Digiqole ad

เครือข่ายลดบริโภคเค็มและเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เตือนภัย อาหารหวานหนัก มัน เค็มจัด เกลื่อน แอพ หวั่น คนไทยเสี่ยงโรคเรื้อรัง ไต หัวใจ พัง ก่อนวัยอันควร

 เครือข่ายลดบริโภคเค็มและเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เตือนภัย อาหารหวานหนัก มัน เค็มจัด เกลื่อน แอพ หวั่น คนไทยเสี่ยงโรคเรื้อรัง ไต หัวใจ พัง ก่อนวัยอันควร
Social sharing
Digiqole ad

เครือข่ายลดบริโภคเค็มและเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานเผยเตือนภัยเงียบ  จากการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านแอพ เพื่อนำอาหารมาส่งให้ลูกค้า(Online Food Dedlivery apps หรือ OFD) ควรเพิ่มหรือให้ทางเลือกแก่ผู้บริโภคเมื่อสั่งซื้ออาหาร หลังผลสำรวจพบว่ามีอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายชนิด มีความหวาน มัน เค็มจัด เกินปริมาณตามเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมแนะอาหารและเครื่องดื่ม ควรคำนึงถึงสุขภาพผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้นและควรมีตัวตัวเลือก เช่น เกลือน้อย น้ำตาลน้อย เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้สั่งอาหารเพื่อเป็นทางเลือกสุขภาพที่ดีให้กับสังคม ลดภาวะเสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ก่อนวัยอันควร

รศ.นพ. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม และอาจารย์ประจำหน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดเผยว่า จากการสำรวจภายใต้โครงการข้อมูลความเสี่ยงด้านอาหารที่เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาหารพร้อมส่งพร้อมรับประทานยอดนิยมในกรุงเทพฯ ประเทศไทย (NCD dietary risk profile of popular Ready-to-Eat Delivery Foods in Bangkok, Thailand)โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Family Health International (FHI360)ซึ่งรายงานการวิเคราะห์สารอาหารของอาหารและเครื่องดื่ม 40 รายการ ในแอพพลิเคชั่นอาหารออนไลน์ ปีพ.ศ.2565 แบ่งเป็นอาหารจานเดียว 25 รายการ ขนมหวาน 5 รายการและเครื่องดื่มรสหวาน 10 รายการ ซึ่งการวิเคราะห์สารอาหารเหล่านี้ยังไม่รวมเครื่องปรุง เช่น น้ำปลาพริก น้ำจิ้ม พบ อหารจานเดียว 23 รายการ จากทั้งหมด 25 รายการ มีปริมาณโซเดียมสูงกว่า 0.6 กรัมต่อมื้อ ตามที่กรมอนามัยแนะนำให้บริโภคโดยอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงสุด คือ ส้ตำปูปลาร้า มีปริมาณซเดียมเฉลี่ย 5 กรัม ต่อ 1 จาน ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 2 กรัม ต่อวัน ซึ่งหมายความว่าส้มตำปูปลาร้า 1 จาน มีปริมาณความเค็มสูงเกือบ 3 เท่า ของการบริโภคโซเดียมตลอดหนึ่งวัน หรือคิดเป็นปริมาณโซเดียมสูงมากถึง 8 เท่าต่อ 1 มื้อ อีกทั้งยังพบปริมาณโซเดียมสูงมากเกินกว่า 0.6 กรัม ต่อมื้อ ในกาแฟเย็น ซาลาเปาไส้หมูสับ ชิฟฟอนใบเตยและปาท่องโก๋ นับเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งช่วยกันแก้ไข

