Digiqole ad

“นายกไพเจน” ใส่ใจสุขอนามัยของประชาชนแบบบูรณาการ โดยเฉพาะผู้สูงวัย หนุน อบรมหลักสูตรนักบริบาลชั้นสูง ดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา

 “นายกไพเจน” ใส่ใจสุขอนามัยของประชาชนแบบบูรณาการ โดยเฉพาะผู้สูงวัย หนุน อบรมหลักสูตรนักบริบาลชั้นสูง ดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา
Social sharing

Digiqole ad

นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ประธานปิดหลักสูตรการอบรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนแบบบูรณาการ ปีงบประมาณ 2567 (กิจกรรมพัฒนาการดูแลผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่บ้าน) ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมี ผศ. ดร แสงอรุณ อิสระมาลัย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาการพยาบาล “การดูแลที่บ้าน” จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร. ชุติมา เพิงใหญ่ อาจารย์ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เป็นวิทยากร ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร นักบริบาลชั้นสูงร่วมในพิธีปิดโครงการดังกล่าว

โครงการอบรม เพื่อสร้างเสริมสุขอนามัยของประชาชนแบบบูรณาการ ปีงบประมาณ 2567 จัดขึ้นเพื่อ อบรมแนวทางการปฏิบัติตามหลักสูตร นักบริบาลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงที่บ้านในชุมชน ให้เป็นไปตามมาตราฐานที่กำหนด ซึ่งได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และการปฏิบัติบนฐานจรรยาบรรณของนักบริบาล ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักสูตรการอบรม 120 ชั่วโมง และผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 30 คน

นายไพเจน กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2559 ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ญาติผู้ดูแลต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การวางระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อผลิตผู้ดูแลหรือนักบริบาลที่มีคุณภาพในการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อส่งเสริมให้มีทักษะและสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย ให้มีความสามารถในการจัดการตนเองในชีวิตประจำวัน รวมทั้งฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจจากผลของความเจ็บป่วย กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จึงได้จัดโครงการอบรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนแบบบูรณาการ ปีงบประมาณ 2567 กิจกรรมพัฒนาการดูแลผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่บ้าน กิจกรรมย่อยที่ 2 กิจกรรมอบรมแนวทางการปฏิบัติตามหลักสูตรนักบริบาลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงที่บ้านในชุมชน และนำเสนอกรณีศึกษาจากการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม เพื่อทบทวนแนวทางการปฏิบัติตามหลักสูตรนักบริหารผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงที่บ้านในชุมชน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 120 ชั่วโมงจำนวน 30 คน และเจ้าหน้าที่ อบจ.สงขลาที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คนรวมทั้งสิ้น 40 คน ขอขอบคุณทีมวิทยากรจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา ที่มีส่วนในการอบรมครั้งนี้ ต่อจากนั้น นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้มอบประกาศนียบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริบาล

