Digiqole ad

ประกาศ “ปฏิญญาเอเชียแปซิฟิก” ร่วมกันต่อสู้เพื่อชีวิตผู้สูบบุหรี่ 600 ล้านคน พร้อมสนับสนุนการลดอันตรายจากยาสูบ

 ประกาศ “ปฏิญญาเอเชียแปซิฟิก” ร่วมกันต่อสู้เพื่อชีวิตผู้สูบบุหรี่ 600 ล้านคน พร้อมสนับสนุนการลดอันตรายจากยาสูบ
Social sharing

Digiqole ad

CAPHRA เผยเครือข่ายรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ยังคงไม่รับฟังความเห็นต่าง กีดกันการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค จัดประชุมเสนอให้ปิดกั้นโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์นิโคตินที่ปลอดภัยกว่าของผู้สูบบุหรี่ในเอเชียแปซิฟิก 600 ล้านคน ด้านผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าไทยย้ำการแบนบุหรี่ไฟฟ้าคือนโยบายที่ผิดพลาด

นางแนนซี่ ลูคัส ผู้ประสานงาน เครือข่ายผู้สนับสนุนแนวทางการลดอันตรายจากยาสูบ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ Coalition of Asia Pacific Tobacco Harm Reduction Advocates (CAPHRA) แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประชุมออนไลน์ Asia Pacific Conference on Tobacco or Health (APACT) ครั้งที่ 13 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในวันที่ 2-4 กันยายนที่ผ่านมาว่า “โปรแกรมและผู้เข้าร่วมการประชุม APACT ที่ผ่านเต็มไปด้วยกลุ่มวิทยากรที่มีอคติกับบุหรี่ไฟฟ้าและแนวทางการลดอันตรายจากยาสูบ นอกจากนี้ หลายๆ คนเป็นตัวแทนจากองค์กรที่ได้รับทุนสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากมูลนิธิบลูมเบิร์ก ซึ่งเป็นหน่วยงานรณรงค์ต่อต้านบุหรี่และมีท่าทีชัดเจนว่าไม่รับฟังผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่เกี่ยวกับยาสูบรูปแบบใหม่ที่ช่วยลดอันตรายให้กับผู้สูบบุหรี่ได้ การจัดประชุมโดยไม่รับฟังความคิดเห็นให้รอบด้านจากนักวิชาการอื่น ๆ และกลุ่มผู้บริโภคซึ่งพวกเราเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายควบคุมบุหรี่ แสดงให้เห็นว่าการประชุมนี้ยังคงเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และอันตรายที่พวกเขายังคงสร้างให้กับผู้สูบบุหรี่ต่อไป”

นางแนนซี่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ภายหลังการประชุม APACT ก็จะมีงานประชุมขององค์การอนามัยโลก สำนักงานภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก (World Health Organization, South-East Asia Region Office : WHO-SEARO) ระหว่างวันที่ 6-10 กันยายน 2564 และ สำนักงานภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก (WHO-WPRO) วันที่ 25 ถึง 29 ตุลาคม 2564 ทั้งหมดนี้จะจบลงด้วยการประชุมภาคีสมาชิก (conference of party) หรือ COP ครั้งที่ 9 ของประเทศภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Conventional on Tobacco Control: FCTC) ทางออนไลน์ในวันที่ 8 ถึง 12 พฤศจิกายน 2564

“พวกเรากังวลอย่างยิ่งว่าการตัดสินใจในการประชุมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมานี้ ก็จะยังคงไม่ได้พิจารณาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันออกมาแล้วถึงประโยชน์ของบุหรี่ไฟฟ้าว่ามีความปลอดภัยกว่าการสูบบุหรี่ สมาชิกของ CAPHRA 11 องค์กรในภูมิภาคจึงได้ลงนามในปฏิญญาเอเชียแปซิฟิก เพื่อร่วมกันเรียกร้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและรัฐบาลแต่ละประเทศในภูมิภาค ให้คำนึงถึงผู้สูบบุหรี่ 600 ล้านคนทั่วภูมิภาคเป็นอันดับแรกและสนับสนุนการลดอันตรายจากยาสูบ”

ปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกระบุให้รัฐบาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่าการสูบบุหรี่ซึ่งมีการเผาไหม้เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตและการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ ผลิตภัณฑ์นิโคตินทางเลือก เช่นบุหรี่ไฟฟ้านั้นปลอดภัยกว่าบุหรี่เป็นอย่างยิ่ง และผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถช่วยผู้สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ได้ พร้อมเรียกร้องให้มีการกำกับควบคุมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดแทนการสั่งห้าม พร้อมกับออกมาตรการเพื่อลดโอกาสเยาวชนหรือผู้ไม่สูบบุหรี่ที่จะหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

ด้าน นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนจากเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า End Cigarettes Smoke Thailand หรือ ECST หนึ่งในสมาชิกของ CAPHRA เสริมว่า “ประเทศไทยสั่งแบนบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าผิดกฎหมายมากว่า 7 ปีแล้ว ซึ่งก็เห็นกันได้ชัดเจนมาตลอดว่าเป็นนโยบายที่ล้มเหลว ไม่สามารถป้องกันเด็กใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้ และยังทำให้ตลาดซื้อขายใต้ดินเติบโต กลายเป็นปัญหาคอรัปชั่นตามมาอีก แถมรัฐยังเสียโอกาสในการเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นๆ ที่สำคัญคือเป็นการปิดกั้นทางเลือกในการเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่อันตรายน้อยกว่า เท่ากับสนับสนุนให้คนสูบบุหรี่ต่อไป สนับสนุนให้บริษัทบุหรี่มีกำไรต่อไปมากกว่า ประเทศไทยจึงไม่ควรผลักดันนโยบายที่ล้มเหลวแบบนี้ในเวทีนานาชาติ”

Facebook Comments


Social sharing

Related post