Digiqole ad

รวมการเฉพาะกิจทีม “วินทุกเว(ที) Ways to Win” ตอนพิเศษ EP:29 “ดร.บ๊อบ จุมพล” ประเดิมคนแรกกับเรื่องราว…ไม่มีความสำเร็จใดที่ยั่งยืน หากเกิดจากการ “เนรคุณ” (ตอน 1)

 รวมการเฉพาะกิจทีม “วินทุกเว(ที) Ways to Win” ตอนพิเศษ EP:29 “ดร.บ๊อบ จุมพล” ประเดิมคนแรกกับเรื่องราว…ไม่มีความสำเร็จใดที่ยั่งยืน หากเกิดจากการ “เนรคุณ” (ตอน 1)
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์ฉบับที่ 396 วันที่ 8-14 กันยายน 2566

หน้า 33 คอลัมน์วินทุกเว(ที) Ways to Win EP:29

 

ไม่มีความสำเร็จใดที่ยั่งยืน

หากเกิดจากการ “เนรคุณ” (ตอน 1)

 

“…อย่าทำผิด คิดเนรคุณ คนหนุนเกื้อ

คอยช่วยเหลือ เอื้อยามยาก ลำบากหลาย

สองมือเขา เข้าประคอง ผองทุกข์คลาย

ด้วยมุ่งหมาย ให้หายโศก กลับโชคดี

ถ้ายังไม่ ได้แทนคุณ เขาหนุนเนื่อง

อย่าทำเรื่อง ให้เคืองขุ่น วุ่นหน่ายหนี

ไม่แว้งกัด ซัดเขาซม จมปฐพี

บุญคุณนี้ ต้องมีจำ ล้ำแทนคุณ…”

          ทีมโค้ช “วินทุกเว(ที)” กลับมารวมการเฉพาะกิจอีกครั้งในโจทย์ที่น่าจะโดนใจใคร ๆ หลายคนคือ …ไม่มีความสำเร็จใดที่ยั่งยืนหากเกิดจากการ “เนรคุณ”… คิวแรกตามฉันทามติคือ “ดร.บ๊อบ-จุมพล โพธิสุวรรณ” ที่มาพร้อมกับการขึ้นต้นด้วยบทกลอนที่แต่งเอง

 

 

เริ่มกันเลยดีกว่า….ต่อประเด็นที่จั่วหัวในตอนนี้และอีก 3 ตอนข้างหน้า พวกเราชั่งใจอยู่นานว่า ควรจะแหวกออกมาจากโลกสวย “ทุ่งลาเวนเดอร์” กันบ้าง ซึ่งพวกเราตกผลึกความคิดกันว่า เราจะนำเรื่องการ “เนรคุณ” ของเด็ก ๆ ในวงการบันเทิงที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ในมุมมองของทีมโค้ชวินทุกเว(ที) ทั้งจากประสบการณ์ตรงและอ้อม มาเล่าเป็นอุทาหรณ์สอนใจ

“เด็กเน” สำหรับวงการบันเทิงแล้วไม่ได้หมายถึง เด็กเรียนจบกฎหมาย “เนติบัณฑิต” แต่หมายถึง “เนรคุณ” แต่ในหมู่ชาวเราชาวสีม่วงจะเรียกว่า “เนเน่” ซึ่งในมุมมองของ ดร.บ๊อบแล้วจะพูดถึงเด็กที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันแย่ ๆ เหมือน “ตักน้ำรดตอไม้ยักษ์” และเป็นเหมือน “ชาวนากับกองทัพงูเห่า” โดยจะขอแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามคำหมายภาษาอังกฤษ ‘UNGRATEFUL’ ที่แปลว่า เนรคุณ ดังนี้

