Digiqole ad

ผลการจัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้“มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 1

 ผลการจัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้“มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 1
Social sharing
Digiqole ad

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การจัด “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4 – 6 พฤศจิกายน 2565 ณ Hall 5 อิมแพค เมืองทองธานี ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ประชาชนและผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมงานอย่างหนาแน่นตลอดระยะเวลา 3 วันของการจัดงาน โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 15,000 ราย”

ผลสำเร็จของการจัด “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 1 พบว่า ประชาชนและผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมงานมากกว่า 15,000 ราย โดยผู้ที่เข้าร่วมงานส่วนใหญ่ขอรับคำปรึกษาด้านการเงินและแนวทางในการประกอบอาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่จะส่งผลให้การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนประสบความสำเร็จในระยะยาว รองลงมา คือ การขอแก้ไขปัญหาหนี้สินที่มีอยู่เดิม การขอสินเชื่อใหม่หรือสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องและสร้างรายได้เพิ่ม และการเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อส่งเสริมการออม การตรวจข้อมูลเครดิต การขาย NPA ของทั้งสถาบันการเงินและบริษัทเอกชน เป็นต้น ทั้งนี้ จำนวนผู้เข้าร่วมงานและขอแก้ไขปัญหาหนี้สินดังกล่าวยังไม่รวมการดำเนินการในระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการลงทะเบียนเพื่อขอแก้ไขหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่านระบบออนไลน์ ที่เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2565 โดยปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนมากกว่า 113,000 ราย คิดเป็นจำนวนรายการสะสมมากกว่า 273,000 รายการ ซึ่งสามารถจำแนกรายการสะสมตามกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจได้ดังนี้ (1) ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ร้อยละ 46 (2) ธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 39 (3) สถาบันการเงินเฉพาะกิจร้อยละ 14 และ (4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ร้อยละ 1

จากความสำเร็จของจำนวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานจำนวนมากและผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่ต้องการขอรับคำปรึกษาทางการเงินและความรู้ในการประกอบอาชีพ ดังนั้น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐจึงมีแผนที่จะจัดงานครั้งต่อ ๆ ไป อีก 4 ครั้ง ครอบคลุม 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยจะมีหน่วยงานให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหรือการพัฒนาอาชีพ รวมทั้งหน่วยงานในระดับพื้นที่ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือด้านรายได้และหนี้สินให้กับประชาชนเข้าร่วมเพิ่มเติมด้วย เช่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สภาหอการค้าจังหวัด หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เป็นต้น เพื่อให้การจัดมหกรรมสามารถช่วยเหลือประชาชนได้สอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง โดยมีแผนจะจัดงานครั้งต่อ ๆ ไปอีก 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ดังนี้
ครั้งที่ 2 จังหวัดขอนแก่น วันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น
ครั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 16 – 18 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่
ครั้งที่ 4 จังหวัดชลบุรี วันที่ 20 – 22 มกราคม 2566 ณ ศาลาประชาคมเทศบาลเมืองบ้านสวน
ครั้งที่ 5 จังหวัดสงขลา วันที่ 27 – 29 มกราคม 2566 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดังนั้น ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ https://ln15.gsb.or.th/WEB-DEBT หรือ Scan QR Code ท้ายแถลงข่าว หรือแจ้งความประสงค์เข้าร่วมงานได้ที่หน้างานมหกรรม

นอกจากนี้ “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ในรูปแบบการลงทะเบียนเพื่อขอแก้ไขหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่านระบบออนไลน์ยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 โดยสามารถลงทะเบียนได้ผ่านช่องทาง https://www.bot.or.th/DebtFair หรือ Scan QR Code ท้ายแถลงข่าว

โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขอเชิญชวนประชาชน ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งจะจัดขึ้นใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งงานครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น โดยแนะนำให้ผู้ที่สนใจลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนวันเริ่มงานเพื่อให้สถาบันการเงินหรือหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ สามารถเตรียมข้อมูลได้สอดคล้องกับความต้องการของท่าน หรือหากท่านใดต้องการความช่วยเหลือ แต่งานมหกรรมไม่ได้จัดขึ้นที่จังหวัดของท่าน สามารถขอรับความช่วยเหลือได้จากสาขาของสถาบันการเงินของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศเช่นกัน”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
1. สมาคมสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ โทร. 02 202 1868 หรือ 02 202 1961
2. ธนาคารออมสิน โทร. 02 299 8000 หรือสายด่วน 1115
3. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02 111 1111
4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 555 0555
5. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000
6. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 02 265 3000 หรือสายด่วน 1357
7. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 02 169 9999
8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 02 650 6999 หรือสายด่วน 1302
9. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร. 02 890 9999

Facebook Comments

Related post