Digiqole ad

พัฒนาทักษะการสื่อสารข้อมูลภาพและเล่าเรื่อง ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ‘Scrollytelling’

 พัฒนาทักษะการสื่อสารข้อมูลภาพและเล่าเรื่อง  ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ‘Scrollytelling’
Social sharing

Digiqole ad

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๓๘ ระหว่างวันที่ ๒๘ มิถุนายน – ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๗

หน้า ๓๑

พัฒนาทักษะการสื่อสารข้อมูลภาพและเล่าเรื่อง

ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ‘Scrollytelling’

ผู้สอนได้เลือกใช้การสร้างชิ้นงาน Scrollytelling เป็นเทคนิคการเล่าเรื่องที่ใช้องค์ประกอบมัลติมีเดีย เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และภาพเคลื่อนไหว เพื่อเล่าเรื่องในขณะที่ผู้ใช้เลื่อนหน้าลง เป็นวิธีเล่าเรื่องที่ไดนามิกและมีส่วนร่วม และสามารถใช้เพื่ออธิบายหัวข้อที่ซับซ้อนในวิธีที่ชัดเจนและกระชับ Scrollytelling เป็นเทคนิคที่ค่อนข้างใหม่ แต่กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เป็นวิธีที่ดีในการเล่าเรื่องบนเว็บ และสามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่นอธิบายหัวข้อที่ซับซ้อนในวิธีที่ชัดเจนและกระชับ เล่าเรื่องราว

1) Content Proposal ขั้นเตรียมการ เป็นการคิดวิเคราะห์และตั้งวัตถุประสงค์ ผู้สอนให้โจทย์ การตั้งคำถามกับผู้เรียนว่า เนื้อหาอะไรที่ผู้ชมต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น Content Proposal ถูกออกแบบในรูปแบบการตั้งคำถาม (Stimulating and Key Questioning) ในการตั้งคำถาม (แม็คเอ็ดดูกา.2565) สร้างคำถามที่กระตุ้นการคิดและสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งไม่ควรเป็นคำถามที่สามารถตอบได้ด้วย “ใช่” หรือ “ไม่” แต่ควรเป็นคำถามที่เรียกให้ศึกษาได้พิจารณาและอธิบาย

Why คุณจะเล่าเรื่องนี้ไปเพื่ออะไร เรากำลังเสนอ คุณค่าอะไรให้กับ ผู้ชม วัตถุประสงค์ ทางการสื่อสารคืออะไร แรงผลักดันที่เป็นPassionที่ทำให้เราอยากจะสื่อสารเรื่องนี้ออกมาให้คนได้รับรู้

            Who ใคร ที่คุณจะเล่าเรื่องนี้เพื่อสื่อสารกับเขา กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร คุณค่าที่นำเสนอออกไปเป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการหรือไม่

            What คุณต้องการให้พวกเขารู้หรือทำอะไร อะไรคือสาระสำคัญที่ต้องการสื่อสารจากการเล่าเรื่องนี้ แก่นของเนื้อหาคีย์เมสเสจคืออะไร ทุกคนอ่าน จะคิดและรู้สึกได้ถึงอะไรจากเนื้อหาของเรา ผู้ชมจะไปทำActionอะไรต่อจากเนื้อหาของเรา

            How ใช้วิธีอะไรในการสื่อสารกับ ผู้ชม คุณจะใช้ เทคนิคทางด้านการเล่าเรื่อง ในรูปแบบไหน

            Reference องค์ความรู้ที่คุณนำมาผลิตเนื้อหา นี่คุณเอาความรู้มาจากแหล่งข้อมูลใด แหล่งข้อมูลที่คุณเอามาใช้ในแง่ มาจากไหน เนื้อหาที่คุณ เขียนแตกต่างจาก แหล่งข้อมูล คุณไม่ทำผิดกฎหมายด้วยการคัดลอกมาใช่หรือไม่

2) Visual Identity Design Proposal ขั้นตอนที่สองคือการสร้าง Visual Identity Design Proposal เพื่อกำหนดเอกลักษณ์ทางภาพและการสื่อสารของชิ้นงาน ด้วยการใช้โทนสี ตัวอักษร หรือรูปภาพที่สอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อสร้างประสบการณ์การชมที่ราบรื่นสบายตาสบายใจเข้าถึงง่าย ผู้สอนได้สร้างเครื่องมือที่ช่วยในกระบวนการสื่อสารข้อมูลให้เป็นรูปแบบที่น่าสนใจและเข้าใจง่าย ออกมาเป็นแม่แบบให้นักศึกษาได้ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความโดดเด่นและเอกลักษณ์ให้กับ Scrollytelling ผู้เรียนจะทำการแสวงหาความรู้สารสนเทศ (Searching and Collecting Information) จากหนังสือ จากอินเทอร์เน็ต หรือจากผู้เชี่ยวชาญ เรียนนำเอาข้อมูลต่างๆ มาจัดระเบียบและประมวลผล เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ให้ออกมาเป็น Visual Identity Design Proposal เพื่อให้ในการออกแบบการสื่อสาร เป็น 4 ส่วน

