Digiqole ad

ส่องอาชีพ-ธุรกิจเกี่ยวกับ “กัญชา” แนวโน้มรุ่ง และรวย

 ส่องอาชีพ-ธุรกิจเกี่ยวกับ “กัญชา” แนวโน้มรุ่ง และรวย
Social sharing

Digiqole ad

หลังมีการประกาศปลดล็อกให้กัญชา กลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างเห็นได้ชัด รวมถึง ยังสร้างเสริม ให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อกับกัญชา ที่ไม่เพียงแต่จะน่าสนใจ แต่ยังสร้างเม็ดเงินให้ผู้ประกอบการกันอย่างมาก

ในขณะเดียวกัน ในต่างประเทศที่มี “กัญชาเสรี” ก็ได้มีอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับตลาดกัญชาที่เติบโตขึ้น ซึ่งผู้ที่มีความชำนาญสามารถกอบโกยเงินจากอาชีพเหล่านี้ได้มากโข ที่เรียกว่า เป็นหลักแสนบาท กันเลยทีเดียว

ซึ่งวันนี้ บางกอกทูเดย์ จะพาไปส่องอาชีพ ที่สอดรับกับกระแสของกัญชา ที่มาแรงแซงทางโค้งเหล่านี้กัน เริ่มต้นด้วย

อาชีพนักปลูกกัญชา (Grower)

นักปลูกกัญชา (Grower) อาชีพนี้เรียกได้ว่า เป็นต้นน้ำของการปลูกกัญชาเลยก็ว่าได้ เพราะคนในอาขีพนี้มีหน้าที่สำคัญ ที่ไม่เพียงแต่ต้องควบคุม และดูแลการปลูกกัญชาในทุกกระบวนการแล้ว พวกเขายังต้องศึกษาอย่างรู้จริงด้วยว่า กัญชาสายพันธุ์ใด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศแบบใด และสายพันธุ์ใดทนทานต่อโรคได้มากน้อยแค่ไหน และที่มากกว่านั้น นักปลูกกัญชา ยังต้องรู้วิธีคิด วิเคราะห์ และ คำนวนให้ได้ด้วยว่า กัญชาสายพันธุ์ใด จะให้ผลผลิตกี่กรัมต่อตารางเมตร หรือ ต่อต้นอีกด้วย เพื่อให้ได้ช่อดอกกัญชาในปริมาณของผลผลิตที่มากพอ สำหรับจำหน่าย ให้กลุ่มอุคสาหกรรมการผลิตกัญชาต่อไป ส่วนรายได้เฉลี่ยของนักปลูกกัญชา จะอยู่ที่ 200,000 – 400,000 บาท ต่อเดือน

ผู้ดูแลการปลูกกัญชา (Grow Master)

ผู้ดูแลการปลูกกัญชา (Grow Master) ก็เรียกว่า เป็นอีกอาชีพที่ทำรายได้อยู่ไม่ใช่น้อยเหมือนกัน เพราะคนที่จะมาทำอาชีพนี้ได้นั้น จะต้องเป็นเกษตรกร ที่มีประสบการณ์ด้านการเพาะปลูกสูง มีความเชี่ยวชาญในการปลูกกัญชา รู้จักวิธีในแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างดี จนสามารถแก้ไข และป้องกันการเกิดปัญหา ที่จะเกิดขึ้นระหว่างการเพาะปลูกได้ ยิ่งหากผู้ที่เข้ามาทำงานในอาชีพนี้ มีรางวัลการันตี จากการประกวดสายพันธุ์กัญชา หรือ มีผลงานชิ้นอื่นๆ ที่โดดเด่นและได้รับการยอมรับด้วยแล้ว รายได้ ก็อาจจะเพิ่มสูงถึง 700,000 – 800,000 บาท

นักคิดค้นเมนูอาหาร (Edible Producer)

จะเรียกอาชีพที่ว่านี้ เป็นเชฟได้ก็ผิดอะไร เพีนงผู้ที่เข้ามาทำอาขีพนี้ต้องมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Science) ของกัญชาเป็นอย่างดี เพราะต้องมีการวัดค่าสารสกัดกัญชาในอาหารได้อย่างแม่นยำ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการบริโภคกัญชาเกินขนาด รวมถึงต้องมีการควบคุมปริมาณตั้งแต่กระบวนการผลิต ที่สำคัญยังต้องทราบรหัสกัญชาของแต่ละรัฐด้วย ซึ่งจะมีการอัปเดทค่อนข้างบ่อย รวมถึงต้องคอยอัปเดตเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาเพื่อการบริโภคทั้งหมดอีกด้วย อาชีพนี้ รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 150,000 – 210,000 บาท ต่อเดือน

 ผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชา (Budtender)

ผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชา หรือ Budtender เป็นการผสมกันระหว่างอาชีพ “บาร์เทนเดอร์” กับ “เภสัชกร” อาชีพนี้มีหน้าที่แจ้งข้อมูลทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษของการใช้กัญชาให้แก่ลูกค้า มีความรู้ในเรื่องของสายพันธุ์กัญชาเป็นอย่างดี สามารถคัดเลือกสายพันธุ์กัญชาให้กับลูกค้าได้ตรงกับความต้องการ รวมถึงต้องรอบรู้เกี่ยวกับการออกฤทธิ์ และผลกระทบของสายพันธุ์กัญชาแต่ละสายพันธุ์ด้วย อาชีพนี้มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 130,000 ต่อเดือน

เจ้าของแล็บกัญชา (Grow Site Owner)

เจ้าของแล็บกัญชา หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เจ้าของฟาร์มกัญชา” ก็ได้ ซึ่งผู้ที่จะมาเป็นเจ้าของฟาร์ม จะต้องมีงบประมาณมากพอที่จะจ้างคนงาน รวมถึงมีงบประมาณมากพอในการสร้างฟาร์มให้เหมาะสมต่อการปลูกกัญชาในแต่ละสายพันธุ์ เช่นเดียวกับ ห้องแล็บและอุปกรณ์สำหรับทำการวิจัย แต่ที่สำคัญ ตัวของเจ้าของฟาร์มต้องมีความรอบรู้ด้านเกี่ยวกับสายพันธุ์ ไปจนถึง รู้ด้วยว่า จะได้ผลผลิตต่อต้น หรือต่อตารางเมตรเท่าไร และต้องรู้ระยะเวลาปลูกนานแค่ไหนถึงจะได้ผลผลิต,  รวมถึงต้องรู้ว่า กัญชาที่ปลูกทนทานต่อโรคใดบ้าง และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสามารถเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลกัญชาได้ที่ weed.review ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ความรู้ในการบริหารจัดการทุกสิ่งอย่างในฟาร์ม

นักวิจารณ์หรือนักเขียนด้านกัญชา (Marijuana Journalist)

อาชีพนี้เป็นอาชีพนักเขียน ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องของกัญชา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้, เขียนเชิงวิจารณ์ รวมถึงการเขียนในรูปแบบที่ให้คำแนะนำได้ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกัญชาในแต่ละสายพันธุ์ รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับคลินิกกัญชาทางการแพทย์ได้ รายได้ของอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงและผลงานอันเป็นที่ยอมรับจากสังคม

เป็นอย่างไรบ้าง กับรายได้ของแต่ละอาชีพ ที่เกี่ยวกับกัญชา เห็นแล้วอยากจะเป็นเจ้าของฟาร์มเพาะปลูกกัญชากับเขาบ้างแล้วไหมล่ะ ซึ่งแม้วันนี้ กัญชา จะถูกปลดล็อกก็จริง แต่ทว่าการจะปลูกกัญชา ก็ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ เหมือนปลูกผักปลูกหญ้า โดยผู้ที่สนใจอยากประกอบอาชีพตามข้อมูลข้างต้น ก็ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด รวมถึงผู้ที่สนใจปลูกกัญชา ก็ควรจะไปยื่นขอปลูกกัญชาอย่างถูกต้อง และถูกกฎหมาย ด้วยการยื่นคำขออนุญาต ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและ กรุงทรวงสาธารณสุข

สำหรับสิ่งที่ต้องเตรียม เพื่อยื่นคำขออนุญาตปลูกกัญชา จะต้องมีคุณสมบัติ และเอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตดังนี้

  • ผู้ยื่นคำขอ: ไม่เคยมีประวัติการถูกดำเนินคดีที่มีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน
  • สถานที่เพาะปลูก: มีสถานที่, เลขที่ตั้ง และตำแหน่งที่ชัดเจน พร้อมระบบรักษาความปลอดภัย โรงเรือนต้องมีความแข็งแรง เพื่อป้องกันคนภายนอกบุกรุก
  • จัดทำแผนการผลิต: นอกจากแผนการผลิตแล้ว ยังรวมถึงแผนการจำหน่าย และการใช้ประโยชน์จากกัญชาอีกด้วย
  • วิธีการดำเนินการ: อาทิ แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์, วิธีการปลูก, การเก็บเกี่ยว รวมถึงระยะเวลากการปลูก เป็นต้น

อย่างไรก็ดี อาชีพที่เกี่ยวข้องกับกัญชา ถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะช่วยดึงเม็ดเงินเข้าประเทศไทย ได้อย่างมหาศาล แต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากไปเป็นข้อคิดให้กับทุกคน ก็คือ การใช้กัญชาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรับผิดชอบสูง และกระทำอย่างให้ถูกกฎหมาย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็ไม่เพียงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการใช้งานกัญชา เท่านั้น ทว่า ยังจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทย เติบโตอยางแข็งแกร่ง แบะยั่งยืนถาวรตลอดไป

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post