Digiqole ad

วิน ทุก เว(ที) Ways to Win EP7 : ครูปิ่น-ปิ่นศิริ ศิริปิ่น แนะนำ 6 เทคนิคการร้องเพลงสากลสไตล์ “โก๋หลังวัง”

 วิน ทุก เว(ที) Ways to Win EP7 : ครูปิ่น-ปิ่นศิริ ศิริปิ่น แนะนำ 6 เทคนิคการร้องเพลงสากลสไตล์ “โก๋หลังวัง”
Social sharing
Digiqole ad

เพิ่งจะแถลงข่าวไปไม่นานสำหรับโครงการประกวดร้องเพลงยุค “โก๋หลังวัง” ของศาลาเฉลิมกรุง โดยมี คุณนฤมล ล้อมทอง กรรมการผู้จัดการโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง, อ.วิรัช อยู่ถาวร (ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2560 ) ผู้ควบคุมวง Big Band  “เฉลิมราชย์” ที่รวมนักดนตรีฝีมือเก๋า  และ คุณวิชัย ปุญญะยันต์ (หัวหน้าวงพิงค์เเพนเตอร์) ร่วมกันจัดขึ้นมาเป็นครั้งแรก ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ใช้ความสามารถทางการร้องเพลงสากล เเละใช้ภาษาในการร้องเพลงสากลได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งเป็นการร่วมสืบสานตำนานเพลงยุคโก๋หลังวัง โดยการสานต่อจากรุ่นสู่รุ่น

ทั้งนี้มีคณะกรรมการตัดสิน อาทิ คุณวินัย พันธุรักษ์ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2562, คุณสมชัย ขำเลิศกุล (ฉ่าย กำปะนี), คุณเล็ก เพรสลี่ย์, คุณเมธินี อ่วมเจริญ และ คุณวสุ แสงสิงแก้ว รวมถึงศิลปินคุณภาพ  คุณทิพย์รมิดา พันตาวงษ์กบิล (พลอย) นักร้องแชมป์ศาลาเฉลิมกรุง ปี 2545 และแชมป์ The Golden Song ซีซั่น 4,คุณภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ (สปาย) นักร้องแชมป์ศาลาเฉลิมกรุง ปี 2549 และรองแชมป์ The Golden Song ซีซั่น 1 และ คุณศตวรรษ ตุงคะรัต (เเคมป์) ศิลปินนักร้องเอลวิส ทายาทเอลวิสเมืองไทย วิสูตร ตุงคะรัต มาร่วมเชิญชวนเยาวชนหญิง-ชายเข้าร่วมประกวดโครงการดี ๆ ครั้งนี้ ซึ่งอยู่ในระดับตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงอายุไม่เกิน 30 ปี เปิดรับสมัครตั้งเเต่วันนี้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 0-2225-8757-8 เเละติดตามรับข่าวสาร การประกวดพร้อมสมัครทางออนไลน์โดยการสแกน QR Code ศาลาเฉลิมกรุง

ในโอกาสนี้จึงขอแนะนำเทคนิคในการร้องเพลงสากลในยุคหรือสไตล์ “โก๋หลังวัง” ซึ่งที่มาของ “โก๋หลังวัง” เกิดมาจากวัยรุ่นไทยแถวๆ หลังวังบูรพา ในยุคทศวรรษ 1960 โดยวังบูรพาถูกกล่าวขานกันว่าเป็นวังที่ไม่เคยหลับ เพราะมีการจัดงานรื่นเริงสังสรรค์เป็นประจำ เป็นที่ชุมนุมของบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทันสมัย รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มางานเต้นรำของวังบูรพาเป็นประจำ ในช่วง พ.ศ. 2499 – 2500 ย่านนี้ได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นหนุ่มสาวทันสมัย เรียกว่าเป็น “โก๋หลังวัง” วัยรุ่นกลุ่ม “ปุ๊ ระเบิดขวด” โดยนักเพลงสากลที่ทรงอิทธิพลทั้งด้านเพลงและการต่งกาย อาทิ เอลวิส เพรสลีย์ และ เจมส์ ดีนส์ ทุกวันนี้ศูนย์การค้าและโรงภาพยนตร์เหล่านั้นล้วนเลิกกิจการไปหมดแล้ว แต่ย่านดังกล่าวก็ยังคงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “วังบูรพา

ซึ่งข้อแนะนำมี 6 ข้อด้วยกันคือ

  1. ออกเสียงให้สมบูรณ์ (Pronunciation) โดยการออกเสียงร้องระหว่างเพลงไทยกับเพลงสากลนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะการใช้คำสะกด การออกเสียงโดยใช้เพดาน ลิ้น และริมฝีปาก จะต้องเรียนรู้ให้จริงจังว่า การออกเสียงที่ถูกต้องอย่างเป็นสากลเป็นอย่างไร เรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญ
  2. เพิ่มพูนการเคลื่อนไหว (Stage Performance) มีศิลปะการใช้ประโยชน์จากเวทีให้ครบถ้วน มีมิติ การเคลื่อนไหว (movement) เพื่อเป็นการดึงดูดสายตาของคณะกรรมการและผู้ชม
  3. มีสไตล์ให้โดดเด่น (Create your own style/Unique) ไม่ควรใช้การเลียนแบบศิลปิน แต่เราดูและฟังต้นแบบแค่เป็นตัวอย่างหรือแนวทางในการร้องเพลงที่ร้องในแบบฉบับที่เป็นตัวของตัวเอง

