Digiqole ad

สภาผู้บริโภค ยัน ข้อมูลการสู้คดีกรณีผู้บริโภคถูกบริษัทเงินกู้ ‘ศรีสวัสดิ์’ ฟ้องผิดสัญญาเงินกู้สินเชื่อจำนำโฉนด เป็นความจริงทุกประการ

 สภาผู้บริโภค ยัน ข้อมูลการสู้คดีกรณีผู้บริโภคถูกบริษัทเงินกู้ ‘ศรีสวัสดิ์’ ฟ้องผิดสัญญาเงินกู้สินเชื่อจำนำโฉนด เป็นความจริงทุกประการ
Social sharing

Digiqole ad

จากกรณีสภาผู้บริโภคเข้าช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำ และเป็นพยานในคดีที่ผู้บริโภคถูกบริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน) ฟ้องร้องเรื่องผิดสัญญาเงินกู้สินเชื่อจำนำโฉนด จนกระทั่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่าบริษัทฯ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้บริโภคได้ทำสัญญากู้และได้รับเงินจริง และสัญญาที่นำมาแสดงเป็นเอกสารปลอม (อ่านรายละเอียดได้ที่ : ผู้บริโภคชนะ! ศาลชี้ชัด ‘ศรีสวัสดิ์’ ใช้เอกสารปลอม)
.
แต่ในเวลาต่อมาบริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ออกมาชี้แจงว่า กรณีดังกล่าวไม่เป็นความจริง บริษัทไม่มีนโยบายการดำเนินงานและการกระทำดังกล่าวที่ขัดต่อหลักกฎหมาย โดยมีหลักฐานว่าลูกค้าคนดังกล่าวได้กู้ยืมเงินจากบริษัทจริง เช่น ภาพถ่ายขณะลงนามในสัญญา หรือหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชี พร้อมระบุว่าคดียังไม่สิ้นสุดจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าบริษัทได้ทำการปลอมแปลงเอกสารสัญญาเงินกู้ นั้น (อ่านรายละเอียดได้ที่ : SAWAD ย้ำจุดยืนธุรกิจไร้การปลอมแปลงเอกสารที่ขัดต่อกฎหมาย)
.
วันนี้ (2 ธันวาคม 2566) โสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค กล่าวว่า สภาผู้บริโภคขอยืนยันว่า ข้อมูลผลการต่อสู้คดีของผู้บริโภคที่เผยแพร่ออกไปเป็นความจริงทุกประการ พร้อมเรียกร้องให้บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมมาภิบาลตามที่กล่าวอ้าง และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมากำกับดูแลและจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อธุรกิจกู้ยืมเงินให้กับผู้บริโภค
.
“สภาผู้บริโภคขอให้บริษัทดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมมาภิบาลตามที่บริษัทกล่าวอ้าง และขอเรียกร้องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ออกมากำกับดูแลและจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ควรตรวจสอบธรรมาภิบาลของบริษัท เนื่องจากเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และกระทรวงการคลัง ที่ต้องตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของบริษัทเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค” โสภณกล่าวทิ้งท้าย

ช่วงเที่ยงวันที่​ 1​ ธ.ค.2566​​ เป็นตัวแทนคณะกรรมาธิการการเงิน​การคลัง​ สถาบันการเงินและตลาดการเงิน​ สภาผู้แทนราษฎร​ รับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มบุคคลผู้ได้รับเดือดร้อนจากการถูกบริษัทมหาชนชื่อดัง​ ที่ดำเนินธุรกิจ​การเงิน​ เงินทุน​และหลักทรัพย์​ ให้บริการสินเชื่อ​รายย่อยแบบมีหลักประกัน จำนำรถทุกประเภท​รวมถึงการให้บริการสินเชื่อประเภทที่อยู่อาศัย​ ฉ้อโกง​ ปลอมแปลงเอกสาร​ เปลี่ยนเพิ่มเติมวงเงินกู้​ ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนจากหนี้สินที่พุ่งขึ้นมากเกินความเป็นจริง​ ซึ่งจะนำเรื่องเสนอให้คณะกรรมาธิการพิจารณาบรรจุเข้าสู่วาระการประชุม​ และมีหนังสือเรียนเชิญหน่วยงานที่รับผิดชอบมาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการเงินการคลัง​ฯโดยด่วน

Facebook Comments


Social sharing

Related post