Digiqole ad

มาดามโอเมาธ์ระเบิด “อนิจจา ! ครูยุคดิจิทัล ชอบ“เวิ้นเว้อ” หน้าเฟส”

 มาดามโอเมาธ์ระเบิด  “อนิจจา ! ครูยุคดิจิทัล  ชอบ“เวิ้นเว้อ” หน้าเฟส”
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์ฉบับที่ 418 วันที่  9-15 กุมภาพันธ์ 2567

หน้า 36 มาดามโอ/เมาธ์ระเบิด

อนิจจา ! ครูยุคดิจิทัล

ชอบ“เวิ้นเว้อ” หน้าเฟส

            ว่ากันว่า การเป็น “ครู” ในสมัยก่อนนั้นเป็นกันยาก ต้องสอบคัดเลือกกัน แล้วถ้าหากใครได้เป็น ก็เป็นกันไปตลอดชีวิต ไม่มีวันเกษียณตามอายุราชการ สิ้นบุญไปแล้ว ลูกศิษย์ลูกหา ตลอดจนชาวบ้านชาวช่อง ก็ยังเรียกว่า “ครู” อยู่วันยังค่ำ !

หันมามองในสมัยนี้ใคร ๆ ก็เป็นครูกันได้ง่ายมาก ไม่ต้องไปสอบก็สถาปนาตัวเองขึ้นเป็น “ครู” กันได้อย่างสบายใจเฉิบ โนสนโนแคร์ใคร

เราเห็นครูเกลื่อนกันบนโซเชี่ยลมีเดีย โดยเฉพาะครูสอนเดินแบบและครูสอนการแสดง อุ๊ย! ครูนั่น ครูนี้ ครูโน่น อยากเป็นครูก็ไม่มีใครว่าหรอก แต่ต้องทำตัวให้เหมาะสมกับที่ คนอื่นจะเรียกว่า “ครู” สักหน่อย

ครูที่ทำตัวเหมาะสม จะไม่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงด้วยข้อความที่โพสต์ลงในโซเชี่ยลมีเดีย มี เฟสบุ๊กและอินสตาแกรม เป็นอาทิ แต่จะแสดงออกด้วยการกระทำให้เห็นเป็นขวัญตาหรือแบบอย่าง ให้คนเขาพิจารณาเอาเองว่า เก่งไม่เก่ง เจ๋งไม่เจ๋ง

ครูดูปลอม ๆ มักจะชอบ โพสต์ข้อความ “เวิ้นเว้อ” ทั้งเรื่องส่วนและเรื่องการทำงาน ลืมมองไปว่า นี่คือ “ดาบสองคม” เป็นการเปิดดานมืดให้คนอื่นเห็นถึง “ความไม่มีวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์” ไม่พอใจอะไร เอะอะก็โพสต์ระบายลงในโซเชี่ยลมีเดีย ด้วยข้อความเสีย ๆ หาย ๆ หยาบคายก็มี หรือหมิ่นเหม่สถาบัน วิพากษ์วิจารณ์การเมืองแบบดุเด็ดเผ็ดร้อนอีกด้วย คนแบบนี้หรือจะมาสอนเด็ก ๆ ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง อุตส่าห์เสียเงินมาซื้อคอร์ส ซึ่งก็ไม่ใช่ถูก ๆ ราคาห้าหลักขึ้น

นอกจากนี้ในรายครูที่เป็นเก้งกวาง มันจะชอบโพสต์โชว์รูปที่ถ่ายคู่กับผู้ชายแบบสวีท แบบที่อวดผัวก็มี แถมยังแสดงพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมด้วย อาทิ กำลังดื่มแอลกอฮอล์ โชว์กางเกงในหรือกางเกงว่ายน้ำ

บางคนก็ขอไปเป็นกรรมการประกวดเด็ก ๆ หรือนางงาม หรือขอเป็นวิทยากรอบรมระหว่างที่มีการเก็บตัวผู้เข้าประกวด เพื่อร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ นานา โดยไม่คิดค่าตัว ดูผิวเผินเหมือนต้องการโพรไฟล์ แต่ที่ไหนได้ส่งเด็กตัวอย่างเข้าประกวด แล้ววิ่งล็อบบี้กรรมการคนอื่น ๆ เพื่อให้เด็กของตัวเองได้ตำแหน่ง โดยเฉพาะตำแหน่งชนะเลิศ แม้จะบอกว่าไม่เอาเงินค่าตัว แต่ก็ได้ “ใต้โต๊ะ” จากพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก ซึ่งได้มากกว่ากว่าเงินค่าตัวกรรมการที่ผู้จัดจะให้เสียอีก

เอาเข้าให้สิกับ “ครู” ปลอม ๆ ในยุคนี้!

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์ฉบับที่ 418 วันที่  9-15 กุมภาพันธ์ 2567

หน้า 36 มาดามโอ/เมาธ์ระเบิด

อนิจจา ! ครูยุคดิจิทัล

ชอบ“เวิ้นเว้อ” หน้าเฟส

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๑๘ ระหว่างวันที่ ๙-๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
https://book.bangkok-today.com/books/wsyw/#p=36
(สามารถพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post