Digiqole ad

ทั่วโลกสุดอาลัย “สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2” เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการอย่างสงบ ณ พระตำหนักในสกอตแลนด์ สิริพระชนมายุ 96 พรรษา

 ทั่วโลกสุดอาลัย “สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2” เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการอย่างสงบ ณ พระตำหนักในสกอตแลนด์ สิริพระชนมายุ 96 พรรษา
Social sharing

Digiqole ad

สำนักพระราชวังบักกิงแฮม แถลงเมื่อช่วงเย็นของ 8 ก.ย. ว่า สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 ทรงสวรรคตแล้ว ด้วยพระอาการอย่างสงบ ณ พระตำหนักในสกอตแลนด์ สิริพระชนมายุ 96 พรรษาหลังเมื่อช่วงบ่ายแถลงว่า คณะแพทย์เป็นกังวลต่อพระพลานามัยของพระองค์

นับว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร ด้วยระยะเวลา 70 ปี 214 วัน โดยทรงก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ตั้งแต่มีพระชนมพรรษา 25 พรรษาเท่านั้น หลังจากการสวรรคตของพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระราชาธิบดี จอร์จ ที่ 6 เมื่อปี 2495

สำหรับพระราชประวัติสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 (อังกฤษ: Elizabeth II; 21 เมษายน ค.ศ. 1926 – 8 กันยายน ค.ศ. 2022) เป็นพระประมุขของ 15 ประเทศ จาก 53 รัฐ สมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและประมุขสูงสุดแห่ง คริสตจักรแห่งอังกฤษ (Church of England)

พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์เเรกของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 เเละสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี พระราชบิดาเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี

พระราชบิดาของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระปิตุลาของพระองค์ ได้ทรงสละราชสมบัติ ทำให้ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ (พระยศในขณะนั้น) พระองค์จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งสหราชอาณาจักรในเวลาต่อมา

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เเห่งสหราชอาณาจักร ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ.1926 ณ บ้านเลขที่ 17 ถนนบรูตัน เมย์เเฟร์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

หลังจาก สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดาสวรรคต ในคืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1952 เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี เเห่งยอร์ก จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ ในขณะที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระองค์มีพระชนมายุ 25 พรรษา

แม้ว่าเจ้าหญิงเอลิซาเบธได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ แล้ว แต่ก็เป็นเวลาอีก 16 เดือนกว่าจะถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดขึ้นที่มหาวิหารเวสมินสเตอร์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พระราชพิธีนี้ได้ถ่ายทอดไปทั่วโลก

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรชาวอังกฤษว่า

“ในพิธีบรมราชาภิเษกวันนี้ ข้าพเจ้าขอประกาศว่า ข้าพเจ้าพร้อมอุทิศชีวิตเพื่อประชาชนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอยากขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตาม ให้ช่วยสวดภาวนาให้ข้าพเจ้า ในวันที่ข้าพเจ้าต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกษัตริย์เเห่งอังกฤษ สวดภาวนาให้พระเป็นเจ้าประทานพระปัญญาญาณเเละความเข้มเเข็งให้ข้าพเจ้าสามารถปฏิบัติราชกิจลุล่วงตามที่ข้าพเจ้าได้ให้สัตย์ปฏิญาณไว้ เเละข้าพเจ้าพร้อมรับใช้พระเป็นเจ้าเเละประชาชนของข้าพเจ้า ทุกคนตลอดที่ข้าพเจ้ายังมีลมหายใจ”