ด้าน ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาการพยาบาล “การดูแลที่บ้าน” ประจำคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์กล่าวว่า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำงานกับทาง อบจ.สงขลา มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาแอปพลิเคชั่นชื่อ iMedCare และ iMed@Home (เครือข่ายเยี่ยมบ้าน) ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา โดย อบจ.ให้งบสนับสนุนในส่วนของกองทุนฟื้นฟูมาอย่างต่อเนื่องเกือบ 5 ปี ซึ่งก็มองว่าการมีแอปพลิเคชั่นจากเดิมไว้เก็บข้อมูลอย่างเดียว น่าจะนำแอปพลิเคชั่นมาใช้เพื่อการเรียนรู้ของผู้ที่จะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง จึงพัฒนาหลักสูตรเสริมขึ้นมาใช้ หลังจากนั้น อบจ.มองว่า อบจ.น่าจะเป็นแหล่งที่จะช่วยสร้างสวัสดิการให้แก่กลุ่มพึ่งพิงกลุ่มนี้ในพื้นที่จังหวัดสงขลา จึงมีการพูดคุยกับทาง ผอ.กองสาธารณสุข เพราะมองเห็นโอกาสที่จะนำแอปพลิเคชั่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเกิดหลักสูตรอบรมและใช้แอปพลิเคชั่นส่วนนี้ เป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ และติดตามการทำงานของผู้เข้ารับการอบรมมาอย่างตลอด หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตร 120 ชั่วโมง ที่เราพัฒนาขึ้นร่วมกับ อบจ. เช่นกัน เนื่องจากขณะนี้เรามีผู้ดูแลผู้สูงอายุทีผ่านการอบรมเพียง 70 ชั่วโมง ที่ทำงานเป็นผู้ดูแลในพื้นที่ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้จัดการในระบบการดูแลระยะยาว หรือ LTC ซึ่งกลุ่มนี้ไม่สามารถออกมาทำงานข้างนอกดูแลกลุ่มผู้มีความต้องการ และผู้มีกำลังจ่าย เราก็เลยทำหลักสูตรขึ้นมาอีกหลักสูตรชื่อว่า”นักบริบาลชั้นสูง” เป็นหลักสูตร 120 ชั่วโมง โดยมี อบจ.เป็นหลักในการร่วมพัฒนาหลักสูตรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเอาหลักสูตรนั้นเปิดการอบรม ซึ่งรุ่นนี้ถือเป็นรุ่นแรกที่ อบจ.ให้การสนับสนุนโดยสมบูรณ์ ไม่ได้รับทุนจากที่อื่น ซึ่งรุ่นนี้รับเพียง 30 คนจากผู้สมัครร่วม 100 คน โดยมีเกณฑ์คัดเลือกก็คือ มีความสามารถในการพูดจาดี เอาสิ่งที่ได้จากการอบรมไปประกอบอาชีพได้ ไม่ใช่เพียงใช้ในครอบครัวอย่างเดียว ด้วยถือว่าคนกลุ่มนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดสงขลาต่อไป

ทั้งนี้ผู้ที่จบหลักสูตรการอบรมสามารถไปประกอบอาชีพดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ใน 2 ลักษณะ คือส่วนหนึ่งทำงานภายใต้ระบบ LTC ที่ สป.สช.สนับสนุน อยู่แล้วภายใต้การทำงานร่วมกับ โดยเฉพาะ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนมาอยู่ภายใต้ อบจ. อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ทำงานในพื้นที่แต่เป็นงานรับจ้าง ซึ่งเราใช้แอปพลิเคชั่นในการดูแลติดตามการทำงาน ซึ่งถ้ารับเคสจะต้องเขียนแผนการดูแล และรายงานการดูแลทุกวันให้กับทีมผู้ประสาน ซึ่งงานส่วนนี้การบริหารจัดการอยู่ภายใต้บริษัทประชารัฐสามัคคี สงขลา โดยเราใช้แอปพลิเคชั่น ที่ชื่อว่า iMedCare และทาง อบจ.ก็ได้สนับสนุนในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น นี้ด้วย ในอนาคตผู้ดูแลกลุ่มนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดสงขลาของเรา

สำหรับความแตกต่างระหว่าง อสม.ชำนาญการ กับ นักบริบาลชั้นสูงนั้น กล่าวได้ว่า อสม.ชำนาญการจะทำงานเฉพาะเรื่อง จะมีความชำนาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ ชำนาญการด้านจิตเวช หรือด้านเด็ก ซึ่งจะทำหน้าที่ติดตามสุขภาพของคนกลุ่มนั้น แต่ไม่ได้ให้การดูแลโดยตรง โดยจะทำหน้าที่เรื่องข้อมูล ติดตามให้ได้รับบริการตามข้อกำหนดของการดูแล เช่นเด็กต้องได้รับวัคซีน ต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ หรือผู้สูงอายุต้องได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ซึ่งต้องได้รับการดูแล แต่ไม่ได้ให้การช่วยเหลือ แต่นักบริบาลที่ผ่านการอบรมกลุ่ม 120 ชั่วโมง จะดูแลกลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งได้แก่ติดบ้านติดเตียง ซึ่งกลุ่มนี้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างเต็มที่ ผู้ดูแลกลุ่มนี้จะเข้าไปให้การดูแล บางรายต้องดูแลถึง 24 ชั่วโมง บางรายครึ่งวัน หรือเป็นรายกิจกรรมก็มี ซึ่งเรามี แอปพลิเคชั่น iMed Care ที่จะทำให้ผู้ขอใช้บริการเรียกบริการผ่านแอปพลิเคชั่น ได้

วรินทร แสงมาก/ข่าวภูมิภาค/รายงาน/094-732-6069

Facebook Comments


Social sharing

Related post