Design Styles & Reference นักศึกษาทำการค้นคว้าและเลือก สไตล์การออกแบบที่จะใช้เป็นรูปแบบหลักในการ

นำเสนอ เช่น Minimalist (มินิมัลลิสต์)

 Typeface & Colorpalettes นักศึกษาทำการค้นคว้าและเลือกแบบอักษรและสี ที่สอดคล้องกับสไตล์ เลือก

สีที่ตรงกับแนวคิดของโปรเจ็ค ยกตัวอย่าง สีเขียวและน้ำเงินสำหรับโปรเจ็คเกี่ยวกับธรรมชาติ

Elements & Textures นักศึกษาทำการค้นคว้าและเลือกองค์ประกอบและลวดลาย เลือกภาพหรือสัญลักษณ์ที่เสริม

ประเด็นหรือเน้นข้อความ

MOOD&TONE/PhotoGraph Style นักศึกษาทำการค้นคว้าและจัดระเบียบและประมวลผล กำหนดว่าโปรเจ็คควร

สร้างอารมณ์แบบใด ออกมาให้รูปแบบ MOOD&TONE Board

ในขั้นนี้ผู้เรียนจะนำเอาข้อมูลต่างๆ มาจัดระเบียบและประมวลผล เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ สร้างรูปแบบการ

สื่อสารด้วยภาพที่สวยงามและที่เหมาะสมกับหัวข้อที่ทำ (ชปีเกิลฮัลเทอร์ เดวิล.2564)

            3) Storyboard, Article/Script ขั้นตอนที่ผู้เรียนนำข้อมูลต่างๆ มาจัดระเบียบและประมวลผล เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปใช้งานได้ง่ายขึ้นจึงได้ทำการออกแบบแม่แบบในการสรุปเป็นองค์ความรู้ สื่อสารออกเป็นเอกสาร Storyboard, Article/Script ผู้เรียนจะทำการสื่อสารด้วยข้อมูลภาพ(Data Visualization)  และการเล่าเรื่องจากข้อมูล (Data Storytelling) ด้วยเครื่องมือ

            Article คือนักศึกษาเขียนขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลหรือเรื่องราวสรุปเป็นหัวข้อ ย่อหน้า และส่วนสรุป มีภาพหรือแผนผังข้อมูลในข้อความเพื่อประกอบเพื่อนำมาใช้ในการสื่อสาร Script คือการที่นักศึกษาทำการนำเอา Article ที่สรุปย่อแล้วมาว่าวางเป็น แนวทาง ในการนำเสนอว่าจะนำเสนอข้อมูลใดก่อนและหลัง

            Storyboard เป็นการนำ Article และ Script มาออกแบบวาดโครงร่างให้เห็นภาพของการเล่าเรื่องเป็นภาพที่มีการนำมาลำดับการนำเสนอ

      4) การผลิตชิ้นงาน Scrollytelling  ด้วยโปรแกรม VEV ขั้นตอนที่ผู้เรียนนำข้อมูลต่างๆ โดยการนำ เนื้อหาที่ทำแล้วใน

ขั้นตอน ที่ 1,2,3 มาจัดระเบียบและประมวลผล เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ชิ้นงาน Scrollytelling ด้วยโปรแกรม VEV เพื่อนำเสนอเนื้อหาในลำดับที่มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลอย่างเป็นมาตรฐานและน่าสนใจ การสร้างสื่อสารแบบมัลติมีเดีย เพราะ VEV มักมีเครื่องมือที่ช่วยในการเพิ่มเอฟเฟ็กต์พิเศษเข้าไปในวิดีโอ เช่น เอฟเฟ็กต์ภาพนิ่ง การทำภาพสี การใส่ข้อความ และกราฟิกอื่น

นักศึกษาได้สร้างสรรค์ Creativity and Innovation อาจารย์สามารถให้นักเรียนคิดคอนเซ็ปต์การออกแบบที่โดดเด่นและน่าสนใจ อาจารย์ช่วยในให้ศึกษาวิเคราะห์เป้าหมายและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบที่เหมาะสม Critical Thinking and Problem Solving ศึกษาฝึกทักษะการนำเสนอผลงานการออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ(ทิศนา แขมมณี.2564) ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะทางการสื่อสารด้วยข้อมูลภาพ(Data Visualization)  และการเล่าเรื่องจากข้อมูล (Data Storytelling) ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน Scrollytelling ออกมาเป็นรูปธรรม

(เรื่อง : อ.ชุมพล มียิ่ง อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบสื่อสารออนไลน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม)

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๓๘ ระหว่างวันที่ ๒๘ มิถุนายน – ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๗

หน้า ๓๑

พัฒนาทักษะการสื่อสารข้อมูลภาพและเล่าเรื่อง

ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ‘Scrollytelling’

อีบุ๊กบางกอกทูเดย์รายสัปดาห์ ฉบับที่ ๔๓๘ ระหว่างวันที่ ๒๘ มิถุนายน – ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๗
https://book.bangkok-today.com/books/zllk/#p=31
(สามารถพลิกอ่านได้เหมือนหนังสือปกติ)

 

 

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post