Digiqole ad

“บ่วงนาคบาศ” VS ‘หัวมังกุท้ายมังกร’ !?!

 “บ่วงนาคบาศ” VS ‘หัวมังกุท้ายมังกร’ !?!
Social sharing

Digiqole ad

ไหน ๆ ปี 2567 เป็นปีที่คนไทยเรียกว่า “ปีมะโรง” หรือ “ปีงูใหญ่” หรือ “ปีพญานาค” ส่วนคนจีนนิยมกันเรียกว่า “ปีมังกร” จึงขอนําทั้ง “นาค” ทั้ง “มังกร” มาผูกเป็นเรื่องบทบรรณาธิการของชาว “บางกอกทูเดย์” กับ….“บ่วงนาคบาศ” VS “หัวมังกุท้ายมังกร” !?!…
ก่อนเข้าเรื่องมาทําความรู้จักกับคําว่า “บ่วงนาคบาศ” เป็นอาวุธศักดิ์สิทธิ์ ในวรรณคดีเรื่อง “รามเกียรติ์” เป็นศรของ “อินทรชิต” (รณพักตร์) เป็นลูก ทศกัณฐ์ ที่พระพรหมเป็นผู้มอบให้ เมื่อยิงออกไปจะกลายเป็นงูรัดศัตรู และได้มีพิธีชุบศรเพื่อนํามาต่อสู้กับฝั่งพระราม โดยในตํานานกล่าวว่าเป็น บ่วงเชือกที่แข็งแรงที่สุด เป็นสิ่งลำ้ค่าที่ผู้คนต่างต่อสู้แย่งกันเพื่อให้ได้เป็น
เจ้าของครอบครองสิ่งนี้
ส่วน “หัวมังกุท้ายมังกร” เป็นสํานวนที่หมายถึง ไม่เข้ากัน ขัดกันในตัว ทรวดทรงเรือนร่างต่างลักษณะไม่กลมกลืนกันตามที่ควรเป็น ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ของ “บางกอกทูเดย์” (BANGKOKTODAY) ก่อตั้งมาตั้งปี 2546-ปัจจุบัน ได้ผ่านความร้อน ๆ หนาว ๆ มาหลายยุค หลายสมัย ทั้งผู้บริหารและเหตุการณ์บ้านเมืองที่หลายครั้งดูจะไม่เสถียรสัก เท่าไหร่ ส่งผลกระทบต่อคนทํางานเกือบทุกประเภท ไม่เว้นแม้แต่ “สื่อ มวลชน” ซึ่งมีทั้งเจ็บและล้มหายตายจากบรรณพิภพไปมากมาย
“บางกอกทูเดย์” หนึ่งในสื่อที่สามารถยืนหยัดมาได้ถึงทุกวันนี้ เพราะ “ใจสู้” ที่สู้ยิบตาไม่ถอย โดยเราได้เปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับ เหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อประคับประคองให้นาวา “บางกอกทูเดย์” ฝ่าคลื่น และมรสุมต่าง ๆ ที่โหมกระหนําเข้ามา ได้ทําหน้าที่เป็นสื่อกลางของพี่น้อง ประชาชนต่อไป 20 กว่าปีแห่งความทรหดอดทน จึงเปรียบเสมือน “บ่วงนาคบาศ” ที่ใคร ๆ

ก็อยากเข้ามาสัมผัสและครอบครอง “บ่วงนาคบาศ” แต่จะมีสักกี่คนที่ สามารถพิสูจน์ฝีมือในการใช้ “บ่วงนาคบาศ” ได้อย่างเข้าอกเข้าใจและ เกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืนทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวม ที่สําคัญคือ “จะต้อง ไม่สร้างหรือก่อให้ความเดือดร้อน” ให้กับคนภายในและภายนอกองค์กร นั่นจึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้สยบ “บ่วงนาคบาศ” ได้อย่างสง่างาม สําหรับอุปสรรคที่ถามโถมเข้ามา บางครั้งทําให้ บางกอกทูเดย์ ดูเป็น “หัวมังกุท้ายมังกร” มีความไม่เข้ากันและขัดแย้งกันในตัว อย่างไรก็ตาม
พวกเราได้พยายามทําให้คนภายนอกได้เห็นข้อเท็จจริงว่า สุดท้ายเราคือ “หัวมังกุท้ายมังกุ” หรือ “หัวมังกรท้ายมังกร” คงจะไม่ใช่ “หัวมังกุท้ายมังกร”
ในปี 2567 และ ปีต่อ ๆ ไป เรายังคงเดินหน้าด้วยหัวใจสู้ต่อไป พร้อม คอนเทนต์และกิจกรรมดี ๆ ที่สร้างสรรค์ ภายใต้สํานักข่าว บางกอกทูเดย์ www.bangkok-today.com, e-book บางกอกทูเดย์ และ เพจบางกอกทูเดย์ เท่านั้น “บางกอกทูเดย์” จะก้าวมาถึงวันนี้ไม่ได้เลย หากขาดแรงส่งเสริมและพลังสนับสนุนจากกัลยาณมิตร
ทุกท่าน ขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ และ หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า …เราจะก้าวไปด้วยกัน เพื่อ ก้าวนั้นไปได้ไกล…
ก้าวสู่ปีที่ 22 สํานักข่าว “บางกอกทูเดย์”

ด้วยความเคารพรัก
กองบรรณาธิการ “บางกอกทูเดย์”

Facebook Comments


Social sharing

Related post