Digiqole ad

“สุขภาพแห่งชาติ” เดินหน้าโครงการ “พลังภาคีสร้างสังคมสุขภาวะ” รวมพลังผลักดันนโยบายสุขภาพเพื่อคนไทย

 “สุขภาพแห่งชาติ” เดินหน้าโครงการ “พลังภาคีสร้างสังคมสุขภาวะ” รวมพลังผลักดันนโยบายสุขภาพเพื่อคนไทย
Social sharing

Digiqole ad

สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รวมพลังภาคีเครือข่าย รวบรวมผลงานตลอดระยะเวลา 15 ปี ของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พร้อมถอดบทเรียนความก้าวหน้าที่เป็นรูปธรรม นำเสนอประสบการณ์ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในงาน 15 ปี สุขภาพแห่งชาติ “พลังภาคีสร้างสังคมสุขภาวะ” เพื่อนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และขับเคลื่อนแนวคิด “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” ให้เป็นรูปธรรม

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวในการจัดงาน 15 ปีสุขภาพแห่งชาติ “พลังภาคีสร้างสังคมสุขภาวะ” ว่า นับตั้งแต่ที่สังคมไทยมีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 จวบจนปัจจุบันนับเป็นเวลา 15 ปีแล้ว ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกลไกและกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายแบบมีส่วนร่วม โดยการขับเคลื่อนวิธีคิด สร้างจิตสำนึกสุขภาพใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่สังคมสุขภาวะ มีการขยายมิติสุขภาพที่กว้างขึ้นครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ กาย ใจ สังคม และปัญญา โดยมีภาคีเครือข่ายต่างๆ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ

โดยปีนี้ สช. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพกว่า 40 องค์กร นำผลงานจากการขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมตลอดระยะเวลา 15 ปี มานำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในงาน โดยมีการนําผลงานที่เป็นประสบการณ์และบทเรียน หรือความก้าวหน้าเชิงรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ อาทิ ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่และธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ การพัฒนาสิทธิหน้าที่ด้านสุขภาพของประชาชน การพัฒนากระบวนการสมัชชาสุขภาพทั้งเฉพาะพื้นที่/ประเด็นและ ระดับชาติ การมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จากนโยบายยุทธศาสตร์แผนงานและโครงการ ตลอดจนกิจกรรมการพัฒนาที่มีต่อสุขภาพ ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เสนอสู่สาธารณชน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในประเด็นด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศ ซึ่งจะนําไปสู่การกําหนดทิศทางการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในอนาคตร่วมกัน โดยงานนี้ยังถือเป็นการสร้างพลังภาคีเครือข่าย สู่การสร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และขับเคลื่อนแนวคิด“ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” ให้เป็นรูปธรรมด้วย

“การจัดงานในปีนี้จะเป็นรูปแบบลูกผสม หรือ Hybrid meeting โดยมีการถ่ายทอดสดการจัดงานผ่านสื่อออนไลน์ มีเนื้อหาหรือกิจกรรมสำคัญภายในงาน ประกอบด้วย นิทรรศการนำเสนอผลงานของภาคีเครือข่าย เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอภาพรวมการขับเคลื่อนงานที่ผ่านมา ความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม กระบวนการนโยบายสาธารณะในอนาคต ทิศทางและโอกาสการทำงานในอนาคต และท่านชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาให้เกียรติกล่าวปาฐกถาเปิดงานในหัวข้อ “การเมืองภาคพลเมือง กับการพัฒนาประเทศ” รวมทั้ง ศ.นพ.ประเวศ วะสี ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “15 ปี พลังภาคีสร้างสังคมสุขภาวะ” ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ นอกจากภาคีเครือข่ายต่างๆ จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์และพัฒนาปฏิรูประบบสุขภาพไทยในอนาคตแล้ว ยังทำให้เกิดความเข้าใจในทิศทาง และกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม และร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ในอนาคตอีกด้วย” นพ.ประทีป กล่าว

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 15 ปี ของการดําเนินงานตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่มุ่งหวังให้เกิดกลไก กระบวนการ และเครื่องมือ อันจะนําไปสู่การวางกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบายยุทธศาสตร์และการดําเนินงานด้านสุขภาพของประเทศนั้น สช. ได้ขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม สู่การปฏิบัติการสร้างสังคมสุขภาวะ โดยมีระบบการขับเคลื่อนวิธีคิด การสร้างจิตสํานึกสุขภาพใหม่ และการขยายมิติสุขภาพให้กว้างขึ้นครอบคลุม 4 มิติ ภายใต้หลักการปฏิรูประบบสุขภาพ และได้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทํางานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาไปสู่สังคมสุขภาวะร่วมกัน จนมีผลงานหลากหลายด้านเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม และสามารถขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ ซึ่งเห็นผลเป็นรูปธรรมมากมาย โดยมีจุดมุ่งหมายที่เน้น “สร้างสุขภาพ มากกว่าซ่อมสุขภาพ” รวมทั้งยังสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม โดยงาน 15 ปี สุขภาพแห่งชาติ “พลังภาคีสร้างสังคมสุขภาวะ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

Facebook Comments


Social sharing

Related post