Digiqole ad

ถอดรหัสการตลาดธุรกิจบริการ ในยุค “Unknow” ทำอย่างไรให้ธุรกิจทรงพลัง!

 ถอดรหัสการตลาดธุรกิจบริการ ในยุค “Unknow”  ทำอย่างไรให้ธุรกิจทรงพลัง!
Social sharing

Digiqole ad

 ธุรกิจบริการโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจคลินิกความงาม ถือเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยช่วง 1-2 ปี ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท แต่ในปัจจุบันธุรกิจคลินิกความงามได้รับผลกระทบไม่แพ้อุตสาหกรรมใหญ่ๆ มูลค่าตลาดลดลงกว่า 70% หลายคลินิกพยายามงัดกลยุทธ์เด็ด ลด แลก แจก แถม เพื่อดึงลูกค้า สุดท้ายก็ไปไม่รอด แต่ “ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล” อาจารย์ด้านการตลาด หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แชร์ไอเดียการตลาดในงาน “FIRST IMPRESSIONS AWARD NIGHT 2022” กิจกรรมฉลองความสำเร็จร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามและคลินิกความงามชั้นนำทั่วประเทศไทย กว่า 200 คลินิก ที่จัดขึ้นโดย บริษัท กัลเดอร์มา (ประเทศไทย) ว่า “ธุรกิจคลินิกความงามยังไงก็รอด เพราะสาวไทย ยอมอดข้าวแต่ไม่ยอมอดสวย”

ธุรกิจคลินิกความงามในยุคโควิด-19 “อย่าเล่นกับราคา”

             ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ตลาดธุรกิจคลินิกความงาม เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายสถาบันความงามต่างงัดกลยุทธ์ทางการตลาดมาแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้ากันอย่างดุเดือด           จนบางครั้งลืมตัว ตกหลุมพลางทางการตลาดที่ตั้งไว้ ดังนั้นในยุคนี้การทำตลาดต้องระวังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ
“การเล่นกับราคา” อย่างการลด แลก แจก แถม อาจส่งผลดีในระยะสั้น แต่ส่งผลเสียต่อธุรกิจในระยะยาว ทั้งเรื่องต้นทุนกำไร ไปจนถึงภาพลักษณ์ อย่าลืมว่าธุรกิจความงามเป็นธุรกิจที่ขายภาพลักษณ์ของสถาบันนั้น ๆ ยิ่งราคาถูกยิ่งแสดงถึงความไม่มีคนต้องการ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ รวมถึงการทำโปรโมชันเพื่อดึงเงินออกจากกระเป๋าของลูกค้า เช่น ซื้อก่อนสวยทีหลัง หรือแพ็กเกจ 10,000 บาท สามารถใช้บริการได้ 50,000 บาท ซึ่งวิธีการเหล่านี้เมื่อเกิดสถานการณ์ไม่ปกติ ลูกค้าจะชะลอการใช้บริการทันที หรือบางรายเกิดความเสียดายขอเก็บไว้ก่อนยังไม่ใช้ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลต่อสต็อกของสินค้า ไปจนถึงระบบการบริหารทางการเงินทั้งสิ้น

ดังนั้นธุรกิจคลินิกความงามจำเป็นต้องหาจุดยืนของตัวเองที่ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องจับลูกค้าทุกกลุ่ม แต่ควรดึงความเชี่ยวชาญของคุณหมอมาเป็นจุดขายหลัก เพื่อสร้างจุดแข็งให้กับคลินิกของตัวเอง เช่น ความเชี่ยวชาญด้านริมฝีปากผู้สูงวัย ความเชี่ยวชาญด้านการปรับรูปหน้า เป็นต้น

 

หลังโควิด-19 การตลาดเข้าสู่ยุค Unknow ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว

“การตลาดหลังยุคโควิด-19 ถือเป็นยุค Unknow” หรือยุคไม่มีใครคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ได้ว่า อะไรถูกอะไรผิด
กลยุทธ์การตลาดแบบไหนถือเป็นสูตรสำเร็จ ถูกต้อง และแม่นยำ เพราะเป็นยุคที่ทุกคน ทุกธุรกิจต้องเริ่มเรียนรู้กันใหม่ โดยเฉพาะคนที่ต้องการทำธุรกิจคลินิกความงาม ควรใช้หลักการทำธุรกิจแบบเถ้าแก่ในยุคโบราณที่เริ่มก่อร่างสร้างตัวด้วยธุรกิจขนาดเล็ก ค่อย ๆ ลองผิดลองถูก เพื่อเริ่มการเรียนรู้ใหม่ที่จะทำให้เกิดแนวทางที่ถูกต้องและมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ

รวมถึงการดึงเอาเครื่องมือสำคัญอย่างเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Economics) มาปรับใช้ในการสร้างธุรกิจ เนื่องจากมุมมองปัจจุบัน คนหรือผู้บริโภคมักใช้ “อารมณ์” ตัดสินใจมากกว่าเหตุผล ทั้งการซื้อสินค้า การใช้บริการ และคนเราจะประเมินสิ่งนั้นว่าดีหรือไม่ดีจากสถานการณ์สุดท้ายที่เจอ ยกตัวอย่างเช่น คลินิกความงามแห่งนี้ให้บริการทุกขั้นตอนดีมากตั้งแต่การต้อนรับ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการทำทรีสเมนต์ แต่สุดท้ายคือการชำระค่าบริการ ถ้าค่าบริการอยู่ในระดับที่สูง คนจะใช้อารมณ์ในการตัดสินทันทีว่า คลินิกนี้ก็ธรรมดาหรือไม่ค่อยโอเค โดยที่ไม่ใช้เหตุผลวิเคราะห์ขั้นตอนทั้งหมด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาประกอบกันสำหรับการทำธุรกิจ

Happy woman can not wait to become perfect. Attractive female standing naked in cosmetological salon, waiting to receive injection to get rid of wrinkles and stop aging, glad to be in talented hands.

