Digiqole ad

ตัวแทนเวทีทิฟฟานี่เปิด speech กระเทาะสังคมในงานกระทรวง พม.

 ตัวแทนเวทีทิฟฟานี่เปิด speech กระเทาะสังคมในงานกระทรวง พม.
Social sharing

Digiqole ad

เป็นข่าวดีอย่างยิ่งที่ประชุมสภาฯ ลงมติรับหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ทั้ง 4 ฉบับ  ซึ่งเป็นก้าวแรกของผลจากการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของกลุ่ม LGBTQA+ ในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ประเด็นความเท่าเทียมกันเป็นสาระสำคัญของการประกวด Miss Tiffany’s Universe มาตลอด 25 ปี

ผู้เข้าประกวด Miss Tiffany 25th ทั้ง 30 คน ได้มีโอกาสร่วมงานใหญ่ระดับประเทศ ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “หลักสูตรการยุติความรุนแรง ลดการตีตรา และการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งอัตลักษณ์ทางเพศและวิถีทางเพศ” จากความร่วมมือของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในงานนี้ กองประกวดทิฟฟานี่ส่งตัวแทนหมายเลข 21 ‘กล้า’ พลกฤต เทพนามวงค์ ขึ้นกล่าวปราศรัยเพื่อตอกย้ำการเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงสำคัญให้กับ LGBTQA+ Community ผ่านเรื่องราวความรุนแรง การตีตรา และการเลือกปฏิบัติที่เหล่า LGBTQA+ ได้พบเจอ พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงคือ

  • ความไม่เท่าเทียมกันส่งผลถึงความรุนแรงซึ่งมี 3 แบบหลักๆ
  1. ความรุนแรงทางกายและใจ : เป็นความรุนแรงที่ถูกพูดถึงมากที่สุด ที่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ สตรี เด็ก ทุกคนก็ต่างมีโอกาสตกอยู่ในความรุนแรงนี้
  2. ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง : กฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันที่ยังไม่สามารถให้สิทธิที่เท่าเทียมกัน ถือเป็นความรุนแรงชนิดหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไข
  3. ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม : ความเชื่อต่างๆที่ยึดถือปฏิบัติ อาทิ ลูกชายคนโตมีหน้าที่สืบสกุล ผู้หญิงคือช้างเท้าหลัง ผู้ชายควรเป็นผู้นำ โลกมีเพียงสองเพศคือชายและหญิง เป็นต้น
  • ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมส่งผลต่อความรุนแรงเชิงโครงสร้างผู้มีอำนาจในการออกกฎหมายและสังคมที่ยังมีความเชื่อในทางนี้ก็จะส่งผลให้ประเทศเกิดกฎหมายที่ไม่เท่าเทียม ไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่ม LGBTQA+ Community แต่เป็นทุกเพศทุกวัยก็จะได้รับผลกระทบซึ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ในสังคม
  • Binary gender systemหรือการแบ่งมนุษย์ออกเป็นหญิงและชายเท่านั้น เป็นระบบเพศที่มีอำนาจในการครอบงำความคิดและชี้นำผู้คนที่เป็นรากเหง้าของปัญหาความไม่เทียมของเพศทางเลือกในปัจจุบัน ซึ่งความเชื่อนี้ส่งผลต่อการออกกฎหมายต่างๆ เป็นโครงสร้างที่บูดเบี้ยวมาอย่างยาวนาน
  • หนทางการแก้ปัญหาต้องหยั่งลึกและครอบคลุมทุกมิติหรือการใช้แนวทาง Triple A
  • Awareness:สร้างการรับรู้ว่าโลกไม่ได้มีเพียงหญิงและชาย ทุกคนคือมนุษย์ ไม่มี Binary gender system
  • Active:ต้องกระตุ้นให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเช่นการสนับสนุน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม อย่างเป็นรูปธรรม
  • Action:ต้องมีการกระทำ กล่าวคือ การนำองค์ความรู้ ข้อมูลการรับรู้ร่วมกันของสังคมและผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนมาปฏิบัติ เพื่อหวังผลในความเป็นจริงตามที่ได้วางแผน กรอบแนวทางเอาไว้

ชมคลิปคำปราศรัยเต็มๆ ของ ‘กล้า’ พลกฤต เทพนามวงค์ ตัวแทนผู้เข้าประกวด Miss Tiffany 25th ได้ที่ https://fb.watch/p3D4i__xjW/

Facebook Comments


Social sharing

Related post