  1. U-Universe : ประเภทที่ชอบถามทางไป “จักรวาล” แต่ดูรสนิยมเอาแค่ “ดาวลูกไก่(กาอาราเล่)” ก็พอเถอะ เด็กพวกนี้ชอบคิดการณ์ใหญ่ แต่ไม่พร้อมที่จะรับสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิตหรือให้เรารู้สึกว่าน่าจะส่งเสริมและสนับสนุน ชอบทำตัว “น้ำล้นแก้ว” รู้ดีไปหมดทุกสิ่งอย่าง พอเราเข้มงวดและปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ใหม่ ก็รับไม่ได้ ไม่อยากเรียนหรืออยู่กับเรา สุดท้ายก็ถอนหงอกเรา เอาเราไปฟ้อง ไปโพสต์ด่า และนินทาลับหลังอย่างเสีย ๆ หาย ๆ  ให้คนโน่น คนนี้ฟัง  ซึ่งเรื่องราวเหล่าก็มีคนนำกลับมาเล่าให้เราฟังแล้วเตือนว่า “…ระวังเด็กคนนี้ให้ดีนะ เค้าเอาพี่ไปด่าลับหลัง…”
  2. N-Never : เมื่อถามว่าเคยทำเคยเป็นอะไรมาก่อนมั้ย!?! เด็กก็จะตอบว่า “ไม่เคย” ซึ่งการที่ถามนั้นไม่ได้มีจุดประสงค์สำคัญที่ต้องการไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่ต้องการรู้ไว้เพื่อเก็บเป็นข้อมูลไว้ใช้เป็นประโยชน์ต่อเด็กในกาลข้างหน้า “ที่มันไม่ดีก็ให้แก้ไขปรับปรุง ที่ดีแล้วให้พัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ” เรื่องมีอยู่แค่นี้ ไม่ได้หมายจะเอาไปทำงานวิจัยสักหน่อย แต่เอาเราไปพูดว่าร้าย ประมาณว่า “พ่อแม่กรูยังไม่ถามอะไรซอกแซกอะไรแบบนี้เลย”
  3. G-Guile : เด็กที่มี “เล่ห์เหลี่ยมและกลโกง” เนี่ยก็น่ากลัวอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว มีทั้งจับโป๊ะได้และจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน บางครั้งเรารู้ทั้งรู้ แต่อยากทดสอบลองใจ เด็กก็แกล้งทำตัวใสซื่อบริสุทธิ์ แบบนี้คงคบกันในระยะยาวไม่ได้ ซึ่งเป็นจริงอย่างที่คาดไว้ไม่มีผิด คิดดูแล้วกันรู้จักกันไม่ได้ทันไรก็ “ตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จ” ขอยืมตังค์กันแล้ว เอาเข้าให้สิ
  4. R-Razor : เด็กทำตัวเหมือน “มีดโกน” คมกริบ พูดจาอะไรออกมาแบบปากดีไม่คิด ทั้ง ๆ ที่เราสอนให้พูดแบบรู้จักคิด บางทีบาดเราเลือดออกซิบ ๆ เลย ซึ่งก็ไม่ได้โชว์ความฉลาด ไปพูดที่ไหนรังแต่สร้างความน่ารังเกียจแก่ตัวเด็ก และน่าอับอายสำหรับผู้สอนอย่างเรา ๆ แต่บางทีเอาเราไปกรีดโชว์ให้คนอื่นได้เข้าใจเราผิดด้วยนะ
  5. A-Advantage : เด็กที่มาพร้อมกับ “ผลประโยชน์” ยังไม่ได้ทันได้ทำงานเลยถามละว่า จะได้เงินเท่าไหร่ หักกี่เปอร์เซ็นต์ จริง ๆ แล้วก็เป็นเรื่องที่ควรถาม แต่เด็กไม่รู้จักกาลเทศะ พอเราสอนก็หาว่าไปหักหน้า แถมยังเอาเรื่องจากสังกัดมานินทาว่า.. “หักเปอร์เซ็นต์เยอะเกิน แล้วไม่รู้ว่ารับมาเยอะแต่บอกน้อยหรือเปล่า ?..” แล้วลับหลังตูจะโดนด้วยมั้ยเนี่ย!
  6. T-Talk ative : คงไม่มีใครที่ชอบ “คนพูดมากและขี้คุย” ซึ่งมีโอกาสที่จะนำผลเสียมาให้เราทั้งในปัจจุบันและอนาคต เข้าวงสนทนาไหนมีแต่คนไม่ชอบขี้หน้าและหมั่นไส้อีกต่างหาก เอาแต่เราคนสอนยังไม่ชอบเลย บางคนเตือนแล้วไม่ฟัง “กรูจะเป็นของกรูแบบนี้ มันคือตัวตนของกรู” งั้นก็เชิญป้ายหน้าเลยจ้า
  7. E-Emotion : เป็นเด็กที่มี “อารมณ์” สุดสวิงริงโก้ ทำเอาเราในขณะสอนสะดุ้งเป็นพัก ๆ ทั้ง ๆ ที่เราสอนให้รู้จักมีการพัฒนา “วุฒิภาวะทางอารมณ์”  (Emotional Quotient-EQ) กระทั่งเคยถูกเด็กยอกย้อนก็มี เคยพาออกงานด้วย แล้วขึ้นเสียงตะคอกใส่เราต่อหน้าธารกำนัลก็มี เอาเข้าให้สิ!
  8. F-Fairy : ประเภท “ลูกเทพเทวดา” อุตส่าห์สอนให้เป็นเด็กดีมีน้ำใจ คอยเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น ก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ทำตัวราวกับเทวดาไม่ติดดิน นึกว่าตัวเองดังระเบิด ฝากไปทำงานที่ไหนก็มีแต่เจ้าของงานหรือทีมงานโทร.กลับมาต่อว่าเรา “เฮ้อ! พระเจ้าจอร์จมรึงยอดมาก”
  9. U-Uncivil : “ไม่มีความเป็นสุภาพชน” หลงเหลืออยู่เลย เอ๊ะ! มันเป็นความล้มเหลวในการสอนของเราหรือไม่ แต่คงไม่นะ เพราะเด็กสอนเท่าไหร่ไม่เคยจะจำใส่รอยหยักสมอง เหมือน “ตักน้ำใส่ตุ่มรั่ว” ทีนี้ฟีดแบ็กลบ ๆ กลับมาบานเลย ไม่รู้ว่าจะเอาหน้าไปมุดในตุ่มรั่วที่ไหน?
  10. L-Lazy: มอบหมายอะไรให้ไปทำเป็นการบ้าน ก็ “ขี้เกียจ” จะทำ นับประสาอะไรจะไปทำงานในกองหนังกองละครเขา ปากบอกว่าทำการบ้านมา แต่พฤติกรรมมันฟ้องว่า คุณไม่ได้ทำ..จบมะ! แถมยังพูด “เอาดีเข้าตัว ปัดชั่วให้คนอื่น” แบบเห็น ๆ อย่างนี้อีกหน่อยเราก็คงไม่รอดตกเป็นเหยื่อ

            เรื่องก็ขอจบแบบห้วน ๆ ขอส่งต่อให้โค้ชท่านอื่นในสัปดาห์หน้าครับ!

                                เรื่อง/เรียบเรียง : ดร.จุมพล โพธิสุวรรณ

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post