Digiqole ad

“หัวเว่ย” เปิดตัวโซลูชันศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตก มุ่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลขึ้นใหม่

 “หัวเว่ย” เปิดตัวโซลูชันศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตก มุ่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลขึ้นใหม่

Mr. Shi Wei, Director of Huawei Data Center Solution Dept, unveils Huawei Full-Stack Data Center Solution

Social sharing
Digiqole ad

หัวเว่ย (Huawei) เปิดตัวโซลูชันศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตกในระหว่างการประชุมว่าด้วยศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตก (Huawei Full-Stack Data Center Forum) ที่งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2565 หรือ MWC 2022 Barcelona ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โซลูชันศูนย์ข้อมูลใหม่นี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ได้มีศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัย และใช้ประโยชน์จากความสามารถแบบฟูลสแตกของหัวเว่ย ตั้งแต่การใช้พลังงานไปจนถึงอุปกรณ์ไอที โซลูชันนี้ยังถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้เหล่าธุรกิจสามารถปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลของพวกเขาให้ทันสมัย และวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ การปรับปรุงระบบประมวลผลและการจัดเก็บ การปรับปรุงเครือข่าย การปรับปรุงความน่าเชื่อถือ และการปรับปรุงด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เช่นเดียวกับที่เราไม่สามารถขาดโทรศัพท์มือถือได้ในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ก็ไม่สามารถขาดศูนย์ข้อมูลได้เหมือนกัน ดังนั้นศูนย์ข้อมูลจึงเปรียบเสมือนหน่วยประมวลผลขององค์กรทั้งหลาย โดยมีการคาดการณ์กันว่าข้อมูลและพลังการประมวลผลมากกว่า 90% จะถูกรวมไว้ในศูนย์ข้อมูลภายในปี 2568 ซึ่งนี่จะทำให้ศูนย์ข้อมูลกลายมาเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่โลกดิจิทัล โดยคุณเอียน เรดพาธ (Ian Redpath) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลจากบริษัทอินฟอร์มา (Informa) กล่าวว่า “องค์กรต่าง ๆ กำลังปรับปรุงศูนย์ข้อมูลของพวกเขาให้ทันสมัย ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเทคโนโลยีคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งการปรับปรุงศูนย์ข้อมูลขึ้นใหม่นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจขององค์กรและปรับปรุงประสิทธิภาพด้านต้นทุนรวมการเป็นเจ้าของ (TCO) ให้ดียิ่งขึ้น”

คุณฉือเหว่ย (Shi Wei) ผู้อำนวยการแผนกโซลูชันศูนย์ข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า “การสร้างศูนย์ข้อมูลที่ทำงานบนคลาวด์ซึ่งมีความเข้มข้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ได้สร้างความท้าทายใหม่ ๆ มากมายให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที และโซลูชันศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตกของเราก็สามารถจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ได้ ด้วยการปรับปรุงการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการปรับปรุงเครือข่าย ความน่าเชื่อถือ และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อวางรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลขึ้นใหม่ และเร่งความเร็วสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล”

หลักการสำคัญ 4 ประการของโซลูชันศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตกของหัวเว่ย มีดังนี้

การปรับปรุงระบบประมวลผลและการจัดเก็บ: การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลทำให้เกิดความต้องการด้านประมวลผลและทรัพยากรสำหรับการจัดเก็บข้อมูลในศูนย์ข้อมูลมากยิ่งขึ้น หัวเว่ยจึงนำเสนอผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชที่เหมาะกับทุกสถานการณ์ เพื่อเร่งความเร็วในการประมวลผลทั้งในการจัดเก็บข้อมูลทั่ว ๆ ไป การวิเคราะห์ข้อมูล และการสำรองข้อมูล โดยตัวจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชโอเชียนสโตร์ โดราโด (OceanStor Dorado) ใช้โปรโตคอล NVMe บนเครือข่าย Fabric plus (NoF+) และอัลกอริทึม FlashLink มาช่วยลดเวลาแฝงลงเหลือเพียง 0.05 มิลลิวินาที ซึ่งเร็วกว่าผลิตภัณฑ์ประมวลผลอื่น ๆ มากถึงสองเท่า ในขณะที่ชุดผลิตภัณฑ์ FusionCube HCI ใช้การหลอมรวมพลังการประมวลผล xPU, การหลอมรวมเครือข่ายประมวลผลและพื้นที่จัดเก็บ และการหลอมรวมของการบริการ เพื่อนำเสนอ HCI และคุณสมบัติต่าง ๆ ทั้งประสิทธิภาพ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้งาน โดยปรับปรุงความหนาแน่นในการจัดเก็บและ VM ได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับ HCI แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ เพื่อช่วยในการเปลี่ยนมาเป็นระบบคลาวด์ หัวเว่ย คลาวด์ สแตก (Huawei Cloud Stack หรือ HCS) ยังมาพร้อมกับแพลตฟอร์มบริหารจัดการคลาวด์อัจฉริยะและพื้นที่เก็บข้อมูลอัจฉริยะ เพื่อช่วยในการจัดเตรียมทรัพยากรให้เป็นไปตามต้องการและเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้หัวเว่ย โอเชียนสโตร์ โดราโด ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก ในการประชุมครั้งนี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชโอเชียนสโตร์ โดราโด รุ่นใหม่ ที่มาพร้อมโซลูชัน gateway-free active-active สำหรับ SAN และ NAS อีกทั้งยังได้เชิญชวนลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมด้านสุขภาพมาร่วมแบ่งปันเรื่องราวการใช้งานผลิตภัณฑ์นี้ด้วย โรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายแห่งในยุโรปต่างก็ต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในด้านประสิทธิภาพ การปฏิบัติการและการบำรุงรักษา เมื่อต้องรับมือกับข้อมูลที่มีอัตราการเติบโตอยู่ระหว่าง 60%-120% ต่อปี แต่ความท้าทายเหล่านี้สามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดายด้วยอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชโอเชียนสโตร์ โดราโด ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหาประสิทธิภาพการทำงานที่เป็นคอขวด แต่ยังทำให้การปฏิบัติการและการบำรุงรักษาสามารถทำได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ด้วยการรวมภาระงานต่าง ๆ เข้าไว้ในที่เดียว นอกจากนี้ โซลูชัน gateway-free active-active สำหรับ SAN และ NAS ที่ได้รับการพัฒนามาเฉพาะของหัวเว่ย ยังช่วยให้มั่นใจว่าข้อมูลที่มีความสำคัญจะไม่สูญหายและไม่ทำให้เกิดการหยุดชะงักในการให้บริการ