ด้าน ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวสริมว่า ในส่วนของเครื่องดื่มรสหวาน จาก 10 รายการ มีจำนวน 8 รายการที่มีน้ำตาลเกินกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 25 กรัมต่อวันและมีเพียงเมนู 2 รายการเท่านั้น คือ อเมริกาโน่เย็นและน้ำเต้าหู้ที่มีปริมาณน้ำตาลเฉลี่ยไม่ถึง 16 กรัม ชาน้ำผึ้งมะนาวมีปริมาณน้ำตาลเฉลี่ย 53.1 กรัม ซึ่งมีปริมาณน้ำตาลเกิน 2 เท่า ต่อ 1 วัน หรือ เทียบเท่าน้ำตาลเกือบ 13 ช้อนชา หากคิดต่อ 1 มื้ออาหารควรมีปริมาณน้ำตาลเฉลี่ยประมาณ 8 กรัมต่อมื้อ ซึ่งทั้ง 10 รายการ มีปริมาณน้ำตาลเกิน 8 กรัมต่อมื้อ โดยชาน้ำผึ้งมะนาว มีปริมาณน้ำตาลเกือบ 7 เท่า ต่อมื้อ ซึ่งถือว่าปริมาณน้ำตาลเกินกว่าความต้องการของร่างกายในแต่ละมื้อ อีกทั้งเครื่องดื่มรสหวานเหล่านี้ยังเป็นพลังงานว่างเปล่าหรืออาหารที่แทบจะไม่มีสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ให้พลังงานหรือมีปริมาณแคลอรี่ที่สามารถทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ไม่เพียงเครื่องดื่มรสวานที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์ที่แนะนำเท่านั้น อาหารจานเดียว เช่น ส้มตำไทย หมูปิ้ง ไข่พะโล้และของหวานอย่าง  ชิฟฟ่อนใบเตยและไอศกรีมกะทิสด ยังมีปริมาณน้ำตาลสูงมากต่อมื้อและสูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำอีกด้วย

ด้าน ศ.พญ.ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกแนะนำไม่ควรบริโภคไขมันเกิน 30 % ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน หรือคิดเป็นปริมาณไขมันต่อ 1 มื้อ เฉลี่ยอยู่ที่ 25 กรัมและอาหารทีมีไขมันสูง เช่น หมูสามสั้นทอด มีไขมันเฉลี่ยสูงถึง 67.1 กรัม ซึ่งถือว่ามีปริมาณไขมันสูงเกือบ 3 เท่าต่อมื้อ หรือคิดเป็นร้อยละ 86 ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วัน ส่วนหมูปิ้ง (55.6 กรัม) คอหมูย่าง (48.6กรัม) มีปริมาณไขมันเกินถึง 2 เท่ ต่อมื้อ และคิดเป็นร้อยละ 71 และ ร้อยละ 62 ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายควรได้รับตลอดทั้งวัน ยิ่งไปกว่านั้นเนื้อสัตว์ติดมันและอาหารที่นำไปทอด ไขมันที่ได้จากอาหารเหล่านี้เป็นไขมันอิ่มตัว ซึ่งจัดเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพและการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากเกินไป อาจทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจตามมา ดังนั้นการแสดงปริมาณสารอาหารโดยเฉพาะเกลือ น้ำตาลและไขมัน ในรายการอาหารบนแอพพลิเคชั่นอาหารออนไลน์ จะสามารถช่วยให้ผู้บริโภคทราบถึงปริมาณสารอาหารดังกล่าว นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นอาหารออนไลน์ควรเพิ่มหรือให้ทางเลือกแก่ผู้บริโภคในการกรองตัวเลือกเมื่อสั่งซื้ออาหาร เช่นส้มตำ ควรมีตัวเลือก เกลือน้อย น้ำตาลน้อยเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้สั่งอาหารโดยคำนึงถึงสุขภาพได้มากยิ่งขึ้น

 

ด้าน ทพญ.จิราพร ขีดดี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า อาหารทีมีไขมันสูงมักจะให้พลังงานหรือแคลอรีสูงตามไปด้วย เช่น ชิฟฟ่อนใบเตย มีปริมาณไขมันสูงมาก เฉลี่ยประมาณ 65.3 กรัม ให้พลังงานสูงถึง 1,098.8 แคลอรี่ ซึ่งสูงเกินครึ่งหนึ่งของปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการขององค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ 2,100 แคลอรี่ต่อวัน ถ้าคิดเป็น 1 มื้อ ควรได้ปริมาณพลังงานประมาณ 600 แคลอรี่ ขนมดังกล่าวมีปริมาณพลังงานเกินเกือบ 2 เท่าต่อมื้อหรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน อีกทั้ง การบริโภคอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มสูง เหล่านี้และหากบริโภคบ่อย อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคเบาหวาน ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้

Facebook Comments

Related post