Digiqole ad

ฝนตก น้ำท่วม เท้าเปื่อย ปล่อยทิ้งไว้เสี่ยงติดเชื้อได้

 ฝนตก น้ำท่วม เท้าเปื่อย ปล่อยทิ้งไว้เสี่ยงติดเชื้อได้
Social sharing
Digiqole ad

จากสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ทำให้หลายพื้นที่กำลังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม และนอกจากความกังวลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย อาหารการกิน ยังมีอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่หลายคนกำลังเจอ คือ “โรคน้ำกัดเท้า” เพราะเมื่อเท้าสัมผัสกับน้ำเป็นระยะเวลานาน ก็จะทำให้เกิดอาการเท้าเปื่อย คันและแสบ ยิ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

พท.ป.ฐิตารีย์ สุนทรพิสิทธิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์ กล่าวว่า “โรคน้ำกัดเท้า หรือที่เรียกกันว่าโรคเท้าเปื่อย เกิดจากการที่เท้าสัมผัสกับน้ำและความอับชื้นเป็นเวลานาน ถ้าสวมใส่รองเท้าที่คับ อับชื้น หรือให้เท้าแช่น้ำเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้การไหลเวียนของเลือดลมบริเวณเท้าลดลง อาจจะมีอาการชา ไม่สบายเท้า รู้สึกหนักเท้าเวลาเดิน หรือมีอาการเท้าบวมเป็นตะคริวได้ในบางท่าน ซึ่งอาการชาและเท้าบวม ทำให้เท้าเปื่อย และเกิดบาดแผลได้ง่าย

สำหรับการดูแลเมื่อเกิดแผลเท้าเปื่อย สามารถทำได้ด้วยการทำความสะอาดแผลเท้าเปื่อยด้วยน้ำอุ่น หรือแช่เท้าในน้ำอุ่น เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดลมบริเวณเท้า และใช้สมุนไพรในการรักษาร่วมด้วย จะช่วยบรรเทาอาการที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสมุนไพรที่แนะนำ เช่น เปลือกลูกมังคุด เปลือกลูกทับทิม เปลือกต้นแค ใบฝรั่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง นำมาต้ม โดยการนำสมุนไพรใส่ในหม้อ เติมน้ำให้สูงกว่าสมุนไพร 2 เท่า ต้มให้เดือดด้วยไฟปานกลาง แล้วต้มต่ออีกประมาณ 15 นาที นำเอาน้ำต้มมาชะล้างแผล หรือแช่เท้า หลังจากนั้นใช้ผ้าทำความสะอาดเช็ดเท้าให้แห้ง และต้มเคี่ยว 3 เอา 1 โดยนำสมุนไพรใส่หม้อเติมน้ำลงไป 3 เท่า ต้มให้เดือดและต้มเคี่ยวต่อไปอย่าใช้ไฟแรง ให้ยาค่อย ๆ เดือด ให้ปริมาณน้ำเหลือ 1 เท่า แล้วนำน้ำต้มมาทาแผล สมุนไพรที่ใช้จะมีรสฝาด ช่วยในการสมานแผล ให้แผลเน่าเปื่อยแห้งเร็วขึ้น เช่น

–          เปลือกมังคุด มีรสฝาด แก้แผลเน่าเปื่อย สมานแผลสด

–          เปลือกลูกทับทิม มีรสฝาด สมานแผล ฆ่าเชื้อโรคบาดแผล

–          เปลือกต้นแค มีรสฝาด สมานแผลทั้งภายในและภายนอก

–          ใบฝรั่ง รสฝาดเย็น ดูดน้ำเหลืองน้ำหนอง ถอนพิษแผล

การปิดแผลเท้าเปื่อยด้วยผ้าก๊อซหลวม ๆ สวมใส่ถุงเท้าที่แห้งจะช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้เท้า เลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ เกิน 1 ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดลมบริเวณเท้า และควรทำให้เท้าแห้งเสมอเพื่อให้แผลหายได้เร็วยิ่งขึ้น

แพทย์แผนไทยประยุกต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงฤดูฝนที่น้ำท่วมขัง นอกจากโรคน้ำกัดเท้าแล้วก็ยังเต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศและความชื้นที่เปลี่ยนไป ทำให้เชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายและเกิดโรคขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญมากของการใช้ชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบัน และการเลือกทานผลิตภัณฑ์สมุนไพรก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับคนรักสุขภาพโดยตรง แต่สิ่งสำคัญ คือ เลือกทานผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานรับรองจากอย. สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน จึงจะสามารถบริโภคได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยต่อร่างกายในระยะยาวอีกด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @natureherbinter หรือโทร. 02 117 9899

 

Facebook Comments

Related post