พระองค์ทรงเป็นประมุขเครือจักรภพและสมเด็จพระราชินีนาถแห่งรัฐอิสระในเครือจักรภพ ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน เเละซีลอน พิธีราชาภิเษกของพระองค์ในปีถัดมาเป็นพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ระหว่าง ค.ศ. 1956 ถึง 1995 จำนวนราชอาณาจักรของพระองค์แปรผันเมื่อดินแดนต่าง ๆ ได้รับเอกราชและบ้างกลายเป็นสาธารณรัฐ ปัจจุบัน นอกจากสี่ประเทศแรกที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ยังเป็นพระราชินีนาถแห่งจาเมกา บาร์เบโดส หมู่เกาะบาฮามาส เกรนาดา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู เซนต์ลูเชีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ แอนทีกาและบาร์บิวดา เบลีซ และเซนต์คิตส์และเนวิส พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระชนมายุมากที่สุดของบริเตน เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2015 พระองค์เป็นประมุขแห่งรัฐบริเตนที่ทรงราชย์นานที่สุด แซงหน้ารัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผู้เป็นพระมารดาของพระปัยกา (ทวด) ของพระองค์ และเป็นพระราชินีนาถที่ทรงราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์พระองค์ประทับ ณ กรุงลอนดอน บริเวณพิกคาเดลลี ไวต์ลอดจ์ ริชมอนด์พาร์ก และพระตำหนักในชนบทของพระอัยยิกา เมื่อพระองค์ทรงพระชนมายุได้ 6 พรรษา พระบิดาได้พระราชทานพระตำหนักในวินด์เซอร์เกรทพาร์คให้เป็นที่ประทับนอกเมือง พระองค์ทรงได้รับการศึกษาชั้นต้น ณ ที่ประทับ และเมื่อพระบิดาได้เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงต้องทรงศึกษา ทางด้านประวัติศาสตร์ และกฎหมาย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเป็นกษัตริย์ในอนาคต นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงศึกษาทางด้านศิลปะ ดนตรี และเรียนการขี่ม้า ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกีฬาที่ทรงโปรดปราน พระองค์มีพระสหายชื่อ โรสเลเวนา มิโนลาช

พระราชินีนาถทรงเริ่มต้นปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงพระราชดำรัสออกอากาศ ในรายการสำหรับเด็กในประเทศอังกฤษ และเครือจักรภพของบีบีซี ตั้งแต่พระชนมายุได้ 16 พรรษา และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจครั้งแรก เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ในฐานะนายทหารยศพันเอกแห่งกองทหารราบรักษาพระองค์ โดยทรงตรวจพลสวนสนามและยังทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก และเยาวชนอีกมากมาย หลังจากที่ครบรอบพระชนมายุ 18 พรรษาได้ไม่นาน พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐบาล และได้เริ่มปฏิบัติพระราชกรณียกิจแห่งองค์รัชทายาทเป็นครั้งแรก

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารนอกประจำการ พระราชกรณียกิจของพระองค์เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเสด็จประพาสภายในและนอกประเทศ พระราชกรณียกิจในระหว่างการเยือนนี้ เป็นช่วงที่ครบรอบวันประสูติปีที่ 21 ซึ่งพระองค์ได้ทรงแถลงการณ์ออกอากาศ ประกาศเจตนารมณ์ที่จะอุทิศพระองค์ เพื่อภารกิจของประเทศในเครือจักรภพ และในปีเดียวกันนี้เอง ที่พระองค์ทรงประกาศหมั้นกับ “เรือโทฟิลลิปส์ เมาท์แบทเท็น” (ต่อมาคือเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ) โดยพระราชพิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 พระองค์ทรงแถลงการณ์ซ้ำอีกครั้งถึงเจตนารมณ์ ที่จะอุทิศพระองค์เพื่อภารกิจของประเทศในวันเสด็จขึ้นครองราชย์

พระองค์มีพระราชโอรสพระองค์แรกคือเจ้าชายชาลส์ ซึ่งปัจจุบันทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “เจ้าชายแห่งเวลส์” ประสูติเมื่อปี 1948 พระองค์ที่สองเป็นพระราชธิดา มีพระนามว่าเจ้าหญิงแอนน์ ประสูติเมื่อปี 1950 ซึ่งปัจจุบันทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “ราชกุมารี” พระราชโอรสพระองค์ที่สามคือเจ้าชายแอนดรูว์ ประสูติเมื่อปี 1960 ปัจจุบันทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “ดยุกแห่งยอร์ก” และพระราชโอรสพระองค์เล็กคือเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ซึ่งประสูติในปี 1964 ปัจจุบันดำรงพระอิสริยยศเป็น “เอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์” (ที่มา : วิกิพีเดีย)

 

Facebook Comments


Social sharing

Related post