Digiqole ad

เดินหน้าท่องเที่ยวสีเขียว “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” กรมอุทยานฯ หนุนวิจัยวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

 เดินหน้าท่องเที่ยวสีเขียว “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” กรมอุทยานฯ หนุนวิจัยวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์
Social sharing

Digiqole ad

รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ไฟเขียวนโยบายการท่องเที่ยวแบบ Low Carbon ชี้อาจไม่ต้องถึงศูนย์ ขอให้เบียดเบียนธรรมชาติน้อยสุด ลั่นไม่เน้นปริมาณ เน้นการท่องเที่ยวแบบมีคุณภาพ ด้านนักวิจัยชี้หลังจบโครงการฯ คาดได้ผลคำนวณข้อมูลปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมท่องเที่ยวกลุ่มป่าแก่งกระจาน เชื่อนำไปต่อยอดหาแนวทางลดปล่อยก๊าซฯ พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก -ออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อเร็วๆนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คณวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุมชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมและยกระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติกลุ่มป่าแก่งกระจาน ณ อาคารศูนย์ปฏิบัติการฯ ตึก H.A.Slade กรมอุทยานแห่งชาติฯ


นายสิทธิชัย เสรีส่งแสง รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวตอนหนึ่งถึงทิศทางการบริหารจัดการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ กลุ่มป่าแก่งกระจาน ว่า จากข้อมูลปี 2564 กลุ่มป่าแก่งกระจานมีพื้นที่กว่า 4 พันตารางกิโลเมตร ถือเป็นป่าผืนใหญ่ที่เชื่อมต่อไปทางด้านตะวันตกติดกับป่าทะนินตายีและเชื่อมต่อกับกลุ่มป่าตะวันตกทางตอนเหนือ ซึ่งเป็นแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศที่สำคัญยิ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับนโยบายการบริหารจัดการกลุ่มป่าแก่งกระจานนั้น นายสิทธิชัย กล่าวถึงกลุ่มป่าแก่งกระจาน ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ มี 92 หมู่บ้านอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ทางกรมฯ ได้เร่งรัดแก้ปัญหาที่ดินทำกินของราษฎรที่อาศัยในพื้นที่ โดยการสำรวจประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกิน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มาตรา 64 ของพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 และสำรวจประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มาตรา 121

ของพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ขับเคลื่อนโครงการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และสร้างอาชีพทางเลือก พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ในการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก ส่งเสริมกลไกการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วม

“เรื่องการท่องเที่ยวกลุ่มป่าแก่งกระจานทั้งหมด ทั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เราอยากให้มีการเชื่อมโยงกัน เพื่อคนในพื้นที่จะได้ประโยชน์ มีรายได้ที่ดีขึ้น”

ส่วนงานวิจัยการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมและยกระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติกลุ่มป่าแก่งกระจาน ที่ร่วมมือกันหลายหน่วยงานนั้น รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวว่า เป็นการนำผลงานวิจัยที่ได้ไปสู่กระบวนการวางแผนพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมและยกระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นจุดเริ่มต้นการนำร่องการพัฒนาและการออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานการสร้างความเข้าใจ เห็นคุณค่า และความสำคัญของระบบนิเวศ

“ การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon อาจไม่ต้องถึงศูนย์ แต่ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเบียดเบียนธรรมชาติน้อยที่สุด เราไม่เน้นปริมาณนักท่องเที่ยว แต่จะเน้นการท่องเที่ยวแบบมีคุณภาพ”รองอธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าว และว่า ปัจจุบันมีมาตรฐานอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้กำหนดขึ้น ทั้งการจัดการขยะ การจัดการของเสีย วันนี้เราจะเน้นเรื่อง คาร์บอนเครดิต ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เช่น การพยายามใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานฯ การรีไซเคิลขยะ เพิ่มมาตรฐานการคัดแยกขยะไปรีไซเคิล เพื่อให้เหลือขยะไปฝังกลบให้เหลือน้อยที่สุด


ขณะที่ ดร.อุษารดี ภู่มาลี หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวถึงงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) และกำหนดแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการท่องเที่ยวพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติกลุ่มป่าแก่งกระจาน ประเมินการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก ภูมิทัศน์ ที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน บทบาทชุมชนท้องถิ่นลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยกระดับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“หลังจบโครงการฯ กรมอุทยานฯ สามารถนำโปรแกรมคำนวณ Carbon Footprint ไปใช้ในการวัดผลกระทบจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในอุทยานแห่งชาติอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็สามารถนำข้อมูลไปใช้ในทางการตลาดส่งเสริม สร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ผ่านกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวสีเขียวอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังสามารถร่วมมือกับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในการจัดงานอีเวนต์ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว และสร้างปริมาณนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้าสู่พื้นที่”

Facebook Comments


Social sharing

Related post