Digiqole ad

เมียนมารัฐประหาร หลังบ้านจีน“ลุกเป็นไฟ”

 เมียนมารัฐประหาร  หลังบ้านจีน“ลุกเป็นไฟ”
Social sharing

Digiqole ad

ทหารเมียนมาได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลนางออง ซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาและได้กักตัวนางอองซานและพรรคพวกไว้ด้วยข้อหาต่างๆ สองสัปดาห์ที่ผ่านมากองทัพเมียนมาใช้กระสุนจริงเพื่อปราบปรามผู้ประท้วงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 380 คน  แนวโน้มนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์เช่นนี้เปรียบเสมือนไฟที่กําลังลุกโชนอยู่หลังบ้านประเทศจีน  และจีนตอนนี้ก็เหมือน “คนใบ้กินดีบัว” ที่พูดอะไรไม่ออกนอกจากต้องกล้ำกลืนความขมขื่นไว้

ผู้ประท้วงชาวเมียนมาได้รับข้อมูลผิดๆว่ากองทัพเมียนมาได้รับการสนับสนุนจากประเทศจีน และดูเหมือนมีการตั้งเป้าตั้งแต่แรกว่าจะมีการ เผาจีนด้วยป้ายประท้วงที่เดินอยู่กลางถนนว่าหากพลเรือนเสีย ชีวิต โรงงานจีน 1 แห่งจะกลายเป็นเถ้าถ่าน  ดังนั้นเมื่อกองทัพยิงคนตายแบบรายวันผู้ประท้วงจึงได้ออกมาเผาโรงงานที่นักลงทุนจีนไปลงทุนในประเทศเมียนมาในนิคมอุตสาหกรรมไลง์ตายา  โรงงานจีน 32 โรง ได้กลายเป็นเหยื่อการประท้วงซึ่งประเมินความเสียหายประมาณ 1,500 ล้านบาท และพนักงานคนจีนสองคนได้รับบาดเจ็บ ความโกรธนี้ยังทําให้บริษัทช้างแห่งไต้หวันก็โดนไปด้วย ดูเหมือนจะทําซ้ำแนวแบบการจลาจล 513″ ที่เกิดขึ้นในเวียดนามในปี2014 

ในความเป็นจริงนั้นก่อนการรัฐประหาร  รัฐบาลปักกิ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลพรรค NLD ของนางอองซาน ซูจี ขณะที่พล..อาวุโสมิน อ่อง ลาย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเมียนมา เกิดความระแวงระวังเริ่มไม่ไว้วางใจรัฐบาลปักกิ่ง แต่เหตุที่หลังการรัฐประหารแล้วรัฐบาลวอชิงตันกับโลกตะวันตกรุมประณามอย่างรุนแรงพร้อมคว่ำบาตรบรรดาผู้นำกองทัพ  แต่จีนวางท่าทีเป็นกลางเหมือนชาติอาเซียนและแสดงความหวังกับเมียนมาว่าจะจัดการปัญหาตามกลไกรัฐธรรมนูญของประเทศ  ก็เพราะไม่ต้องการให้ตะวันตกเข้ามาแทรกแซงการเมืองเมียนมาซึ่งอาจจะลามต่อภูมิภาคอาเซียน

ตามที่รู้กันประเทศจีนมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเชิงยุทธศาสตร์ในเมียนมาทั้งโครงการท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้จีนยังผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีนเมียนมา จึงทำให้ อเมริกาชาติตะวันตกและญี่ปุ่น อินเดียไม่ยินดีด้วย 

รัฐบาลภายใต้การนำของนางออง ซาน ซูจี แสดงท่าทีที่เป็นมิตรกับรัฐบาลจีน และเปิดกว้างให้มีการลงทุนจากจีนเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่กองทัพเมียนมากลับไม่วางใจในท่าทีของนักลงทุนจีนมากนัก เหตุผลหลักสำคัญคืออิทธิพลที่จีนมีต่อกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือของประเทศ รวมทั้งโครงการท่าเรือของจีนที่อาจมีผลต่ออำนาจอธิปไตยของเมียนมา จึงยังไม่แน่ชัดว่าท่าทีของกองทัพเมียนมาหลังจากรัฐประหารที่มีต่อประเทศจีนจะใกล้ชิดหรือห่างเหินจากนี้ต่อไป แต่จากการยึดอำนาจรัฐประหารครั้งนี้แน่นอนว่าเมียนมาก็ยังคงต้องการการสนับสนุนจากต่างชาติเพื่อให้คงอยู่ในอำนาจได้ ซึ่งจีนก็ส่งสัญญาณชัดเจนที่จะสนับสนุนให้กองทัพปกครองประเทศ

