Digiqole ad

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ขอเชิญเข้าชม pre-launch นิทรรศการ “sacit concept 2024 : Geographical Indications of Art and Craft” ภายใต้กิจกรรม Crafts Design Matching มิติใหม่ในการสนับสนุนโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้ากลุ่มหัตถกรรม

 สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ขอเชิญเข้าชม pre-launch นิทรรศการ “sacit concept 2024 : Geographical Indications of Art and Craft” ภายใต้กิจกรรม Crafts Design Matching มิติใหม่ในการสนับสนุนโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้ากลุ่มหัตถกรรม
Social sharing

Digiqole ad

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. สร้างโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้ากลุ่มหัตถกรรมที่ได้ขึ้นทะเบียน GI และรวมถึงวัสดุ/วัตถุดิบที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ GI ที่จะมามีบทบาทสำคัญในการยกระดับมาตรฐาน เพิ่มมูลค่าของงานหัตถกรรมไทย สร้างโอกาสให้คนทำงานหัตถกรรมอยู่ดีกินดีเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังรวมไปถึงการปลุกกระแสการรักถิ่นฐานบ้านเกิด การดูแลรักษาหวงแหนภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีคุณค่าต่อคนรุ่นหลัง ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

โดยโครงการนี้ สศท. ได้ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรม 30 ราย และนักออกแบบ 10 ราย มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนิทรรศการการจัดแสดงผลงาน “sacit concept 2024” นี้ จะแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของ      ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่ถูกซ่อนอยู่ ผลิตภัณฑ์ที่จัดแสดงจะสะท้อนอัตลักษณ์เฉพาะของความเป็นไทย ซึ่งถือว่าเป็น soft power ของชาติที่ไม่มีใครเหมือนในโลก ผู้ที่เข้าชมจะได้สัมผัสกลิ่นอายของความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม วิถีและชีวิตของคนไทย ผสมผสานกับแนวคิดของโลกยุคใหม่ได้อย่างลงตัว

นางพรรณวิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่าปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่ผลิตในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมาก แต่ปัญหาที่พบคืองานหัตถกรรมไทยยังเข้าไปมีส่วนใน  วิถีชีวิตคนแบบกระจุกตัว ไม่ได้กระจายไปสู่คนในวงกว้าง ประกอบกับปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกระทบ มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญกับหลายภาคส่วน และรวมถึงงานฝีมือด้วย

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มีของโครงการ sacit concept ที่สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่สืบสาน สนับสนุน ส่งเสริมให้งานหัตถกรรมไทยโตได้อย่างยั่งยืน ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะเป็นผู้นำทาง ชี้ช่องทางและเปิดแนวคิดมุมมองใหม่ ๆ ให้กับคนทำงานหัตถกรรมได้มีโอกาสสร้างรายได้ สร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรม “Crafts Design Matching” การจับคู่ทำงานร่วมกันระหว่างผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมกับนักออกแบบร่วมกันทำงานผ่านแนวคิดการออกแบบ “GI Smart Craft Combinations” ซึ่งมุ่งเน้นให้การออกแบบสร้างสรรค์ของการหยิบใช้วัสดุ/วัตถุดิบ หรือกระบวนการเฉพาะตัวในภูมิปัญญาเชิงช่างในท้องถิ่นที่ซ่อนเร้นอยู่ในพื้นที่ของตนเองได้นำเสนอผ่านผลงานอย่างชาญฉลาด

อีกทั้งยังร่วมกันพัฒนางานหัตถกรรมผ่านผลิตภัณฑ์จากการใช้ทุนวัฒนธรรมในแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (พื้นที่GI) ของตนเอง เข้ามาผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนางานออกแบบสินค้า เพื่อสะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะสร้างคุณค่า ความโดดเด่น ความแตกต่างให้กับสินค้า ผ่านการเล่าเรื่อง (story telling) เหล่านี้สามารถทำให้เกิดความเป็น Authentic Brand และกลายเป็นจุดแข็งของการผลักดันรูปแบบผลิตภัณฑ์จากแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ที่จะสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระดับชุมชนและพัฒนาเป็นสินค้าหัตถกรรมสู่การท่อง เที่ยวในระดับโลกได้ ทำให้ผู้ผลิตในชุมชนสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจให้ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐซึ่งกันและกันโดยเฉพาะด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยว รวมไปถึงการยกระดับองค์ความรู้/เทคนิค/วิธีการในภูมิปัญญาวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่อาจจะไม่เคยมีใครได้พบเห็น ได้นำมาเปิดเผยอย่างเป็นรูปธรรมผ่านประเภทสินค้าในผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่จะสื่อสารให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวได้นำไปสู่การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากรากฐานภูมิปัญญาสู่งานคราฟต์ยุคใหม่ ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่จะสร้างและเพิ่มมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจและพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

โครงการ sacit concept 2024 กำหนดจัด pre-launch นิทรรศการแสดงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 2567 นี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 22.00 น. ณ ไอคอนสยาม โซนไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ให้ผู้ที่สนใจการขยายโอกาสทางการค้า การเปิดมุมมองในการทำงานหัตถกรรมที่ร่วมสมัย การรับทราบองค์ความรู้ เทคนิคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยในยุคปัจจุบันในมุมต่าง ๆ อาทิ ประโยชน์ของการนำวัสดุ/วัตถุดิบในพื้นที่ GI มาพัฒนารูปแบบงานเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรม การสกัดทุนทางประวัติศาสตร์/วัฒนธรรมท้องถิ่น ทุนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้น ๆ  มาประยุกต์ใช้การพัฒนาสินค้าออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืน

ในการนี้ ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยในยุค 5.0 สามารถติดตาม “การจัดแสดงนิทรรศการแสดงต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ได้ในงานแสดงสินค้า Crafts Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 24 – 28 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา

Facebook Comments


Social sharing

Related post