 

     4.เน้นภาษากายให้สวยมั่น (Body language) เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการร้องหรือประกวดร้องเพลงสากล ซึ่งค่อนข้างทำให้การร้องเพลงดูครบเครื่อง ที่นอกเหนือไปจากแสง สี การแสดงออกทางด้านร่างกาย ควรให้เหมาะสมและให้เป็นไปตามบทเพลงนั้น ๆ เช่น เพลงเต้นต้องหาจุดขายในการเต้นที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นท่อนที่สามารถสร้างจุดเด่นของเพลงได้

  1. พิถีพิถันในการแต่งกาย (Costume) เสื้อผ้ารวมถึงเครื่องแต่งกาย ต้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับช่วงสมัยของเพลง เช่น เพลงยุคโก๋หลังวัง เป็นต้น
  2. สร้างจุดขายให้ประทับใจ (Selling point) เพลงแต่ละเพลงนั้นล้วนแต่มีจุดขาย เช่น การโชว์เสียงสูงมาก ๆ ด้วยการใช้เสียงหลบ เสียงเฮดโทน เสียงโหน หรือ เพลงที่โชว์พราว ด้วยการลากเสียงและลมหายใจยาว ๆ หรือแม้แต่แนวเพลงเต้น เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นักร้องประกวดมีความโดดเด่น คณะกรรมการจดจำคุณได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญหากคุณชนะหรือได้รับรางวัลใด ๆ  คุณจะกลายนักร้องประจำหรอในสังกัดโครงการนั้น ๆไปโดยปริยาย

ในท้ายที่สุดอยากจะข้อคิดว่า

       1. เพศใดได้เปรียบ : จริง ๆ แล้วในประกวดการร้องเพลง ผู้เข้าประกวดไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชายชายหญิง ไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบกัน แต่ขึ้นอยู่กับศักยภาพและการเลือกเพลง ที่โดนและ เหมาะสมกับตัว เอง ตลอดจนการเลือกจุดขายที่โดดเด่นออกมาให้โชว์ให้ได้อย่างมีรประสิทธิภาพ

       2.เทียบเพลงยาก-เพลงง่าย อะไรดีกว่า : ตรรกะที่ว่า เลือกร้องในเพลงที่ยากจะได้คะแนนมากกว่าเพลงที่ง่าย นับว่าเป็นความเชื่อที่ผิดๆ เป็นดาบสองคม โอกาสที่จะพลาดนั้นสูงมาก ๆ ถึงจะซ้อมมามากแค่ไหน เวลาไปร้องเพลงต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งเขาสันทัดกรณีจริง ๆ ส่วนมากจะตื่นเต้นและตื่นเวที นำไปสู่อาการประหม่า ดังนั้นต้องเลือกเพลงที่เราชอบ ต้องร้องคล่อง ร้องอยู่เป็นประจำ มีความชำนาญ สามารถดึงจุดขายออกมาให้ได้เวลาอยู่บนเวที การเลือกร้องเพลงยากไม่ใช่สิ่งที่ดีในการร้องเพลงประกวด

       3.ตายล่ะหว่า! เกิดเหตุไม่คาดฝัน : การผิดพลาดบนเวทีมี 2 แบบ คือ 1.เกิดจากตัวเรา นักร้องเพลงที่มีชั่วโมงบินสูง ยังมีร้องผิดพลาดได้ เช่น ร้องผิดท่อน ดังนั้นต้องควบคุมสติให้ดี มั่นคง ไม่เหวอ  2.เกิดจากสิ่งรอบตัวเรา เช่น ไมค์ดับ อุปสรรคต่าง ๆ นานาบนเวที ดนตรีมีปัญหา เราต้อง the show must go on การร้องเพลงยังคงต้องดำเนินต่อไป เราต้องประคองเพลงของเราต่อไปให้ได้ ไม่มีการหยุดร้อง

       4.มุ่งมั่นสร้างกำลังให้ตัวเอง : วิธีสร้างกำลังใจให้ตัวเองคือ เมื่อตั้งใจประกวด สิ่งที่ดีที่สุดคือต้องท่องไว้ในใจเลยว่า “เราต้องชนะ” ถ้าไม่คิดว่าเราต้องชนะ จะไปประกวดทำไมให้เสียเวลา ไม่ต้องสนใจ คู่แข่ง ๆ จะเป็นใครก็ตาม ต้องไม่บั่นทอนกำลังใจตัวเอง ด้วยการไปมองว่าเขาเก่งกว่า คุณก็มีจุดขาย ถ้าหากคุณร้องเพลงยุคโก๋หลังวังได้ แสดงว่า คุณต้องเป็นคนไม่ธรรมดามีความสามารถเป็นต้นทุนอยู่แล้ว…

                                              0 ครูปิ่น-ปิ่นศิริ ศิริปิ่น 0

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ 370 วันที่ 10-16 มีนาคม 2566 https://book.bangkok-today.com/books/zpgh/#p=33

 

 

Facebook Comments

Related post