Digiqole ad

ส่อง…สุดยอดผลงาน “วิศวะลาดกระบัง” คว้าเหรียญทอง HIT Award – Digital Health Innovation

 ส่อง…สุดยอดผลงาน “วิศวะลาดกระบัง” คว้าเหรียญทอง HIT Award – Digital Health Innovation
Social sharing

Digiqole ad

ส่องสุดยอดผลงาน วิศลาดกระบัง” คว้าเหรียญทอง HIT Award Digital Health Innovation

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้การขับเคลื่อนของ “รศ.ดร.คมสัน มาลีสีอธิการบดี กับวิสัยทัศน์ The World Master of Innovation หรือผู้นำนวัตกรรมระดับโลก เดินหน้าสู่การเป็น “สถาบันเทคโนโลยีชั้นนำแห่งเอเชีย” ด้วยนวัตกรรมนับเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการเร่งวิจัย คิดค้น พัฒนาผลงานนวัตกรรมต่างๆ มากมายหลายด้าน รวมทั้ง “นวัตกรรมทางการแพทย์และการสาธารณสุข”  เพื่อมาตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านยารักษาโรค การรักษา การดูแลสุขภาพให้ชีวิตของทุกๆ คนปลอดภัย ยืนยาว

รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า การขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านการแพทย์เป็นนโยบายสอดคล้องกับสถาบันฯ สร้างนวัตกรรมการแพทย์ที่ใช้ได้จริงร่วมกับหลากหลายคณะโดยเฉพาะร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ สจล.  นวัตกรรมที่สร้างขึ้นจะผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากล มาตรฐานห้องปฏิบัติการหรือมาตรฐานของ อย. และคณะวิศวกรรมศาสตร์มีห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองจาก อย.แล้วสองห้องปฏิบัติการคือ ห้องปฏิบัติการเครื่องสำอางและห้องปฏิบัติการด้านอาหาร และกำลังมุ่งสู่การรับรองห้องปฏิบัติการเครื่องมือแพทย์ ISO13485 ในอีกไม่นาน โดยทีมคณาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาร่วมมือกันสร้าง พัฒนาผลงานนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศ โดยเฉพาะผลงานนวัตกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับการยอมรับ จนล่าสุดคว้ารางวัลจากการแข่งขัน “Health Innovation Technology Award, ACCAS-KMITL 2022 หรือ HIT Award ACCAS-KMITL 2022 เป็นรางวัลประเภทนวัตกรรมในการสร้างสรรค์ผลงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อการแพทย์และการสาธารณสุข และถือเป็นเวทีเชิงสัญลักษณ์ถึงการแพทย์ของไทยที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “นวัตกรรมดิจิทัลทางการแพทย์” (DIGITAL HEALTH INNOVATION) ซึ่งคณาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับรางวัลจาก 5 นวัตกรรม ในด้านต่างๆ ดังนี้  

รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง 4 รางวัล

ด้าน: Telemedicine

1. ตู้จำหน่ายยา (Drug Dispensing Machine)  ผลงานของนายณพวัฒน์ คำยอด (ปี4 วิศวกรรม

คอมพิวเตอร์)  และนายณัฐภัทร อรุณกิจเจริญ (ปี4 วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.รัฐชัย ชาวอุทัย

ตู้จำหน่ายยา เป็นนวัตกรรมที่ต้องการลดขั้นตอนการจ่ายยาจากการเข้าคิวรับยาที่เคาน์เตอร์มาเป็นการรับบริการที่ตู้จำหน่ายยา ลดขั้นตอนการอธิบายวิธีใช้ยาด้วยการสแกนใช้แอพพลิเคชั่น เพื่อดูวิธีการใช้ยาตามแพทย์สั่ง นอกจากนี้ตู้จำหน่ายยายังสามารถนำไปติดตั้งไว้สถานที่อื่นเพื่อรับยาร่วมกับระบบการแพทย์ทางไกลได้ด้วย

ด้าน: IOT Devices

2. อุปกรณ์ช่วยฟังเสียงหัวใจแบบดิจิตอล (Digital Stethoscope) ผลงานของนางสาววิลาสินี      

อุทยาภมรวัฒน์ (ป.โท วิศวกรรมชีวการแพทย์) ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.สรินพร  วิสิฐสัทธาพงศ์

