Digiqole ad

ปลัด พม. รุดช่วย 17 คนไทยถูกหลอกเป็นแอดมินพนันออนไลน์ในกัมพูชา

 ปลัด พม. รุดช่วย 17 คนไทยถูกหลอกเป็นแอดมินพนันออนไลน์ในกัมพูชา
Social sharing

Digiqole ad

ปลัด พม. รุดช่วย 17 คนไทยถูกหลอกเป็นแอดมินพนันออนไลน์ในกัมพูชา หลังถูกบังคับทำงาน ไม่ได้ค่าจ้าง ไม่ให้กินข้าว และถูกทำร้าย พร้อมประสานส่งกลับบ้านโดยเร็วที่สุด

วันนี้ (12 ต.ค. 65) ระหว่างการมาเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 28 (Joint Statement of the Twenty – Eighth ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคม 2565 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) พร้อมด้วยนางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน และคณะ ได้พบปะพูดคุยกับ นายพิชิต บุญสุด อุปทูตรักษาการ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ โดยได้หยิบยกปัญหาการล่อลวงคนไทยมาทำงานเป็น Call Center หรือแอดมินพนันออนไลน์ นับเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม เพราะมีวัยรุ่นหนุ่มสาวถูกล่อลวงเป็นจำนวนหลายพันคน

นายอนุกูล กล่าวว่า ทางคณะได้เดินทางไปพบกับผู้เสียหายชาวไทยจำนวน 17 คน ซึ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวและวัยทำงาน โดยมีอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 2 คน ณ โรงแรมที่พักซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ จัดไว้ให้เพื่อรอส่งตัวกลับประเทศไทย โดยผู้เสียหายทั้งหมดได้ติดต่อมายังสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ เพื่อส่งตัวกลับบ้าน และขั้นตอนต่อไปนั้น ทางสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ ต้องติดต่อตำรวจตรวจคนเข้าเมืองของราชอาณาจักรกัมพูชาเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย โดยใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้ ผู้เสียหายทั้งหมดได้เล่าเป็นเสียงเดียวกันว่า ถูกคนใกล้ชิดหรือสื่อออนไลน์ที่รับสมัครงานหลอกลวงว่า จะมีงานทำเป็นแอดมินได้เงินเดือนดีในระดับสองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท พร้อมมีที่พักและอาหารให้ด้วย จึงได้หลงเดินทางมาทำงานกับบริษัทในกรุงพนมเปญ เมืองปอยเปต และเมืองพระสีหนุ โดยให้ทำงานอย่างหนักวันละ 15 ชั่วโมง และถูกทารุณกรรมต่างๆ เช่น ไม่ให้กินข้าว ให้กินน้ำก๊อก ไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกยึดพาสปอร์ต ข่มขู่ไม่ให้หนี และบางคนถูกทำร้ายร่างกาย หากขัดขืนหรือโต้เถียง อีกทั้งตั้งราคาไถ่ตัวเองเพื่อแลกกับอิสรภาพว่า หากต้องการออกจากงาน ต้องหาเงินมาให้เป็นจำนวน 3,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 120,000 บาท

นายอนุกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนในฐานะปลัดกระทรวง พม. จะช่วยประสานงานเพื่อส่งผู้เสียหายวัยรุ่นกลุ่มนี้กลับภูมิลำเนาในแต่ละจังหวัดของประเทศไทยโดยเร็วที่สุด ซึ่งจากสถิติของการส่งคนไทยที่ถูกล่อลวงกลับภูมิลำเนาตั้งแต่ปี 2564 มีจำนวน 2,000 คน และในปีนี้จนถึงเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีการส่งคนไทยกลับภูมิลำเนาแล้วจำนวน 550 คน จากนั้น ตนจะรายงานเรื่องนี้เสนอ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) รับทราบเพื่อขอให้รัฐบาลทั้งสองประเทศเร่งป้องกันและปราบปรามปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไปโดยเร็วที่สุด

Facebook Comments


Social sharing

Related post