Digiqole ad

วช.ผนึก ม.ศิลปากร ส่งมอบงานวิจัย ผลักดัน จ.เพชรบุรี เป็นเมืองท่องเที่ยวสร้างสรรค์

 วช.ผนึก ม.ศิลปากร ส่งมอบงานวิจัย ผลักดัน จ.เพชรบุรี เป็นเมืองท่องเที่ยวสร้างสรรค์
Social sharing

Digiqole ad

วันที่ 23 กันยายน 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรมส่งมอบผลการดำเนินงานการวิจัยในการนำไปใช้ประโยชน์ของจังหวัดเพชรบุรี และการเปิดนิทรรศการ “ผลการวิจัยชุมชนต้นแบบจังหวัดเพชรบุรีเมืองสร้างสรรค์” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นผู้รับมอบ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และผศ.ดร.ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ส่งมอบ พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยงแห่งประเทศไทยสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี และรองศาสตราจารย์ประสพชัย พสุนนท์ หัวหน้าโครงการวิจัย ให้เกียรติเข้าร่วมงาน ณ โรงแรมรอยัลไดมอน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พร้อมเยี่ยมชมชุมชนต้นแบบ และศูนย์ให้บริการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชน

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า “ วช. ในฐานะหน่วยงานให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม แก่โครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะ ส่งผลสำเร็จของโครงการวิจัยที่จะส่งมอบในวันนี้ ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ถือเป็นโครงการหนึ่งที่สนับสนุนงานของ วช. ในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาในระดับพื้นที่จังหวัดที่ สะท้อนผลสำเร็จของการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานระดับนโยบาย หน่วยงานภาคปฏิบัติ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ องค์กร ชุมชน และภาคประชาสังคม นับเป็นการเชื่อมร้อย เชื่อมต่องานพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการเชื่อมโยงงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนจังหวัดเพชรบุรีสู่เมืองสร้างสรรค์ และ คาดหวังว่าผลจากงานวิจัย จะสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ประโยชน์ได้ทุกภาคส่วน ช่วยส่งเสริมให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนและผู้ประกอบการ รวมถึงส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถต่อยอดเชิงธุรกิจ และส่งเสริมเศรษฐกิจในจังหวัดเพชรบุรีต่อไปได้ ”

ด้วยเสน่ห์ของจังหวัดเพชรบุรี ที่มีความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม อาหาร กระทั่งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ มีต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรม ที่บ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จึงได้สนับสนุนทุนวิจัย เรื่อง “การพัฒนาชุมชนต้นแบบด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และยั่งยืนเพื่อยกระดับจังหวัดเพชรบุรีสู่เมืองสร้างสรรค์” ของ รศ.ดร.ประสพชัย พสุนันท์ แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะ ซึ่งผลงานวิจัยสามารถตอบสนองการพัฒนายุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์จังหวัดเพชรบุรีได้เป็นอย่างดี ภายใต้ 8 กิจกรรมหลัก อาทิ ยุทธศาสตร์เมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดเพชรบุรี ศิลปะประยุกต์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและเยาวชนสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ อาหารผสานศิลป์: สำรับเมืองเพ็ชร์และนวัตกรรมอาหาร เป็นต้น

คณะนักวิจัย ได้ดำเนินการวิจัย ในชุมชนเป้าหมาย 3 แห่ง ได้แก่ ชุมชนคลองกระแชง ชุมชนซอยตลาดริมน้ำ และชุมชนวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรีสามารถนำงานวิจัยไปใช้เป็นกรอบในการปรับยุทธศาสตร์หลักของจังหวัด ในการตอบสนองภารกิจเร่งด่วนในการเสนอตัวและเข้าสู่สมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ด้านวิทยาการอาหาร Creative City of Gastronomy อันเป็นเป้าหมายสำคัญในการยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดไปสู่ระดับสากล โดยจังหวัดเพชรบุรีติดอันดับ 1 ใน 5 จังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนมากที่สุด แต่ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะกระจุกตัวอยู่ที่ อำเภอชะอำ จึงมีแนวคิดว่าจะทำให้เกิดการกระจายการท่องเที่ยวสู่พื้นที่อื่น ๆ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตามคติพจน์ที่ว่า “ต่อยอดอดีต ปรับปัจจุบัน สร้างคุณค่าสู่อนาคต”

นอกจากนี้ทีมนักวิจัยยังช่วยกันพัฒนาการท่องเที่ยวตามบรรทัดฐานใหม่ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับความสะดวกและปลอดภัย โดยนักท่องเที่ยวจะได้เห็นจุดเช็คอินในชุมชนเมืองเก่ามากขึ้น และมีกิจกรรมท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์ ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และจะสร้างจุดถ่ายจุดใหม่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในจังหวัดเพชรบุรี โดยเป้าหมายของโครงการวิจัยที่จะสร้างอาชีพใหม่หรืออาชีพเสริมให้แก่ชุมชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่บ้านและพร้อมต้อนรับผู้คน ซึ่งคนกลุ่มนี้สามารถเป็นนักเล่าเรื่อง นักสื่อความหมายหรือนำเที่ยวได้ เพราะสามารถอธิบายถึงวิถีชีวิต อาหาร ร้านอาหาร วิถีการกินที่มีอยู่ในชุมชน เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่วิถีดั้งเดิมของชุมชน

พร้อมกันนี้ ดร.วิภารัตน์ฯ และคณะผู้บริหาร ได้เยี่ยมชมนิทรรศการ “ชุมชนต้นแบบจังหวัดเพชรบุรีสู่เมืองสร้างสรรค์” และ”ศูนย์ให้บริการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชน” โดย วช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยจะสามารถผลักดันการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรีให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ในวงกว้าง และตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post