อุปกรณ์ช่วยฟังเสียงหัวใจแบบดิจิตอล อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่แสดงกราฟเสียงหัวใจได้ชัดเจนมากขึ้น ช่วยให้แพทย์ได้เห็นและได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจผ่านวงจรความถี่ต่ำและขยายสัญญาณผ่านบลูทูธแสดงผลในแท็บเล็ตและบันทึกสัญญาณไว้วินิจฉัยภายหลัง

3. Oxygen High Flow ผลงานของกลุ่มนักศึกษา 6 คน ได้แก่นายธนกฤต ทวีสุนทร (ป.โทRobotics) นายธนภูมิ ภูมี (ป.โท IT) นายปริญญา ไสยโยธา, นายฐิติพงศ์ เทพสิทธิ์ (ป.โทไฟฟ้า) นายกานต์ เกตุกระทึกและนายถิรวัฒน์ บุญสร้าง (ปี3 Robotics) ที่ปรึกษา:รศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล, ดร.ภูมิ คงห้วยรอบ, นายศรุชา ยรรยง

Oxygen High Flow เป็นเครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยการจ่ายออกซิเจนเพื่อพยุงการหายใจของผู้ป่วยโควิด-19 ออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานได้ทั้งในโรงพยาบาลสนามและโรงพยาบาลเฉพาะทาง จุดเด่นของเครื่องคือราคาถูกกว่าการนําเข้ากว่า 3-4 เท่า มีระบบมอนิเตอร์ทางไกลช่วยผู้ป่วยด้วยการเพิ่มระดับออกซิเจนตั้งแต่ 21-100% สามารถควบคุมการทำงานมอนิเตอร์ผ่านแอปพลิเคชันได้ เพื่อลดอัตราการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์และมีระบบแจ้งเตือนเมื่อเครื่องทำงานผิดพลาด

ด้าน: AI In Medicine

4. กล้อง AI ตรวจมะเร็งปากมดลูก: 3D Stereographic colposcope ผลงานของนาย นนทิวัฒน์ อำนวยผล (ปี4 วิศวกรรมชีวการแพทย์)  ที่ปรึกษา: ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา

กล้อง AI ตรวจมะเร็งปากมดลูก ถูกพัฒนายกระดับ สร้างความเป็นมาตรฐาน ตัดขั้นตอนการตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยให้จบในการวินิจฉัยเดียว ทั้ง 3 ระดับ 1 PAP smear 2 วิธี colposcopy และ 3 ผู้ป่วยที่ความเสี่ยงสูงที่ต้องตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) ด้วยกล้องอัจฉริยะที่ถูกออกแบบมารับภาพของปากมดลูก เพิ่มศักยภาพในการวินิจฉัย ใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบ deep learning และเทคนิค fluorescent imaging ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการทำเครื่องต้นแบบเพื่อนำเข้าทดสอบในโรงพยาบาลในเครือผู้สนับสนุนต่อไป

รางวัลชนะเลิศเหรียญเงิน ด้าน: Medical Robotics 1 รางวัล

5. Emergency Transport Ventilator KNIN II ผลงานของนายณัฏฐากร โกมล(วิศวกรรมไฟฟ้า) ที่ปรึกษา: ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย และผศ.ดร.ธีรพล โพธิ์พงศ์วิวัฒน์

เครื่องช่วยหายใจเเบบฉุกเฉิน มีขนาดเล็ก พกพาได้ สามารถใช้งานง่ายต่อการเคลื่อนย้ายในกรณีฉุกเฉิน มีแบตเตอร์รี่ในตัวเหมาะกับสถานการณ์ที่ต้องการความเร่งด่วน ในการเตรียมความพร้อมช่วยเหลือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ใช้งานทั้งในสถานพยาบาล รถพยาบาล หน่วยเเพทย์เคลื่อนที่ ด้วยการทำงานเเบบ Volume Control เเละ Pressure Control ไวต่อแรงดันอากาศ มีระบบแสดงผล พร้อมแจ้งเตือนปรับเปลี่ยนค่าใช้งานได้ง่าย

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและบริการทางวิศวกรรมคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. คุณเมธินี/คุณอานนท์พร โทร. 063-479-6840, คุณเบญจรัตน์ โทร. 064-985-0058

 

 

 

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post