้ความเห็นถึงความเป็นธรรมทางนิติวิทยาศาสตร์ประเทศไทยว่า “ต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานของตำรวจยังขึ้นอยู่กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หมายความว่าเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานอยู่ภายใต้สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็เป็นไปได้ที่จะหมิ่นเหม่ต่อการที่จะถูกแทรกแซงการทำงานให้ความเห็น

“การปฎิรูปกระบวนการยุติธรรมมีประเด็นการปฏิรูปนิติวิทยาศาสตร์ที่ถูกพูดถึงด้วย ตามหลักสากลไม่ว่าจะองค์กรใดก็ตามต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุลก็จะทำให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบใช้อำนาจหน้าที่ที่มีด้วยความระมัดระวัง เช่นการเปลี่ยนความเร็วของคดีลูกเครื่องดื่มชูกำลัง คำถามตกลงจะแก้ปัญหานี้อย่างไร หลักๆคือต้องตรวจสอบได้ ต้องถ่วงดุลได้ ผู้ใต้บังคับบัญชารับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาที่ไม่ถูกต้อง ต้องมีช่องทางในการร้องเรียนเพื่อจะดำเนินการกับผู้บังคับบัญชารายนั้นแต่บ้านเราดูเหมือนจะยังไม่มีเป็นรูปธรรม”

            เหตุการณ์ที่คล้ายกันในอดีต

นายสมศักดิ์ เผยว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ลูกชายตนคือเหยื่อ ซึ่งตอนนั้นอายุ 18 ปี กำลังขี่รถกลับจากดูหนัง ระหว่างทางถูกตำรวจจราจรเรียกให้จอด ก่อนนำตัวไปโรงพักจากนั้นได้นำถุงพลาสติกสีดำมาครอบหัว พยายามทำร้ายร่างกายบีบบังคับให้รับสารภาพ ลูกชายจึงใช้ฟันกัดถุงพลาสติก เพื่อให้พอมีรูหายใจ แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่นำถุงดำมาครอบซ้ำอีก และถามว่า จะสารภาพไหม ขณะนั้นลูกชายจำใจยอมรับทั้งที่ไม่ได้ทำ จึงรอดชีวิตมาได้นายสมศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า แม้ลูกชายโชคดีที่มีชีวิตอยู่ แต่ก็ต้องอยู่กับอาการป่วยตลอดชีวิต เดิมทีลูกชายฝันอยากเป็นตำรวจ กลับกลายเป็นหวาดกลัวสถานีตำรวจ และบุคคลในเครื่องแบบเช่นเดียวกับทรัพย์สมบัติที่ครอบครัวเคยสะสมหลายล้านบาท เก็บออมเพื่อให้ลูกชายได้เรียนสูง ๆ ก็ต้องหมดไปกับการเรียกร้องความยุติธรรมตลอด 12 ปี ในทางกลับกันตำรวจชุดที่ลงมือก่อเหตุ ทุกวันนี้ยังคงเติบโตตามลำดับขั้นตอน

เรื่อง : นายธีรพงค์ จักขุเรือง และนางสาวดลพร เกียรติรุ่งวิไลกุล

นักศึกษาภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ภาพ : อินเทอร์เน็ต

Facebook Comments


Social sharing

Related post