Digiqole ad

“หมอภัทร” เผยหยุดส่งต่อโรคธาลัสซีเมีย ด้วยการวางแผนมีบุตรอย่างเข้าใจ ทางรอดมากกว่าทางเลือก ด้าน“แพม ปานพิมพ์” มั่นใจปรึกษาวางแผนการมีบุตรกับ IVF & Women Clinic หลังตรวจพบป่วยโรคธาลัสซีเมีย

 “หมอภัทร” เผยหยุดส่งต่อโรคธาลัสซีเมีย ด้วยการวางแผนมีบุตรอย่างเข้าใจ ทางรอดมากกว่าทางเลือก ด้าน“แพม ปานพิมพ์” มั่นใจปรึกษาวางแผนการมีบุตรกับ IVF & Women Clinic หลังตรวจพบป่วยโรคธาลัสซีเมีย
Social sharing

Digiqole ad

เตรียมพร้อมวางแผนเรื่องการมีครอบครัว สำหรับดาราสาว “แพม ปานพิมพ์ เตชะธนชัยพัฒน์” ที่เคยเปิดเผยว่าตนเองมีอาการป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย ล่าสุดเจ้าตัวเข้าปรึกษาทางศูนย์ดูแลภาวะผู้มีบุตรยาก และคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูตินรีเวช “IVF & Women Clinic” และได้พูดคุยกับทาง ร.ศ.นพ.ภัทรภูมิ โพธิ์พงษ์ หรือคุณหมอภัทร ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และการผ่าตัดส่องกล้อง

ซึ่งงานนี้สาวแพม ปานพิมพ์ ได้ปรึกษากับทางคุณหมอภัทร ถึงอาการป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย ว่าโรคนี้ส่งผลต่อการมีบุตรหรือไม่ในอนาคต และจะสามารถส่งต่อเป็นพันธุกรรมให้กับทายาทได้หรือไม่ ซึ่งเจ้าตัวเผยว่า “ตัวแพมเคยป่วยไม่สบายเป็นไข้สูงมาก แล้วไม่หาย เลยไปหาหมอ แล้วบังเอิญตรวจเจอว่าตนเองเป็นโรคธาลัสซีเมีย เมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว ที่ผ่านมาแพมดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองมาตลอด แต่ก็กังวลใจว่า ถ้าหากมีครอบครัว แล้วมีลูก โรคธาลัสซีเมียจะส่งต่อพันธุกรรมถึงลูกหรือไม่ เลยเข้ามาปรึกษาคุณหมอภัทร ที่ IVF & Women Clinic ศูนย์ดูแลภาวะผู้มีบุตรยาก และคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูตินรีเวช ซึ่งทางคุณหมอภัทร ก็ได้พูดถึงแนวทางนวัตกรรมการทำ IVF ที่สามารถหยุดถ่ายทอดพันธุกรรมธาลัสซีเมีย สาวๆคนไหนที่กังวลใจว่าตนเองเป็นโรคธาลัสซีเมีย และจะมีบุตรได้ไหม แพมแนะนำว่ามาปรึกษาคุณหมอภัทรได้เลยค่ะ คุณหมอใจดีมาก ให้คำแนะนำดีมาก ตัวแพมเองก็ได้ความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปบอกต่อเพื่อนๆ ได้ หรือใครที่มีบุตรยาก ทาง IVF & Women Clinic ก็มีบริการรักษาภาวะการผู้มีบุตรยาก แบบครบวงจรเลยค่ะ โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมากประสบการณ์กว่า 20 ปี ที่ได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุข”

ด้าน รศ. นพ.ภัทรภูมิ โพธิ์พงษ์ สูตินรีแพทย์ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากประจำ IVF & Women Clinic เปิดเผยว่า “ ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของโรคธาลัสซีเมีย หมอจะขอกล่าวถึง เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ หรือพ่อแม่มือใหม่ กับการวางแผนการมีบุตร ทั้งนี้พบว่าปัจจุบัน เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะคน Generation Y และ Generation Z ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ต่างมีความตื่นตัวในการวางแผนเรื่องของการมีบุตรมากขึ้น ทั้งคนที่กำลังสร้างครอบครัวและคนที่ยังไม่มีครอบครัว เนื่องจากมีการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้มากขึ้น และสามารรับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจะเกิดขึ้นได้ รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งเทรนด์ในอนาคตบอกได้เลยว่า คนรุ่นใหม่จะมีความสนใจและใส่ใจในตัวเองและครอบครัว มีการวางแผนมากขึ้น โดยเฉพาะการมีบุตร เราจะเห็นว่าคนจะแสวงหาความรู้ แสวงหาเทคโนโลยีในการช่วยเรื่องของการมีบุตรมากขึ้น ไม่เฉพาะผู้มีบุตรยาก หรือมีปัญหาสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นกลุ่มที่ต้องการมีบุตรที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีการวางแผน ดังนั้นในอนาคตคนจะมาฝากไข่ ฝากอสุจิมากขึ้น เป็นตัวช่วยเพิ่มความสามารถในการมีบุตร ซึ่งเทคโนโลยี ต่าง ๆ ในการช่วยเรื่องการวางแผนการมีบุตรนั้นมีไว้สำหรับทุกคนและทุกวัย”

อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเป็นการเตรียมตัวมีบุตรที่มีคุณภาพสมบูรณ์แข็งแรงนั้น คือการตรวจสุขภาพการก่อนมีบุตร นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะเป็นจุดแรกในการคัดกรองและรู้ถึงสุขภาพทั้งด้านกรรมพันธุ์ และยีนส์ด้อยที่อาจไม่ได้มีการแสดงอาการ หากแต่จะเป็นจุดเริ่มต้นปัญหาของโรคภัยต่าง ๆ ได้ สำหรับบุตรในครรภ์ถ้าทั้งพ่อและแม่ มียีสต์ด้อยที่ตรงกันแล้วไม่ทราบล่วงหน้านั่นเอง โดยเฉพาะประเทศไทยโรคโลหิตจางทางพันธุกรรม หรือ ธาลัสซีเมีย ถือเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่สามารถถ่ายถอดทางพันธุ์กรรมได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่คู่สมรส และพ่อแม่มือใหม่ที่ต้องการวางแผนการมีบุตรต้องให้ความสำคัญ

ทั้งนี้ในวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปีนั้น จะเป็น “วันธาลัสซีเมียโลก (World Thalassemia Day)” เพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญของโรคธาลัสซีเมียและผลกระทบของโรค ในเดือนพฤษภาคมนี้ จึงถือว่าเป็นเดือนแห่งวันธาลัสซีเมียโลก เรามาทำความรู้จักกับโรคธาลัสซีเมียกันให้มากขึ้น โดยจะอธิบายให้ทราบกันแบบเข้าใจง่ายๆ เพื่อสังเกตตนเอง โดยเฉพาะคู่สมรส และคุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องเตรียมตัววางแผนการมีบุตร บอกได้เลยว่า ธาลัสซีเมีย ไม่ได้เป็นโรคที่น่ากลัวมากแต่อย่างใด แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้หากมีการตรวจพบเจอโรค และปัจจุบันนี้ ธาลัสซีเมีย ก็ป้องกันได้ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์

ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันของศูนย์ IVF & Women Clinic สามารถป้องกันการส่งต่อให้ลูก หลาน ปัจจุบันเราใช้เทคนิค NGS หรือ Next Generation Sequencing เป็นนวัตกรรมที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในการหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมดในเซลล์ ที่มีความละเอียดและมีความแม่นยำสูงถึง 98% จึงเป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน โดยนักวิทยาศาสตร์จะคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติและแข็งแรงที่สุด เพื่อให้อัตราในการฝังตัวของตัวอ่อนและการตั้งครรภ์ประสบผลสำเร็จ ปลอดภัย มีคุณภาพการดูแลป้องกันอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ IVF & Women Clinic กรณีเคสของคุณแพม ปานพิมพ์ ก็เช่นเดียวกัน หมอได้พูดคุยและแนะนำการตรวจรักษา เพื่อหยุดการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก่อนการมีบุตร

การตรวจสุขภาพของคู่สมรสทั้งชายและหญิง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเทคนิค NGS หรือ Next Generation Sequencing ช่วยในเรื่องของการมีบุตร จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวของทุกคนต่อไปในอนาคต พร้อมเชิญชวนคนรุ่นใหม่วางแผน และให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพก่อนมีบุตรลดความเสี่ยงจากโรคทางพันธุกรรม เข้ารับคำปรึกษากับทางศูนย์ IVF & Women Clinic โทร.02-6533331 / 097-2509331 เฟซบุ๊ก : IVF&Women Clinic , ไลน์ : @iwclinic

Facebook Comments


Social sharing

Related post