การปรับปรุงเครือข่าย: การเติบโตของขนาดการให้บริการทำให้เกิดความต้องการด้านประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และมีการจัดการที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น หัวเว่ยจึงขอมอบโซลูชันเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่ปราศจากการสูญเสียข้อมูลจากขุมพลังอัลกอริทึมอัจฉริยะ iLossless หนึ่งเดียวในอุตสาหกรรม ไปจนถึงอุปกรณ์ WDM เราเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีสายเคเบิลระดับใช้งานกับบอร์ดที่มีเพียงหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรม และการประสานการทำงานของเครือข่ายข้อมูลสำหรับการจัดเตรียมบริการสายส่วนตัวที่ทำงานรวดเร็วในหนึ่งนาที เพื่อมอบความคล่องตัวและประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายศูนย์ข้อมูลสูงสุด

การปรับปรุงความน่าเชื่อถือ: เพื่อยกระดับความสามารถของระบบกู้คืนข้อมูล (DR) ในศูนย์ข้อมูล หัวเว่ยขอนำเสนอโซลูชันการกู้คืนข้อมูลสำหรับทุกสถานการณ์ โดยโซลูชันนี้มาพร้อมความสามารถการกู้คืนข้อมูลแบบฟูลสแตก การสำรองข้อมูลเต็มประสิทธิภาพครบวงจร และการจัดการกับการกู้คืนข้อมูลที่รวมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้มั่นใจว่าศูนย์ข้อมูลสามารถเชื่อถือได้ในระดับสูงทุกที่ทุกเวลา ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์แบ่งความยาวคลื่นกับอุปกรณ์จัดเก็บของหัวเว่ย ช่วยลดเวลาการเปลี่ยน active-active link จาก 50 มิลลิวินาทีเหลือเพียง 5 มิลลิวินาทีเท่านั้น ขณะที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโอเชียนโพรเทกต์ แบ็กอัพ สตอเรจ (OceanProtect Backup Storage) ถูกสร้างขึ้นบนสถาปัตยกรรมแบบออลแฟลช ซึ่งช่วยปรับปรุงการทำงานของแบนด์วิดท์สำรองข้อมูลให้ดีขึ้นถึง 3 เท่า ด้วยคุณสมบัติการเร่งความเร็วแบบครบวงจร

การปรับปรุงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: หัวเว่ยเชื่อว่าสำหรับศูนย์ข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำนั้น โครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลจำเป็นต้องถูกสร้างใหม่ตลอดทั้งวงจรที่มีอยู่ ตั้งแต่การก่อสร้าง การจ่ายไฟ ไปจนถึงการวางระบบกระจายความเย็น และการปฏิบัติการและบำรุงรักษา (O&M) นอกจากนี้ หัวเว่ยยังมีโมดูลพลังงานเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ที่ทำงานบน UPS ความหนาแน่นสูงซึ่งรวมอยู่กับศูนย์กระจายพลังงานของ UPS หรือ PDC เพื่อลดพื้นที่ของศูนย์ข้อมูลลงไป 47% อีกทั้งโมดูลดังกล่าวยังใช้พื้นที่ของศูนย์ข้อมูลอย่างได้อย่างเต็มที่จึงช่วยประหยัดเนื้อที่สำหรับอุปกรณ์ไอทีไปได้มากกว่า 10% หัวเว่ยยังนำเสนอโซลูชันการทำความเย็นด้วยการระเหยของน้ำแบบทางอ้อมอย่างหน่วยการจัดการสภาพแวดล้อม (EHU) ซึ่งทำงานบนอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนโพลิเมอร์ที่พัฒนามาเฉพาะ เพื่อมอบความเย็นตามธรรมชาติที่ดีที่สุด โดย EHU นั้นสามารถทำงานร่วมกับระบบ iCooling ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปรับปรุงพลังงานด้วย AI ที่สามารถลดอัตราส่วนการใช้งานพลังงานไฟฟ้าในศูนย์ข้อมูล (PUE) ลงเหลือน้อยกว่า 1.2 เมื่อเทียบกับระบบทำความเย็นแบบใช้น้ำเย็น ซึ่งเท่ากับว่าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้กว่า 14% ต่อปี

หัวเว่ยช่วยลูกค้าสร้างศูนย์ข้อมูลคลาวด์ชั้นนำของอุตสาหกรรมที่เข้มข้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของพวกเขา ผ่านการผสานรวมคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และโซลูชันศูนย์ข้อมูลแบบฟูลสแตก

บาร์เซโลนา, สเปน :

Facebook Comments

Related post