Downside-up ปรับขนาดธุรกิจ อย่างทรงพลัง!

“ไม่ว่าประเทศไทยจะเจอวิกฤติขนาดไหน แต่เชื่อมั่นว่าธุรกิจคลินิกความงามก็ยังอยู่รอด เพราะเหล่าสาวไทย
ยอมอดข้าวได้แต่ไม่ยอมอดสวย แต่การดำเนินธุรกิจก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทรงพลังมากยิ่งขึ้น ตามหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจคลินิกความงาม มีเรื่องสำคัญอยู่ 5 เรื่อง คือ

  1. LET THEM CHOOSE ลองให้ลูกค้าได้เลือกแล้วจะอารมณ์ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณหมอมาถึงแล้วลงมือฉีดยาคนไข้ทันที โดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะทำให้คนไข้จะรู้สึกเจ็บและไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่ถ้าคุณหมอลองให้คนไข้
    ได้เลือก ด้วยการถามว่าคนไข้ต้องการให้หมอฉีดยาตรงแขนด้านไหน เพียงเท่านี้คนไข้จะรู้สึกผ่อนคลายมากกว่าถึงแม้ว่าคุณหมอจะใช้น้ำหนักในการลงเข็มที่แขนเท่ากัน เป็นต้น
  2. GET BAD PART OUT FIRST ปรับวิธีการให้บริการหรือการรักษา ด้วยการเริ่มขั้นตอนที่ยากที่สุดหรือเจ็บมากที่สุดก่อน แล้วค่อยตามด้วยขั้นตอนที่เจ็บน้อยลงมา เพียงเท่านี้ก็จะสามารถลดความกังวล ลดความหวาดกลัว และสร้างความรู้สึกที่ดีให้คนไข้ได้มากขึ้น
  3. SEGMENT PLEASURE COMBINE PAIN รวมขั้นตอนการรอคิวไว้ในครั้งเดียว เพราะด้วยอารมณ์ของคนเรามักจะนับความสุขและความทุกข์เป็นครั้ง ๆ โดยอัตโนมัติ และให้ความสำคัญกับจำนวนครั้งที่รอมากกว่าความนาน ดังนั้น ต้องไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเกิดการรอหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น การบอกลูกค้าว่ารอประมาณ 30 นาที แทนการบอกลูกค้าว่ารอประมาณ 10 คิว แม้จะใช้ระยะเวลาในการรอเท่ากัน เป็นต้น
  4. DESIGN AMBIENCE การปรับบรรยากาศของคลินิกให้ลูกค้ารู้สึกสบายที่สุดด้วยการเลือกใช้สี จากการวิจัยพบว่า สีที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกสบายขึ้นคือ สีเขียวและสีฟ้า เพราะเปรียบเสมือนการได้พักผ่อนท่องเที่ยวบนภูเขาและทะเล
    อีกทั้งในห้องเดียวกันไม่ควรผสมหลายสี หากไม่สามารถเปลี่ยนสีได้ ก็อาจจะติดภาพที่มีท้องฟ้าเสริมเข้าไป
  5. FINISH STRONG จบบริการให้สวยเสมอ เพราะบริการสุดท้ายคือความประทับใจที่ลูกค้าจะใช้อารมณ์ในการประเมินว่าคลินิกนี้ดีหรือไม่มี ถ้าทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้นมาดีหมด แต่บริการสุดท้ายทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจก็จะประเมินทันทีว่าคลินิกนี้ไม่โอเค หลายคลินิกมักตกม้าตายด้วยข้อนี้ ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีทุกบริการมักใช้การเก็บเงินอยู่ในอันดับสุดท้าย ซึ่งถือเป็นข้อควรระวังอย่างมาก เรามักจะได้ยินเสมอว่า ดีแต่แพง เป็นต้น ดังนั้นลองปรับขั้นตอน เช่น ชำระเงินก่อนและให้บริการอย่างป

 

จะเห็นได้ว่าการปรับเปลี่ยนการให้บริการเพียงเล็กน้อย ด้วยเทคนิคทางการตลาดด้วยหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ส่งผลให้พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไปในเชิงบวกมากขึ้น เพราะเมื่อลูกค้ามีความสุขมากขึ้นก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจ
เช่นเกิดการเข้ารับบริการซ้ำ ๆ และต่อเนื่อง ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีทางการตลาดที่สำคัญ ที่ช่วยจะสร้างคุณค่าและมูลค่า
ให้แก่ธุรกิจได้อย่างทรงพลัง

Facebook Comments


Social sharing

Related post