Digiqole ad

“รมว.ชัยวุฒิ” เดินหน้าเปิดตัวการใช้งาน Health Link รูปแบบใหม่ ตั้งเป้านำร่องกับโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เดือน พ.ค.นี้

 “รมว.ชัยวุฒิ” เดินหน้าเปิดตัวการใช้งาน Health Link รูปแบบใหม่ ตั้งเป้านำร่องกับโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เดือน พ.ค.นี้
Social sharing
Digiqole ad

26 เมษายน 2566, กรุงเทพมหานครรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ พร้อมด้วยผู้บริหาร GBDi    สังกัดดีป้า สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ร่วมเปิดตัวการ ใช้งาน Health Link รูปแบบใหม่ เพื่อเป็นช่องทางการลงทะเบียนและให้ความยินยอมในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพ เข้าสู่ระบบแก่ประชาชนโดยสะดวกด้วยบัตรประชาชนเพียงใบเดียวในการลงทะเบียน ณ จุดบริการที่แผนกต่าง ๆ และแผนกเวชระเบียนของโรงพยาบาล เล็งนำร่องกับโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มแรกพฤษภาคมนี้

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมด้วย รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) หน่วยงานผู้พัฒนา Health Link ระบบเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล
ทั่วประเทศ สังกัด สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดตัวการใช้งาน Health Link รูปแบบใหม่ โดยเพิ่มช่องทางการลงทะเบียนและให้ความยินยอมในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพเข้าสู่ระบบแก่ประชาชน พร้อมรับชมกิจกรรมสาธิตการใช้งาน ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โดยมี ดร.นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร
รองปลัดกรุงเทพมหานคร นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ นพ.พรเทพ แซ่เฮ้ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดร.ศุภกร สิทธิไชย ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสดีป้า และ นพ.ธนกฤต จินตวร รองผู้อำนวยการ GBDi ร่วมงานโดยพร้อมเพรียง

นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลฯ โดย GBDi มุ่งมั่นมอบความสะดวกให้กับประชาชนในการลงทะเบียนและให้ความยินยอมในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพของตนเองเข้าสู่ระบบ Health Link ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะประชาชนบางกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือใช้งานแอปพลิเคชันไม่คล่อง ทำให้ไม่สามารถลงทะเบียนเข้าสู่ระบบได้ ดังนั้นทีมงาน Health Link จึงพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ที่ทำให้การลงทะเบียนและให้ความยินยอมในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพของตนเองเข้าสู่ระบบเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วด้วยการใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว     ณ จุดบริการที่แผนกต่าง ๆ รวมถึงแผนกเวชระเบียนของโรงพยาบาลนั้น ๆ โดยจะนำร่องปฏิบัติการร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 11 แห่งเป็นกลุ่มแรกในเดือนพฤษภาคมนี้

ขณะที่ รศ.ดร.ธีรณี กล่าวต่อว่า รูปแบบการให้บริการของ Health Link ที่เปิดตัวในวันนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงระบบเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติสุขภาพและการรักษาระหว่างโรงพยาบาลได้ง่ายขึ้น และยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการเชื่อมต่อข้อมูลประวัติการรักษาโดยแพทย์สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ทันทีที่ผู้ป่วยลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ จากเดิมที่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า 1 วัน

ปัจจุบันมีโรงพยาบาลทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ Health Link แล้วกว่า 300 แห่ง โดยในปี 2566 ตั้งเป้าหมายเพิ่มการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลให้ครอบคลุมมากกว่า 200 แห่ง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้ารับบริการ โดยปีที่ผ่านมา GBDi ได้ส่งเสริมให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ Health Link
เพื่อยินยอมให้โรงพยาบาลส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยไว้ในระบบผ่านแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ ในหมวดสิทธิที่น่าสนใจฟีเจอร์กระเป๋าสุขภาพ และตอนนี้สามารถมาลงทะเบียนที่โรงพยาบาลได้
ผู้อำนวยการ GBDi กล่าว

สำหรับประชาชนสามารถศึกษารายละเอียดต่าง ๆ และติดตามข้อมูลข่าวสารความคืบหน้าการพัฒนาระบบ Health Link ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก HealthLink.go.th และเว็บไซต์ www.healthlink.go.th

ปัจจุบัน GBDi อยู่ระหว่างจัดตั้งเป็น สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Institute) ในการเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย พร้อมยกระดับทักษะบุคลากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเป็นประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศในอนาคต

———————————————————————

ข้อมูลเพิ่มเติม :

Health Link เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ (Health Information Exchange) ที่มีประสิทธิภาพด้วยระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์ตามมาตรฐานสากล มีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยยกระดับบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน ไม่ว่าจะเจ็บป่วยหรือเกิดเหตุฉุกเฉินที่ใดก็สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ทันที โดยแพทย์สามารถสืบค้นข้อมูลผู้ป่วย Health Link ทำให้ไม่ต้องเสียเวลารอการส่งข้อมูลจากโรงพยาบาลเดิมของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยและการวางแผนรักษารวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนกรณีที่ต้องการย้ายโรงพยาบาลจะดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว         เพราะข้อมูลประวัติการรักษาจะตามตัวผู้ป่วยไปในทุกที่

 

 

Facebook Comments

Related post