Digiqole ad

บาร์เซโลนาจัดประชุมว่าด้วยความเป็นมนุษย์ในบริบทของเทคโนโลยี เตรียมรับมือความท้าทายแห่งยุคดิจิทัล

 บาร์เซโลนาจัดประชุมว่าด้วยความเป็นมนุษย์ในบริบทของเทคโนโลยี เตรียมรับมือความท้าทายแห่งยุคดิจิทัล

The ethical perspective in the digital transformation would focus of this event

Social sharing

Digiqole ad

บาร์เซโลนา, สเปน :

โครงการ Digital Future Society และสภาเมืองบาร์เซโลนา ร่วมกันจัดงาน “Humanism in the digital age: the urban contribution” ครั้งที่ 15 ในเดือนพฤศจิกายนนี้ที่บาร์เซโลนา โดยมีผู้เชี่ยวชาญและผู้นำทางความคิดมาร่วมกันประเมินถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลในปัจจุบันในบริบทสังคมเมือง รวมถึงอภิปรายแนวทางสร้างการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่ยั่งยืน มีความเท่าเทียม และเปิดรับความหลากหลาย เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล โดยคำนึงถึงมนุษย์ในฐานะศูนย์กลางของการปรับใช้เทคโนโลยี

ภายในงานยังประกอบด้วยกิจกรรมย่อยอีกมากมายซึ่งจะนำเสนอและวิเคราะห์ความท้าทายที่สำคัญอันเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลในเมืองต่าง ๆ โดยเน้นย้ำเป็นพิเศษในสองประเด็นหลัก ได้แก่ จริยธรรมและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) และสิทธิทางดิจิทัล ยิ่งไปกว่านั้น โครงการนี้ยังมีผู้บรรยายที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมาร่วมด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายถึงบทบาทการบริหารงานของภาครัฐท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่เป็นไฮไลท์สำคัญของงานด้วย โดยมีไมเคิล โดนัลด์ซัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของสภาเมืองบาร์เซโลนา, จอห์น พอล ฟาร์เมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของนิวยอร์ก และมอร์เทน เมเยอร์ฮอฟฟ์ ที่ปรึกษาของ UNU-EGOV มาร่วมพูดถึงการแก้ไขปัญหาการถูกกีดกันการเข้าถึงดิจิทัล ตลอดจนสำรวจโครงการ แผนการริเริ่ม และแนวทางต่าง ๆ ของชุมชน

การจัดงานในครั้งนี้ยังมีขึ้นเพื่อแสวงหาแนวทางต่าง ๆ ในการรับมือกับความท้าทายพื้นฐานของ AI เป็นต้นว่า ถึงแม้จะมีการใช้งานเทคโนโลยี AI เพิ่มขึ้นทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน แต่ก็ยังไม่ควรนำมาใช้โดยไม่คำนึงผลที่ตามมาจากการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุผลเพศหรือเชื้อชาติซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจมีส่วนสนับสนุนให้คงอยู่ต่อไป ดังนั้นแวร์เนอร์ สเต็งก์ คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) และเรนาตา อาวิล่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิ Open Knowledge Foundation จึงจะตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาถึงการใช้ AI อย่างมีจริยธรรม รวมถึงแสวงหาแนวทางเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประเด็นนี้ โซเนีย ฮอร์เฮ กรรมการบริหารของมูลนิธิ World Wide Web Foundation จะกล่าวในปาฐกถาด้วย

ในแง่ของสิทธิทางดิจิทัลนั้น กลุ่มเสวนาที่ดำเนินรายการโดยไลอา โบเนต รองนายกเทศมนตรีเมืองบาร์เซโลนา ร่วมด้วยตัวแทนจากคณะทำงานของเมืองอื่น ๆ ได้แก่ เดลฟีน ชาเมท์ จากบอร์โดซ์, รูส์ เฟอร์ไมย์ จากรอตเตอร์ดัม และอาร์โนด์ งัทชา จากปารีส จะร่วมกันแบ่งปันข้อมูลที่เชื่อมโยงกันระหว่างบทบาทของเมืองในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบ ปลอดภัย และยอมรับความแตกต่าง และสำหรับประเด็นสำคัญสุดท้ายที่จะมีการอภิปรายในกิจกรรมนี้ก็คือ เทคโนโลยีการจดจำใบหน้ากับความรับผิดชอบต่อการใช้งาน ซึ่งจะดำเนินการอภิปรายโดยเมลิสซา ฮิกกิล่า จาก Politico Europe พร้อมด้วยซาราห์ แชนเดอร์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายอาวุโสประจำโครงการ European Digital Rights Initiative, อามอส โทห์ นักวิจัยอาวุโสด้าน AI ประจำ Human Rights Watch และแบรนโด เบนิฟาย สมาชิกสภายุโรป (MEP) และผู้เสนอรายงานด้านกฎหมายว่าด้วย AI

Facebook Comments


Social sharing

Related post