รัฐบาลจีนกับประเทศเมียนมาได้ร่วมกันสร้างการนำเข้าน้ำมันผ่านท่อส่งน้ำมันและก๊าซที่ทอดยาวตลอดประเทศเมียนมาระยะทางราว 790 กิโลเมตร เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2013 ขณะที่ในปี 2019 เพียงปีเดียวจีนสามารถนำเข้าน้ำมันดิบผ่านเส้นทางนี้มากกว่า 10.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นทวีคุณ ทั้งนี้ประเทศจีนจึงมีบทบาทสำคัญต่อประเทศเมียนมามาอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์อันดีตั้งแต่เมียนมายังเป็นพม่า” และอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหารอย่างไรก็ตามเมื่อนางอองซานซูจีที่ปรึกษาแห่งรัฐขึ้นดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองรัฐบาลจีนก็เดินหน้าร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับเธอเช่นกัน

เมียนมาได้เข้าร่วมแผนการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI) ของจีนอย่างเป็นทางการ นางอองซาน ซูจี ได้เข้าร่วมเวทีประชุมเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกรุงปักกิ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017

ทั้งสองประเทศได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับหนึ่งในเรื่องการร่วมมือกันสร้างระเบียงเศรษฐกิจจีนเมียนมา (China-Myanmar Economic Corridor หรือ CMEC) เมื่อปี 2018 ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือทวิภาคีภายในกรอบของ BRI อาทิ เส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมระหว่าง รุ่ยลี่ (Ruili) เมืองของจีนที่อยู่ติดชายแดนเมียนมา กับ เมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของเมียนมา และท่าเรือน้ำลึกซึ่งจีนให้เงินทุนสนับสนุนที่เมืองเจาะพยู(Kyaukpyu)ในอ่าวเบงกอล โดยที่นี่ยังทำหน้าที่เป็นสถานีต้นทางสำหรับท่อส่งน้ำมันและก๊าซซึ่งแผ่ออกไปทั่วเมียนมาและทอดเข้าสู่มณฑลยูนนานทางภาคใต้ของประเทศจีน

การที่กองทัพเมียนมาทำการรัฐประหารรัฐบาลขอนางอองซาน ซูจี ส่งผลให้หลายประเทศประกาศถอนการลงทุนจากเมียนมา  แต่สำหรับประเทศจีนที่ลงทุนในเมียนมาไปมหาศาลแล้วเหมือนขี่หลังเสือยากที่จะลง  จีนไม่สามารถที่จะพูดอะไรได้มากและไม่ต้องการที่จะแสดงความคิดเห็นอันเป็นการก้าวก่ายกองทัพเมียนมา   ดังนั้นคำกล่าวหาจากโลกตะวันตกที่ว่าจีนสนับสนุนกองทัพเมียนมาให้รัฐประหารจึงเป็นการใส่ร้ายป้ายสี  เป็นเกมการเมืองข้ามโลกที่ต้องการลดบทบาทจีน  และอาจจะเป็นการเล่นไพ่สองหน้าของมหาอำนาจตะวันตกที่ถนัดในการแทรกแซงการเมืองนอกบ้านตนเองเช่นนี้ 

จากนี้ไปต้องจับตาดูทิศทางว่าประเทศจีนกับประเทศตะวันตกและอเมริกาจะมีท่าที่อย่างไรต่อกันและจะมีการร่วมมือกับรัฐบาลเมียนมาอย่างไร โดยที่ประเทศจีนต้องการน่านน้ำทางทิศตะวันตกเพื่อจะได้ออกสู่ทะเลอันดามันเป็นยุทธศาสตร์ที่ประเทศจีนต้องการสำคัญมาก ขณะนี้และต่อไปในอนาคต

Facebook Comments


Social sharing

Related post