Digiqole ad

‘ดีอี – ตำรวจไซเบอร์’ เปิดปฏิบัติการ ‘The Purge’ กวาดล้างอาชญากรข้ามโลก จับต่างชาติตัวการแก๊ง Hybrid Scam ตรวจยึดทรัพย์สินกว่า 250 ล้านบาท พร้อมเตรียมเฉลี่ยคืนผู้เสียหาย

 ‘ดีอี – ตำรวจไซเบอร์’ เปิดปฏิบัติการ ‘The Purge’ กวาดล้างอาชญากรข้ามโลก จับต่างชาติตัวการแก๊ง Hybrid Scam ตรวจยึดทรัพย์สินกว่า 250 ล้านบาท พร้อมเตรียมเฉลี่ยคืนผู้เสียหาย
Social sharing

Digiqole ad
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พร้อมด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำโดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมแถลงข่าว ปฏิบัติการ ‘The Purge’ กวาดล้างอาชญากรข้ามโลก จับต่างชาติตัวการแก๊ง Hybrid Scam ตรวจยึดทรัพย์สินกว่า 250 ล้าน พร้อมเตรียมเฉลี่ยคืนแก่ผู้เสียหาย
.
สืบเนื่องจากปฏิบัติการ ‘Trust No One’ EP.1-5 กรณีผู้เสียหายถูกหลอกลงทุนในลักษณะ Hybrid Scam ซึ่งคนร้ายใช้วิธีการชักชวนผู้เสียหายให้ลงทุนสกุลเงินดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มปลอม จากนั้นให้ผู้เสียหายซื้อเงินสกุล USDT และโอนไปตามเลขกระเป๋าเงินดิจิทัลตามที่คนร้ายระบุ ก่อนที่จะถูกโอนเข้าบัญชีของแพลตฟอร์มเทรดเงินดิจิทัล เจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์สืบสวนจนได้ข้อมูลที่เชื่อมโยงไปสู่คนร้ายตัวจริงที่ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลดังกล่าว ซึ่งเป็นผู้ต้องหาสัญชาติจีนกับพวก และยังพบเส้นทางการเงินเชื่อมโยงนอมินีที่จดทะเบียนเพื่ออำพรางการทำธุรกรรม สามารถจับกุมผู้ต้องหาสัญชาติจีน 3 ราย โดยยึดทรัพย์สินไว้ 15 รายการ ราคาประมาณ 600 ล้านบาท และได้ลงประกาศให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์คืน
.
จากนั้นจึงขยายผลจนในที่สุด ได้ออกหมายจับผู้ร่วมขบวนการได้ทั้งหมด 26 คนและจับผู้ต้องหาสำคัญได้อีก 4 คน และอายัดบัญชีเงินฝาก ทรัพย์สิน และบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ต้องหาและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องในคดีรวมมูลค่าประมาณ 252.5 ล้านบาท พร้อมส่งดำเนินการตามกฎหมาย
.
ทั้งนี้ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเพิ่มเติมในช่วงเช้าที่ผ่านมาว่าจากกรณียึดทรัพย์ของกลางมาได้แล้วจำนวนหนึ่ง และมีความจำเป็นจะต้องเคลียร์คืนทรัพย์สินดังกล่าวให้กับประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง ซึ่งการเฉลี่ยทรัพย์ที่ได้มาหลังจากที่ ปปง. ยึดทรัพย์มาเป็นของกลางแล้วนั้น มีขั้นตอนคือจะต้องทำการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน 90 วัน จากนั้นผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ สามารถมายื่นคำร้องได้ว่าเป็นทรัพย์ของตนเองที่เสียหาย โดยมีวิธีการอยู่ 3 วิธีคือ ส่งจดหมายไปยังสำนักงาน ปปง., ส่งอีเมลไปที่สำนักงาน ปปง. หรือ ไปยื่นด้วยตนเองที่สำนักงาน ปปง.
.
หลังจากนั้นแล้ว ปปง.จะดำเนินการส่งเรื่องไปยังอัยการ ก่อนที่จะส่งเรื่องไปยังศาล เพื่อทำการคุ้มครองทรัพย์ ซึ่งหากทรัพย์เพียงพอต่อค่าเสียหายทุกคนก็จะทำการคืนทรัพย์ให้กับผู้เสียหาย แต่หากไม่เพียงพอก็จะเป็นการเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดได้จริง ซึ่งอาจจะไม่เท่าตามที่เสียหายไป
.
ส่วนการพิสูจน์นั้น นายประเสริฐกล่าวว่า ก็ต้องนำหลักฐานเช่น สลิปการโอนเงินมายืนยันว่าโอนไปบัญชีที่ตรงกับเส้นทางการเงินหรือไม่ ซึ่งคาดว่าน่าจะต้องใช้เวลาพิสูจน์แต่ก็อุ่นใจได้เพราะว่ามีเงินที่ยึดมาแล้ว ส่วนคนที่ไม่กล้าแจ้งความเอาไว้ก่อนหน้า ก็ยังสามารถมาแจ้งความ และนำส่งหลักฐานเพิ่มเติมได้ เพื่อจะได้มีโอกาสเฉลี่ยคืนทรัพย์สินได้ต่อไป
Facebook Comments


Social sharing

Related post