Digiqole ad

พม. เดินเครื่องเร่งสร้างความเข้าใจ “ธนาคารเวลา” สู่การเป็นอาสารูปแบบใหม่ “New Volunteer” ในรูปแบบออนไลน์

 พม. เดินเครื่องเร่งสร้างความเข้าใจ “ธนาคารเวลา” สู่การเป็นอาสารูปแบบใหม่ “New Volunteer” ในรูปแบบออนไลน์
Social sharing

Digiqole ad

ในวันที่ 29 กันยายน 2564 นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เป็นประธานเปิดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เข้าใจธนาคารเวลาสู่การเป็นอาสารูปแบบใหม่ New Volunteer” ในรูปแบบออนไลน์ โดยมี นางสาวอาภา รัตนพิทักษ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ เป็นผู้กล่าวรายงาน ซึ่งการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับธนาคารเวลาในวันนี้ จะทำให้ทราบถึงความเป็นมาและการดำเนินการเกี่ยวกับธนาคารเวลาในประเทศไทย ตลอดจนความแตกต่างของอาสารูปแบบใหม่ New Volunteerและนโยบาย ความร่วมมือของภาครัฐในการส่งเสริมการดำเนินงาน และการพัฒนาธนาคารเวลาให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในบริบทของสังคมไทย

นางสุจิตรา กล่าวว่า กรมกิจการผู้สูงอายุ(ผส.) เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีภารกิจหลักเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ มุ่งเป้าไปสู่การดูแลกลุ่มผู้สูงอายุเป็นเป้าหมายสำคัญ พัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของทุกกลุ่มวัยเพื่อเตรียมการรองรับเมื่อต้องเผชิญกับภาวะสังคมสูงอายุ จึงได้นำแนวคิด “ธนาคารเวลา” มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการ ส่งเสริมให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลซึ่งกันและกัน โดยเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กำหนดให้ธนาคารเวลาเป็น 1 ใน 10 ประเด็นเร่งด่วนด้านผู้สูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงอายุที่มีเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุไทยเป็น Active Ageing : Healthy, Security and Participation และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 กรมกิจการผู้สูงอายุ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่อง การดำเนินงานธนาคารเวลาของประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เป็นพื้นที่นำร่อง จำนวน 42 พื้นที่ ในการสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาการดำเนินงานธนาคารเวลาในพื้นที่ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์จับต้องได้และในปัจจุบัน ผส. ได้ขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 114 พื้นที่แล้ว

นางสุจิตรา กล่าวต่ออีกว่า หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า “ธนาคารเวลา” เป็นอย่างไร ดังนั้น การเสวนาในวันนี้ จะทำให้ทราบถึงความเป็นมาและการดำเนินการเกี่ยวกับธนาคารเวลาในประเทศไทย ความแตกต่างของอาสารูปแบบใหม่ New Volunteer และนโยบาย ความร่วมมือของภาครัฐในการส่งเสริมการดำเนินงาน ตลอดจนการพัฒนาธนาคารเวลาให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในบริบทของสังคมไทย นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงการดำเนินงานธนาคารเวลาในพื้นที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีการนำโครงการธนาคารเวลาฯ ส่งเสริมการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุและสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมการดำเนินงานธนาคารเวลาให้กับสมาชิกธนาคารเวลาในพื้นที่ เทศบาลตำบลช่องลม อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชรโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลกและองค์การบริหารส่วนตำบลสายลำโพง จังหวัดนครวรรค์ได้ เห็นถึงศักยภาพของจิตอาสาธนาคารเวลาอย่างชัดเจนมากขึ้น

“เราจะได้เห็นสังคมที่กลับมาเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะในบ้านใกล้เรือนเคียง ชุมชน จะมาดูแลช่วยเหลือกัน ตรงนี้ยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ต่างวัย ภาครัฐก็ประหยัดงบประมาณ เพราะจิตอาสาไปช่วยเหลือแทนรัฐและจะเป็นโมเดลให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงการเตรียมตัวเวลาไปเห็นผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ผู้สูงอายุที่ยากจน ก็จะเริ่มคิดและหาทางป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดปัญหาอย่างนั้น เสมือนสอนตัวเองไปในตัว” นางสุจิตรากล่าวในตอนท้าย

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post